งานเขึยน
หน้างสือ ว่าน สมุนไพร ไม้มงคลไทย
บ้านว่านไทย

บทความที่13 ฟ้าทะลายโจร ประโยชน์และปริมาณการใช้

สรรพคุณของฟ้าทะลายโจร
สรรพคุณฟ้าทะลายโจรช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระในร่างกาย ช่วยกระตุ้นการสร้างภูมิคุ้มกันในร่างกาย
ต่อต้านสิ่งแปลกปลอมที่เข้ามาในร่างกาย รวมไปถึงช่วยกระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดขาวให้จับกินเชื้อโรคได้ดี
ยิ่งขึ้นอีกด้วย
 สรรพคุณฟ้าทะลายโจรมีฤทธิ์ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง
 สรรพคุณฟ้าทะลายโจร ใบใช้เป็นยาขมช่วยทำให้เจริญอาหาร (ใบ)
 ช่วยรักษาโรคเบาหวาน ด้วยการใช้ต้นฟ้าทะลายโจร กระชาย และว่านเอ็นเหลือง นำมาทำเป็นยา
เม็ดลูกรับประทาน (ต้น)
 ช่วยป้องกันและแก้อาการหวัด คัดจมูก ด้วยการใช้ใบและกิ่งประมาณ 1 กำมือ (สดใช้ 25 กรัม แต่
ถ้าแห้งใช้ 3 กรัม) นำมาต้มกับน้ำดื่ม รับประทานก่อนอาหารวันละ 2 ครั้ง เช้าและเย็น หรือ
ในขณะที่มีอาการ (กิ่ง, ใบ)
 ช่วยแก้อาการปวดหัวตัวร้อน อาการปวดหัวแบบไม่มีสาเหตุ ด้วยการใช้ใบและกิ่งประมาณ 1 กำ
มือ (สดใช้ 25 กรัม แต่ถ้าแห้งใช้ 3 กรัม) นำมาต้มกับน้ำดื่มก่อนอาหารวันละ 2 ครั้ง เช้าและเย็น
หรือในขณะที่มีอาการ (กิ่ง, ใบ)
 ฟ้าทะลายโจร สรรพคุณช่วยแก้ไข้ทั่ว ๆ ไป อาการปวดหัวตัวร้อน เช่น ไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ เป็นต้น
(ใบ, กิ่ง)
 ช่วยรักษาไข้ไทฟอยด์ ด้วยการรับประทานฟ้าทะลายโจรก่อนอาหารครั้งละ 2 เม็ด วันละ 3 ครั้ง
เป็นเวลา 3 สัปดาห์ หลังจากนั้นให้กินยาบำรุงเพื่อฟื้นฟูกำลังของผู้ป่วยร่วมด้วย
 ช่วยแก้อาการไอ ลดน้ำมูก และช่วยฆ่าเชื้อที่จมูก ด้วยการใช้ใบนำมาทำเป็นยาผงแล้วนำมาใช้สูด
ดม (ใบ)
 ช่วยลดและขับเสมหะ ด้วยการใช้ใบนำมาทำเป็นยาผงแล้วนำมาใช้สูดดม (ใบ)
 ช่วยระงับอาการอักเสบ แก้อาการเจ็บคอ คออักเสบ ต่อมทอนซิลอักเสบ หลอดลมอักเสบ ด้วย
การใช้ใบนำมาทำเป็นยาผงแล้วนำมาใช้สูดดม (ใบ)
 ช่วยแก้อาการติดเชื้อ ระงับการเจริญเติบโตของเชื้อโรคที่เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการปวดท้อง
ท้องเสีย ท้องร่วง ท้องเดิน เป็นบิด ด้วยการใช้ทั้งต้น (ส่วนทั้ง 5 ของฟ้าทะลายโจร) นำมาผึ่งลมให้
แห้งแล้วหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ ประมาณ 1 กำมือ (น้ำหนักประมาณ 3-9 กรัม) แล้วนำมาต้มกับน้ำดื่ม
ตลอดวัน (ทั้งต้น)
 ช่วยแก้อาการร้อนใน ด้วยการใช้ใบฟ้าทะลายโจรตากแห้ง 15 กรัมและเตยหอมสดหั่นแล้ว 15
กรัม นำมาต้มกับน้ำพอท่วมยาจนเดือด ใช้ดื่มก่อนอาหารเช้า กลางวัน เย็น จะช่วยทำให้อาการ
4
ร้อนในดีขึ้น แต่ถ้าอยากให้หายขาด แนะนำว่าไม่ต้องดื่มน้ำหลังอาหารมากเกินไป รับประทาน
อาหารให้ตรงเวลา และออกกำลังกายทุกวัน อาการร้อนในก็จะหายไปในที่สุด (ใบ)
 ฟ้าทะลายโจรมีรสขมมาก โดยความขมจะเหนี่ยวนำช่วยทำให้ขับน้ำลายออกมามากขึ้น จึงทำให้
ชุ่มคอ
 ฟ้าทะลายโจรมีฤทธิ์ช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของการเกิดโรคระบบทางเดินหายใจ
 ฟ้าทะลายโจรมีฤทธิ์ในการช่วยลดการบีบตัวของกล้ามเนื้อเรียบ ช่วยคลายกล้ามเนื้อมดลูก
 ฟ้าทะลายโจรมีส่วนช่วยลดการติดเชื้ออหิวาตกโรคในอุจจาระ แต่อาจจะไม่ดีเท่าการใช้ยาเตตรา-
ไซคลีนในการรักษา แต่ก็สามารถใช้ทดแทนได้
 ช่วยรักษากระเพาะลำไส้อักเสบ (ใบ)
 ฟ้าทะลายโจรมีสรรพคุณช่วยในการย่อยอาหารและช่วยเร่งให้ตับสร้างน้ำดี
 ช่วยบรรเทาอาการของโรคริดสีดวง ด้วยการรับประทานฟ้าทะลายโจรก่อนอาหารและก่อนนอน
ครั้งละ 2-3 เม็ด วันละ 3-4 ครั้ง จะช่วยทำให้อาการเลือดออกหรืออาการปวดถ่วงหายไป ทำให้
ขับถ่ายได้สะดวกยิ่งขึ้น
 ช่วยรักษาโรคตับ ด้วยการรับประทานฟ้าทะลายโจรก่อนอาหารวันละ 2-3 เม็ด วันละ 3 ครั้ง (และ
ควรใช้ยาบำรุงชนิดอื่นด้วย)
 ช่วยรักษาโรคผิวหนัง ฝี แผลฝี ด้วยการใช้ใบค่อนข้างแก่ประมาณ 1 กำมือ แล้วเอาเกลือ 3 เม็ด
นำมาตำผสมรวมกันในครกจนละเอียด แล้วเอาสุราครึ่งถ้วยชา น้ำครึ่งช้อนชาใส่รวมลงไป คนให้
เข้ากันแล้วเทกินค่อนถ้วยชา ส่วนกากที่เหลือนำมาพอกแผลฝี แล้วใช้ผ้าสะอาดพักไว้ ตอนพอก
เสร็จใหม่ ๆ อาจจะรู้สึกปวดบ้างเล็กน้อย (ใบ)
 ช่วยรักษาแผลอักเสบที่เกิดจากโรคเบาหวาน ด้วยการรับประทานเป็นยาฟ้าทะลายโจรแบบเม็ด
และการใช้ทาเพื่อรักษาอาการ
 ช่วยยับยั้งเชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของการเกิดหนองได้ (ใบ)
 ช่วยรักษาโรคงูสวัด ด้วยการรับประทานยาฟ้าทะลายโจรก่อนอาหาร 2-3 เม็ด วันละ 3 ครั้ง เป็น
ระยะเวลา 3 สัปดาห์ เนื่องจากงูสวัดคือเชื้อไวรัสที่จะอยู่นาน 3 สัปดาห์ ถ้าใช้รักษาให้ครบตาม
เวลา ก็จะทำให้ไม่กลับมาเป็นอีก

ประโยชน์ของฟ้าทะลายโจร
สำหรับโรคหรือภาวะอื่นที่ถูกกล่าวถึง เช่น รักษาอาการเจ็บคอ ไอ ต่อมทอนซิลบวม หลอดลมอักเสบ
และอาการแพ้ ป้องกันโรคหัวใจและโรคเบาหวาน แมลงกัด โรคตับ โรคไข้เมดิเตอร์เรเนียน ลดไข้ บรรเทา
อาการในระบบย่อยอาหาร (ท้องเสียแบบไม่ติดเชื้อ ท้องผูก มีแก๊ซในกระเพาะอาหารมาก ปวดท้อง) โรค
เกี่ยวกับตับ (ภาวะตับโต ดีซ่าน ตับอักเสบจากการใช้ยา) การติดเชื้อ (โรคเรื้อน โรคปอดบวม วัณโรค โรค
หนองใน การติดเชื้อเอชไอวีหรือโรคเอดส์) หรืออาการทางผิวหนังอื่น ๆ ซึ่งการวิจัยและค้นคว้าข้อมูลบางส่วน
ที่เชื่อว่าฟ้าทะลายโจรอาจมีส่วนช่วยโรคเหล่านี้ มีดังนี้
โรคหวัด ฟ้าทะลายโจรนิยมใช้รักษาโรคไข้หวัดตามตำราแพทย์แผนไทยมาตั้งแต่อดีต เนื่องจากมี
สารสำคัญทางพฤกษศาสตร์หลายชนิด เช่น ไดเทอร์ปีนแลคโตน (Diterpene Lactones) ฟลาโวนอยด์
(Flavonoid) และสารประกอบอื่น ๆ ซึ่งมักเชื่อว่าช่วยกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายให้ทำงานดีขึ้น
จากการศึกษาเรื่องการวัดประสิทธิภาพการใช้สารสกัดจากฟ้าทะลายโจร เพื่อลดการเกิดโรคหวัดและ
บรรเทาอาการของโรคในผู้ป่วย 158 คน โดยให้กลุ่มทดลองรับประทานสารสกัดฟ้าทะลายโจร 1,200
มิลลิกรัมต่อวัน เปรียบเทียบกับยาหลอกเป็นเวลา 5 วัน ซึ่งจะมีการตรวจดูอาการผู้ป่วยก่อนเริ่มการทดลอง
วันที่ 2 และวันที่ 4 ของการทดลองด้วยการตอบแบบสอบถาม โดยจะวัดความรุนแรงของอาการปวดหัว
อ่อนเพลีย ปวดหู นอนไม่หลับ เจ็บคอ คัดจมูก มีเสมหะ ความถี่และความรุนแรงของอาการไอ ผลปรากฏว่า
กลุ่มที่รับประทานสารสกัดจากฟ้าทะลายโจรมีอาการของโรคบางอาการลดลงภายในวันที่ 2 และอาการลดลง
ทั้งหมดภายในวันที่ 4 โดยช่วยลดอาการเจ็บคอมากที่สุด ตามมาด้วยอาการคัดจมูกและปวดหู เมื่อ
เปรียบเทียบกับยาหลอก อีกทั้งยังไม่พบผลข้างเคียงสอดคล้องกับงานวิจัยเปรียบเทียบประสิทธิภาพของยา Kan Jang (ประกอบด้วยสารสกัดของฟ้าทะลายโจรและสมุนไพรอื่น) กับยาสมุนไพรชนิดอื่นในผู้ป่วยโรคหวัดไม่รุนแรง อายุ 4-11 ปี จำนวน 130 คนเป็นระยะเวลา 10 วัน โดยแบ่งออกเป็นกลุ่มที่รับการรักษาปกติ กลุ่มที่ได้รับยา Kan Jang ควบคู่กับการรักษาปกติ และกลุ่มที่ได้รับยาสมุนไพรอื่นเป็นการรักษาเสริมร่วมกับการรักษาปกติ ผลพบว่ากลุ่มที่ได้รับยา Kan
Jang มีอาการคัดจมูกและน้ำมูกลดลง รวมถึงใช้เวลาในการรักษาน้อยลงและไม่พบผลข้างเคียง แต่กลุ่มที่ได้รับ
ยาสมุนไพรชนิดอื่นคู่กับการรักษาแบบปกติไม่พบผลลัพท์ในลักษณะเดียวกัน จึงเชื่อว่ายา Kan Jang อาจช่วย
บรรเทาอาการโรคหวัดให้ลดลง ทั้งนี้ สรรพคุณของฟ้าทะลายโจรต่อโรคหวัดมีการศึกษาค่อนข้างมาก การค้นคว้าส่วนใหญ่พบหลักฐานที่มีความน่าเชื่อถือและระบุประสิทธิภาพของการรักษาอยู่ในระดับที่อาจเป็นไปได้ (Possibly
Effective) จึงคาดว่าฟ้าทะลายโจรอาจมีส่วนช่วยบรรเทาอาการจากโรคหวัดสำหรับผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรง
และค่อนข้างปลอดภัยในการรับประทาน เนื่องจากจากการศึกษาไม่พบผลข้างเคียง ซึ่งอาจเป็นอีกตัวเลือก
เสริมของการรักษาโรคหวัดทั่วไป
โรคลำไส้ใหญ่อักเสบ ฟ้าทะลายโจรมีคุณสมบัติช่วยยับยั้งการหลั่งสารที่ก่อให้เกิดอาการอักเสบใน
ร่างกาย ต้านอนุมูลอิสระ การแข็งตัวของเลือด และยังพบรายงานว่าสารสกัดจากฟ้าทะลายโจรช่วยป้องกันโรค
ลำไส้ใหญ่อักเสบจากการทดลองในสัตว์ อีกทั้งยังถูกบรรจุเป็นยาสมุนไพรในบัญชียาหลักแห่งชาติของกระทรวง
สาธารณสุขในหมวดกลุ่มอาการของระบบทางเดินอาหาร จึงมักนำมาใช้ประโยชน์ในการรักษาและบรรเทาโรค
ลำไส้อักเสบ
จากการศึกษาประสิทธิภาพและความปลอดภัยของสารสกัดจากฟ้าทะลายโจรในผู้ป่วยโรคลำไส้ใหญ่
อักเสบ ที่มีอาการของโรคในระดับเบาจนถึงปานกลาง จำนวน 120 คน เป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ โดยให้
รับประทานสารสกัดจากฟ้าทะลายโจร 1,200 มิลลิกรัมต่อวัน เปรียบเทียบกับกลุ่มที่ได้รับยาเมซาลาซีน
(Mesalazine) ซึ่งเป็นยาหลักที่ใช้ในการรักษาโรคลำไส้ใหญ่อักเสบ 4,500 มิลลิกรัมต่อวัน จากนั้นมีการ
ประเมินผลทุก 2 สัปดาห์ และเข้ารับการส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่หลังจบการทดลอง ผลพบว่า อัตราการ
ตอบสนองของผู้ป่วยและอาการของโรคลดลงมีความใกล้เคียงกัน สารสกัดจากฟ้าทะลายโจรก็อาจเป็น
ประโยชน์ในการพัฒนาใช้ในการรักษาเช่นเดียวกับยาเมซาลาซีน
เช่นเดียวกับงานวิจัยอีกชิ้นที่ศึกษาประสิทธิภาพของสารสกัดจากฟ้าทะลายโจรที่มีอาการของโรคใน
ระดับเบาจนถึงปานกลาง จำนวน 224 คน โดยแบ่งให้รับประทานสารสกัดจากฟ้าทะลายโจร 2 กลุ่ม ได้แก่
1,200 มิลลิกรัมต่อวัน และ 1,800 มิลลิกรัมต่อวัน เปรียบเทียบกับกลุ่มสุดท้ายที่ได้รับยาหลอกในระยะเวลา 8
สัปดาห์ ผลพบว่า กลุ่มที่ได้รับสารสกัดจากฟ้าทะลายโจร 1,800 มิลลิกรัมต่อวัน มีผลการตอบสนองทางคลินิก
และช่วยบรรเทาอาการของโรคได้ดีกว่ากลุ่มที่ได้รับยาหลอก โดยเฉพาะกลุ่มที่ได้รับสารสกัดจากฟ้าทะลายโจร
ในปริมาณ 1,800 มิลลิกรัมต่อวันมีแนวโน้มที่ได้ผลดีกว่ากลุ่มอื่น ๆ อย่างไรก็ตาม ยังพบอาการไม่พึงประสงค์
ในผู้ป่วยทั้ง 3 กลุ่ม โดยกลุ่มที่รับประทานฟ้าทะลายโจรพบรายงานการเกิดผื่นประมาณ 8% ขณะที่กลุ่มที่
ได้รับยาหลอกมีอัตราการเกิดผื่นประมาณ 1% ทั้งนี้ ผื่นที่เกิดขึ้นเป็นผลข้างเคียงที่ไม่ค่อยรุนแรงและไม่กระทบ
ต่อการรักษา
อย่างไรก็ตาม จากข้อมูลในข้างต้นเชื่อว่าฟ้าทะลายโจรอาจมีความเป็นไปได้ในการบรรเทาอาการของ
โรคลำไส้ใหญ่อักเสบได้เช่นเดียวกับยาเมซาลาซีนที่ใช้เป็นรักษาโรคลำไส้ใหญ่อักเสบในปัจจุบัน แต่ควร
ระมัดระวังในการใช้อย่างเหมาะสมและอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์เป็นสำคัญ เนื่องจากการใช้ฟ้าทะลายโจร
ยังเป็นการแพทย์ทางเลือกและพบรายงานผลข้างเคียงจากการศึกษาอยู่บางส่วน จึงยังต้องการงานวิจัย
สนับสนุนเพิ่มเติมเพื่อช่วยยืนยัน
ลดอาการไข้และอาการเจ็บคอที่มีสาเหตุจากต่อมทอนซิลอักเสบ ต่อมทอนซิลอักเสบเป็นการ
อักเสบของต่อมทอนซิลจากการติดเชื้อในช่องคอ ด้วยสรรพคุณช่วยระงับอาการอักเสบและต้านเชื้อการติดเชื้อ
ของฟ้าทะลายโจร บางส่วนจึงนิยมรับประทานสมุนไพรชนิดนี้ตามความเชื่อของสูตรยาแผนโบราณ
จากการศึกษาประสิทธิภาพของสารสกัดจากฟ้าทะลายโจรในผู้ป่วยระบบทางเดินหายใจส่วนบนไม่
รุนแรง 223 คน แบ่งเป็นกลุ่มที่รับประทานสารสกัดจากฟ้าทะลายโจร 200 มิลลิกรัมต่อวัน และอีกกลุ่ม
รับประทานยาหลอกเป็นระยะเวลา 5 วัน ซึ่งจะวัดผลด้วยการประเมินอาการจากตัวผู้ป่วยเองในด้านต่าง ๆ
ได้แก่ อาการไอ เสมหะ มีน้ำมูก ปวดศีรษะ มีไข้ เจ็บคอ อาการเหนื่อยง่าย และปัญหาในการนอน ผลพบว่า
ทั้ง 2 กลุ่มมีอาการดีตั้งแต่เริ่มจนจบการทดลอง แต่กลุ่มที่รับประทานสารสกัดจากฟ้าทะลายโจรเห็นผลได้
อย่างชัดเจนในช่วงวันที่ 3-5 มากกว่ากลุ่มที่รับประทานยาหลอก อย่างไรก็ตาม ยังพบผลข้างเคียงเล็กน้อยใน
ทั้ง 2 กลุ่ม จากการทดลองจึงเชื่อว่าฟ้าทะลายโจรอาจช่วยรักษาหรือบรรเทาอาการติดเชื้อในทางเดินหายใจ
ตอนต้น แต่ต้องรอการค้นคว้าหรือหลักฐานในอนาคตเพิ่มเติม เพื่อช่วยยืนยันประสิทธิภาพมากกว่านี้
โรคข้อรูมาตอยด์ เป็นโรคเรื้อรังที่เกิดการอักเสบตามข้อและหลายอวัยวะในร่างกาย ซึ่งฟ้าทะลาย
โจรมีฤทธิ์ต้านการอักเสบ โดยเฉพาะสารแอนโดรกราโฟไลด์ (Andrographolide) จึงถูกนำมาใช้เป็นการรักษา
ทางเลือกในโรคภูมิต้านตนเองหรือแพ้ภูมิตนเอง จากการศึกษาการใช้ยาที่มีสารสกัดจากฟ้าทะลายโจรในผู้ป่วย
โรคข้อรูมาตอยด์ที่มีอาการของโรคกำเริบ 60 คน ซึ่งตัวยาจะประกอบด้วยสารแอนโดรกราโฟไลด์ 30% โดย
ให้รับประทานวันละ 3 ครั้งติดต่อกันเป็นระยะเวลา 14 สัปดาห์เปรียบเทียบกับกลุ่มที่ได้รับยาหลอก และ
วัดผลโดยตอบแบบสอบถามหลังการจบทดลอง 2 สัปดาห์ ผลพบว่า ความรุนแรงของอาการปวดข้อและข้อ
บวมในกลุ่มที่ได้รับยาที่มีสารสกัดจากฟ้าทะลายโจรลดลง อย่างไรก็ตาม การศึกษานี้ชี้แนะว่า ฟ้าทะลายโจรก็
อาจนำไปใช้เป็นการรักษาเสริมในผู้ป่วยโรคข้อรูมาตอยด์ในอนาคต แต่ยังต้องศึกษากับกลุ่มการทดลองขนาด
ใหญ่ขึ้นและติดตามผลในระยะเวลานานกว่าเดิม อีกทั้งยังมีปัจจัยอื่นที่เกี่ยวข้องกับโรคอีกหลายส่วน ทำให้ยาก
ต่อการสรุปผลทันที
โรคไข้หวัดใหญ่ คุณสมบัติของฟ้าทะลายโจรคือช่วยกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายให้ทำงานได้ดี
ขึ้น จึงคาดกันว่าฟ้าทะลายโจรน่ามีประสิทธิภาพในการรักษาโรคไข้หวัดใหญ่ได้เช่นกัน จากการศึกษานำร่อง 2
ชิ้น เกี่ยวกับประสิทธิภาพของการใช้สารสกัดที่มีส่วนประกอบของฟ้าทะลายโจรในผู้ป่วยโรคไข้หวัดใหญ่
จำนวน 540 คน เปรียบเทียบกับยาอะแมนตาดีน (Amantadine) ที่เป็นยารักษาโรคไข้หวัดใหญ่ ผลพบว่า
ผู้ป่วยที่ได้รับสารสกัดฟ้าทะลายโจรมีอาการดีขึ้นเร็วและอาการแทรกซ้อนน้อยกว่า เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มที่
ได้รับยาอะแมนตาดีน ผลวิจัยทั้ง 2 ชิ้นนี้อาจชี้ให้เห็นว่าสารสกัดฟ้าทะลายโจรน่าจะมีประสิทธิภาพต่อการ
รักษาโรคไข้หวัดใหญ่ ทั้งนี้ การวิจัยในครั้งนี้เป็นเพียงการศึกษาเบื้องต้นและยังต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมในด้าน
อื่นก่อนการสรุปผล
6.ความปลอดภัยในการรับประทานฟ้าทะลายโจร
ฟ้าทะลายโจรค่อนข้างปลอดภัยต่อร่างกายหากรับประทานในปริมาณและระยะเวลาที่เหมาะสม แต่
บางรายอาจเกิดผลข้างเคียงตามมาหลังการรับประทานเล็กน้อย เช่น ไม่อยากอาหาร อาเจียน ท้องเสีย ผื่นขึ้น
ปวดศีรษะ น้ำมูกไหล หรือเหนื่อยง่าย
การรับประทานฟ้าทะลายโจรในรูปแบบสารสกัดผสมกับสมุนไพรชนิดอื่น โดยเฉพาะโสมไซบีเรีย
(Siberian Ginseng) ไม่ควรรับประทานติดต่อกันเกิน 3 เดือน และควรระมัดระวังการรับประทานสมุนไพร
ชนิดนี้ในปริมาณเข้มข้นสูงหรือใช้ติดต่อเป็นเวลานาน ซึ่งอาจเป็นสาเหตุให้ต่อมน้ำเหลืองบวม เกิดปฏิกิริยาแพ้
อย่างรุนแรง เอนไซม์ตับสูงขึ้น หรือมีอาการอื่น ๆ ตามมา รวมถึงเพิ่มความระมัดระวังในการรับประทานฟ้า
ทะลายโจรในกรณีต่อไปนี้
 การรับประทานฟ้าทะลายโจรค่อนข้างปลอดภัยต่อเด็กและทารกหากใช้ในระยะเวลาสั้น ๆ
และการใช้ฟ้าทะลายโจรร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นไม่ควรรับประทานติดต่อกันเกิน 1 เดือน
8
 หญิงมีครรภ์และคุณแม่ที่อยู่ในช่วงให้นมบุตรควรหลีกเลี่ยงที่จะรับประทาน เนื่องจากอาจ
เป็นสาเหตุให้เกิดภาวะแท้งและยังไม่มีหลักฐานยืนยันความปลอดภัยต่อทารกที่ดื่มนมแม่
 ผลการทดลองในสัตว์พบว่าฟ้าทะลายโจรอาจรบกวนระบบการสืบพันธุ์ แต่ยังไม่มีหลักฐาน
ยืนยันผลในคนในปัจจุบัน ผู้ที่มีภาวะมีบุตรยาก (Infertility) หรือมีปัญหาในการตั้งครรภ์จึง
ควรหลีกเลี่ยงที่รับประทาน
 ฟ้าทะลายโจรอาจกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันให้ไวต่อการทำงานมากขึ้น ผู้ป่วยในกลุ่มโรคภูมิต้าน
ตนเอง เช่น โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง โรคลูปัสหรือโรคเอสแอลอี โรคข้อรูมาตอยด์ หรือ
สภาวะอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ไม่ควรรับประทานสมุนไพรชนิดนี้
 ฟ้าทะลายโจรอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะเลือดออกผิกปกติหรือรอยฟกช้ำได้ง่าย ผู้ที่
มีภาวะเลือดออกผิดปกติจึงควรหลีกเลี่ยงที่จะรับประทาน รวมถึงผู้ที่ต้องเข้ารับการผ่าตัดควร
หยุดใช้สมุนไพรนี้อย่างน้อย 2 สัปดาห์
 ฟ้าทะลายโจรอาจส่งผลให้ความดันโลหิตต่ำลง แต่ยังไม่มีผลการยืนยันผลต่อการใช้ในคน ผู้ที่
มีภาวะความต่ำจึงไม่ควรรับประทาน เพื่อความปลอดภัยต่อสุขภาพ
 ผู้ที่รับประทานยาเป็นประจำควรปรึกษาแพทย์ก่อนการรับประทานฟ้าทะลายโจรทุกครั้ง
เนื่องจากยาบางชนิดอาจเกิดปฏิกิริยาต่อกันของยาและสมุนไพร เช่น ยารักษาโรคความดัน
โลหิตสูง ยากดภูมิคุ้มกัน ยาต้านการแข็งตัวของเลือด ยาต้านเกล็ดเลือด
 อย่างไรก็ตาม การรับประทานฟ้าทะลายโจร เพื่อวัตถุประสงค์ในการรักษาโรคหรือภาวะ
ผิดปกติบางอย่างยังคงต้องหาหลักฐานยืนยันถึงประสิทธิภาพและความปลอดภัย จึงไม่ควร
รับประทานตามคำอ้างต่าง ๆ โดยไม่ปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญ

ประโยชน์ของฟ้าทะลายโจร
สำหรับโรคหรือภาวะอื่นที่ถูกกล่าวถึง เช่น รักษาอาการเจ็บคอ ไอ ต่อมทอนซิลบวม หลอดลมอักเสบ
และอาการแพ้ ป้องกันโรคหัวใจและโรคเบาหวาน แมลงกัด โรคตับ โรคไข้เมดิเตอร์เรเนียน ลดไข้ บรรเทา
อาการในระบบย่อยอาหาร (ท้องเสียแบบไม่ติดเชื้อ ท้องผูก มีแก๊ซในกระเพาะอาหารมาก ปวดท้อง) โรค
5
เกี่ยวกับตับ (ภาวะตับโต ดีซ่าน ตับอักเสบจากการใช้ยา) การติดเชื้อ (โรคเรื้อน โรคปอดบวม วัณโรค โรค
หนองใน การติดเชื้อเอชไอวีหรือโรคเอดส์) หรืออาการทางผิวหนังอื่น ๆ ซึ่งการวิจัยและค้นคว้าข้อมูลบางส่วน
ที่เชื่อว่าฟ้าทะลายโจรอาจมีส่วนช่วยโรคเหล่านี้ มีดังนี้
โรคหวัด ฟ้าทะลายโจรนิยมใช้รักษาโรคไข้หวัดตามตำราแพทย์แผนไทยมาตั้งแต่อดีต เนื่องจากมี
สารสำคัญทางพฤกษศาสตร์หลายชนิด เช่น ไดเทอร์ปีนแลคโตน (Diterpene Lactones) ฟลาโวนอยด์
(Flavonoid) และสารประกอบอื่น ๆ ซึ่งมักเชื่อว่าช่วยกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายให้ทำงานดีขึ้น
จากการศึกษาเรื่องการวัดประสิทธิภาพการใช้สารสกัดจากฟ้าทะลายโจร เพื่อลดการเกิดโรคหวัดและ
บรรเทาอาการของโรคในผู้ป่วย 158 คน โดยให้กลุ่มทดลองรับประทานสารสกัดฟ้าทะลายโจร 1,200
มิลลิกรัมต่อวัน เปรียบเทียบกับยาหลอกเป็นเวลา 5 วัน ซึ่งจะมีการตรวจดูอาการผู้ป่วยก่อนเริ่มการทดลอง
วันที่ 2 และวันที่ 4 ของการทดลองด้วยการตอบแบบสอบถาม โดยจะวัดความรุนแรงของอาการปวดหัว
อ่อนเพลีย ปวดหู นอนไม่หลับ เจ็บคอ คัดจมูก มีเสมหะ ความถี่และความรุนแรงของอาการไอ ผลปรากฏว่า
กลุ่มที่รับประทานสารสกัดจากฟ้าทะลายโจรมีอาการของโรคบางอาการลดลงภายในวันที่ 2 และอาการลดลง
ทั้งหมดภายในวันที่ 4 โดยช่วยลดอาการเจ็บคอมากที่สุด ตามมาด้วยอาการคัดจมูกและปวดหู เมื่อ
เปรียบเทียบกับยาหลอก อีกทั้งยังไม่พบผลข้างเคียง
สอดคล้องกับงานวิจัยเปรียบเทียบประสิทธิภาพของยา Kan Jang (ประกอบด้วยสารสกัดของฟ้า
ทะลายโจรและสมุนไพรอื่น) กับยาสมุนไพรชนิดอื่นในผู้ป่วยโรคหวัดไม่รุนแรง อายุ 4-11 ปี จำนวน 130 คน
เป็นระยะเวลา 10 วัน โดยแบ่งออกเป็นกลุ่มที่รับการรักษาปกติ กลุ่มที่ได้รับยา Kan Jang ควบคู่กับการรักษา
ปกติ และกลุ่มที่ได้รับยาสมุนไพรอื่นเป็นการรักษาเสริมร่วมกับการรักษาปกติ ผลพบว่ากลุ่มที่ได้รับยา Kan
Jang มีอาการคัดจมูกและน้ำมูกลดลง รวมถึงใช้เวลาในการรักษาน้อยลงและไม่พบผลข้างเคียง แต่กลุ่มที่ได้รับ
ยาสมุนไพรชนิดอื่นคู่กับการรักษาแบบปกติไม่พบผลลัพท์ในลักษณะเดียวกัน จึงเชื่อว่ายา Kan Jang อาจช่วย
บรรเทาอาการโรคหวัดให้ลดลง
ทั้งนี้ สรรพคุณของฟ้าทะลายโจรต่อโรคหวัดมีการศึกษาค่อนข้างมาก การค้นคว้าส่วนใหญ่พบ
หลักฐานที่มีความน่าเชื่อถือและระบุประสิทธิภาพของการรักษาอยู่ในระดับที่อาจเป็นไปได้ (Possibly
Effective) จึงคาดว่าฟ้าทะลายโจรอาจมีส่วนช่วยบรรเทาอาการจากโรคหวัดสำหรับผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรง
และค่อนข้างปลอดภัยในการรับประทาน เนื่องจากจากการศึกษาไม่พบผลข้างเคียง ซึ่งอาจเป็นอีกตัวเลือก
เสริมของการรักษาโรคหวัดทั่วไป
โรคลำไส้ใหญ่อักเสบ ฟ้าทะลายโจรมีคุณสมบัติช่วยยับยั้งการหลั่งสารที่ก่อให้เกิดอาการอักเสบใน
ร่างกาย ต้านอนุมูลอิสระ การแข็งตัวของเลือด และยังพบรายงานว่าสารสกัดจากฟ้าทะลายโจรช่วยป้องกันโรค
ลำไส้ใหญ่อักเสบจากการทดลองในสัตว์ อีกทั้งยังถูกบรรจุเป็นยาสมุนไพรในบัญชียาหลักแห่งชาติของกระทรวง
สาธารณสุขในหมวดกลุ่มอาการของระบบทางเดินอาหาร จึงมักนำมาใช้ประโยชน์ในการรักษาและบรรเทาโรค
ลำไส้อักเสบ
6
จากการศึกษาประสิทธิภาพและความปลอดภัยของสารสกัดจากฟ้าทะลายโจรในผู้ป่วยโรคลำไส้ใหญ่
อักเสบ ที่มีอาการของโรคในระดับเบาจนถึงปานกลาง จำนวน 120 คน เป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ โดยให้
รับประทานสารสกัดจากฟ้าทะลายโจร 1,200 มิลลิกรัมต่อวัน เปรียบเทียบกับกลุ่มที่ได้รับยาเมซาลาซีน
(Mesalazine) ซึ่งเป็นยาหลักที่ใช้ในการรักษาโรคลำไส้ใหญ่อักเสบ 4,500 มิลลิกรัมต่อวัน จากนั้นมีการ
ประเมินผลทุก 2 สัปดาห์ และเข้ารับการส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่หลังจบการทดลอง ผลพบว่า อัตราการ
ตอบสนองของผู้ป่วยและอาการของโรคลดลงมีความใกล้เคียงกัน สารสกัดจากฟ้าทะลายโจรก็อาจเป็น
ประโยชน์ในการพัฒนาใช้ในการรักษาเช่นเดียวกับยาเมซาลาซีน
เช่นเดียวกับงานวิจัยอีกชิ้นที่ศึกษาประสิทธิภาพของสารสกัดจากฟ้าทะลายโจรที่มีอาการของโรคใน
ระดับเบาจนถึงปานกลาง จำนวน 224 คน โดยแบ่งให้รับประทานสารสกัดจากฟ้าทะลายโจร 2 กลุ่ม ได้แก่
1,200 มิลลิกรัมต่อวัน และ 1,800 มิลลิกรัมต่อวัน เปรียบเทียบกับกลุ่มสุดท้ายที่ได้รับยาหลอกในระยะเวลา 8
สัปดาห์ ผลพบว่า กลุ่มที่ได้รับสารสกัดจากฟ้าทะลายโจร 1,800 มิลลิกรัมต่อวัน มีผลการตอบสนองทางคลินิก
และช่วยบรรเทาอาการของโรคได้ดีกว่ากลุ่มที่ได้รับยาหลอก โดยเฉพาะกลุ่มที่ได้รับสารสกัดจากฟ้าทะลายโจร
ในปริมาณ 1,800 มิลลิกรัมต่อวันมีแนวโน้มที่ได้ผลดีกว่ากลุ่มอื่น
ๆ อย่างไรก็ตาม ยังพบอาการไม่พึงประสงค์
ในผู้ป่วยทั้ง 3 กลุ่ม โดยกลุ่มที่รับประทานฟ้าทะลายโจรพบรายงานการเกิดผื่นประมาณ 8% ขณะที่กลุ่มที่
ได้รับยาหลอกมีอัตราการเกิดผื่นประมาณ 1% ทั้งนี้ ผื่นที่เกิดขึ้นเป็นผลข้างเคียงที่ไม่ค่อยรุนแรงและไม่กระทบ
ต่อการรักษา
อย่างไรก็ตาม จากข้อมูลในข้างต้นเชื่อว่าฟ้าทะลายโจรอาจมีความเป็นไปได้ในการบรรเทาอาการของ
โรคลำไส้ใหญ่อักเสบได้เช่นเดียวกับยาเมซาลาซีนที่ใช้เป็นรักษาโรคลำไส้ใหญ่อักเสบในปัจจุบัน แต่ควร
ระมัดระวังในการใช้อย่างเหมาะสมและอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์เป็นสำคัญ เนื่องจากการใช้ฟ้าทะลายโจร
ยังเป็นการแพทย์ทางเลือกและพบรายงานผลข้างเคียงจากการศึกษาอยู่บางส่วน จึงยังต้องการงานวิจัย
สนับสนุนเพิ่มเติมเพื่อช่วยยืนยัน
ลดอาการไข้และอาการเจ็บคอที่มีสาเหตุจากต่อมทอนซิลอักเสบ ต่อมทอนซิลอักเสบเป็นการ
อักเสบของต่อมทอนซิลจากการติดเชื้อในช่องคอ ด้วยสรรพคุณช่วยระงับอาการอักเสบและต้านเชื้อการติดเชื้อ
ของฟ้าทะลายโจร บางส่วนจึงนิยมรับประทานสมุนไพรชนิดนี้ตามความเชื่อของสูตรยาแผนโบราณ
จากการศึกษาประสิทธิภาพของสารสกัดจากฟ้าทะลายโจรในผู้ป่วยระบบทางเดินหายใจส่วนบนไม่
รุนแรง 223 คน แบ่งเป็นกลุ่มที่รับประทานสารสกัดจากฟ้าทะลายโจร 200 มิลลิกรัมต่อวัน และอีกกลุ่ม
รับประทานยาหลอกเป็นระยะเวลา 5 วัน ซึ่งจะวัดผลด้วยการประเมินอาการจากตัวผู้ป่วยเองในด้านต่าง ๆ
ได้แก่ อาการไอ เสมหะ มีน้ำมูก ปวดศีรษะ มีไข้ เจ็บคอ อาการเหนื่อยง่าย และปัญหาในการนอน ผลพบว่า
ทั้ง 2 กลุ่มมีอาการดีตั้งแต่เริ่มจนจบการทดลอง แต่กลุ่มที่รับประทานสารสกัดจากฟ้าทะลายโจรเห็นผลได้
อย่างชัดเจนในช่วงวันที่ 3-5 มากกว่ากลุ่มที่รับประทานยาหลอก อย่างไรก็ตาม ยังพบผลข้างเคียงเล็กน้อยใน
ทั้ง 2 กลุ่ม จากการทดลองจึงเชื่อว่าฟ้าทะลายโจรอาจช่วยรักษาหรือบรรเทาอาการติดเชื้อในทางเดินหายใจ
ตอนต้น แต่ต้องรอการค้นคว้าหรือหลักฐานในอนาคตเพิ่มเติม เพื่อช่วยยืนยันประสิทธิภาพมากกว่านี้
7
โรคข้อรูมาตอยด์ เป็นโรคเรื้อรังที่เกิดการอักเสบตามข้อและหลายอวัยวะในร่างกาย ซึ่งฟ้าทะลาย
โจรมีฤทธิ์ต้านการอักเสบ โดยเฉพาะสารแอนโดรกราโฟไลด์ (Andrographolide) จึงถูกนำมาใช้เป็นการรักษา
ทางเลือกในโรคภูมิต้านตนเองหรือแพ้ภูมิตนเอง จากการศึกษาการใช้ยาที่มีสารสกัดจากฟ้าทะลายโจรในผู้ป่วย
โรคข้อรูมาตอยด์ที่มีอาการของโรคกำเริบ 60 คน ซึ่งตัวยาจะประกอบด้วยสารแอนโดรกราโฟไลด์ 30% โดย
ให้รับประทานวันละ 3 ครั้งติดต่อกันเป็นระยะเวลา 14 สัปดาห์เปรียบเทียบกับกลุ่มที่ได้รับยาหลอก และ
วัดผลโดยตอบแบบสอบถามหลังการจบทดลอง 2 สัปดาห์ ผลพบว่า ความรุนแรงของอาการปวดข้อและข้อ
บวมในกลุ่มที่ได้รับยาที่มีสารสกัดจากฟ้าทะลายโจรลดลง อย่างไรก็ตาม การศึกษานี้ชี้แนะว่า ฟ้าทะลายโจรก็
อาจนำไปใช้เป็นการรักษาเสริมในผู้ป่วยโรคข้อรูมาตอยด์ในอนาคต แต่ยังต้องศึกษากับกลุ่มการทดลองขนาด
ใหญ่ขึ้นและติดตามผลในระยะเวลานานกว่าเดิม อีกทั้งยังมีปัจจัยอื่นที่เกี่ยวข้องกับโรคอีกหลายส่วน ทำให้ยาก
ต่อการสรุปผลทันที
โรคไข้หวัดใหญ่ คุณสมบัติของฟ้าทะลายโจรคือช่วยกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายให้ทำงานได้ดี
ขึ้น จึงคาดกันว่าฟ้าทะลายโจรน่ามีประสิทธิภาพในการรักษาโรคไข้หวัดใหญ่ได้เช่นกัน จากการศึกษานำร่อง 2
ชิ้น เกี่ยวกับประสิทธิภาพของการใช้สารสกัดที่มีส่วนประกอบของฟ้าทะลายโจรในผู้ป่วยโรคไข้หวัดใหญ่
จำนวน 540 คน เปรียบเทียบกับยาอะแมนตาดีน (Amantadine) ที่เป็นยารักษาโรคไข้หวัดใหญ่ ผลพบว่า
ผู้ป่วยที่ได้รับสารสกัดฟ้าทะลายโจรมีอาการดีขึ้นเร็วและอาการแทรกซ้อนน้อยกว่า เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มที่
ได้รับยาอะแมนตาดีน ผลวิจัยทั้ง 2 ชิ้นนี้อาจชี้ให้เห็นว่าสารสกัดฟ้าทะลายโจรน่าจะมีประสิทธิภาพต่อการ
รักษาโรคไข้หวัดใหญ่ ทั้งนี้ การวิจัยในครั้งนี้เป็นเพียงการศึกษาเบื้องต้นและยังต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมในด้าน
อื่นก่อนการสรุปผล
6.ความปลอดภัยในการรับประทานฟ้าทะลายโจร
ฟ้าทะลายโจรค่อนข้างปลอดภัยต่อร่างกายหากรับประทานในปริมาณและระยะเวลาที่เหมาะสม แต่
บางรายอาจเกิดผลข้างเคียงตามมาหลังการรับประทานเล็กน้อย เช่น ไม่อยากอาหาร อาเจียน ท้องเสีย ผื่นขึ้น
ปวดศีรษะ น้ำมูกไหล หรือเหนื่อยง่าย
การรับประทานฟ้าทะลายโจรในรูปแบบสารสกัดผสมกับสมุนไพรชนิดอื่น โดยเฉพาะโสมไซบีเรีย
(Siberian Ginseng) ไม่ควรรับประทานติดต่อกันเกิน 3 เดือน และควรระมัดระวังการรับประทานสมุนไพร
ชนิดนี้ในปริมาณเข้มข้นสูงหรือใช้ติดต่อเป็นเวลานาน ซึ่งอาจเป็นสาเหตุให้ต่อมน้ำเหลืองบวม เกิดปฏิกิริยาแพ้
อย่างรุนแรง เอนไซม์ตับสูงขึ้น หรือมีอาการอื่น ๆ ตามมา รวมถึงเพิ่มความระมัดระวังในการรับประทานฟ้า
ทะลายโจรในกรณีต่อไปนี้
 การรับประทานฟ้าทะลายโจรค่อนข้างปลอดภัยต่อเด็กและทารกหากใช้ในระยะเวลาสั้น ๆ
และการใช้ฟ้าทะลายโจรร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นไม่ควรรับประทานติดต่อกันเกิน 1 เดือน
8
 หญิงมีครรภ์และคุณแม่ที่อยู่ในช่วงให้นมบุตรควรหลีกเลี่ยงที่จะรับประทาน เนื่องจากอาจ
เป็นสาเหตุให้เกิดภาวะแท้งและยังไม่มีหลักฐานยืนยันความปลอดภัยต่อทารกที่ดื่มนมแม่
 ผลการทดลองในสัตว์พบว่าฟ้าทะลายโจรอาจรบกวนระบบการสืบพันธุ์ แต่ยังไม่มีหลักฐาน
ยืนยันผลในคนในปัจจุบัน ผู้ที่มีภาวะมีบุตรยาก (Infertility) หรือมีปัญหาในการตั้งครรภ์จึง
ควรหลีกเลี่ยงที่รับประทาน
 ฟ้าทะลายโจรอาจกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันให้ไวต่อการทำงานมากขึ้น ผู้ป่วยในกลุ่มโรคภูมิต้าน
ตนเอง เช่น โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง โรคลูปัสหรือโรคเอสแอลอี โรคข้อรูมาตอยด์ หรือ
สภาวะอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ไม่ควรรับประทานสมุนไพรชนิดนี้
 ฟ้าทะลายโจรอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะเลือดออกผิกปกติหรือรอยฟกช้ำได้ง่าย ผู้ที่
มีภาวะเลือดออกผิดปกติจึงควรหลีกเลี่ยงที่จะรับประทาน รวมถึงผู้ที่ต้องเข้ารับการผ่าตัดควร
หยุดใช้สมุนไพรนี้อย่างน้อย 2 สัปดาห์
 ฟ้าทะลายโจรอาจส่งผลให้ความดันโลหิตต่ำลง แต่ยังไม่มีผลการยืนยันผลต่อการใช้ในคน ผู้ที่
มีภาวะความต่ำจึงไม่ควรรับประทาน เพื่อความปลอดภัยต่อสุขภาพ
 ผู้ที่รับประทานยาเป็นประจำควรปรึกษาแพทย์ก่อนการรับประทานฟ้าทะลายโจรทุกครั้ง
เนื่องจากยาบางชนิดอาจเกิดปฏิกิริยาต่อกันของยาและสมุนไพร เช่น ยารักษาโรคความดัน
โลหิตสูง ยากดภูมิคุ้มกัน ยาต้านการแข็งตัวของเลือด ยาต้านเกล็ดเลือด
 อย่างไรก็ตาม การรับประทานฟ้าทะลายโจร เพื่อวัตถุประสงค์ในการรักษาโรคหรือภาวะ
ผิดปกติบางอย่างยังคงต้องหาหลักฐานยืนยันถึงประสิทธิภาพและความปลอดภัย จึงไม่ควร
รับประทานตามคำอ้างต่าง ๆ โดยไม่ปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญ


เอกสารอ้างอิง

  1. Calabrese, C., Berman, S.H., Babish, J.G., Ma, X., Shinto, L., Dorr, M., Wells, K., Wenner,
    C.A., Standish, L.J. A phase I trial of andrographolide in HIV positive patients and normal
    volunteers. Phytother. Res. 2000, 14, 333-338.
  2. Cáceres, D.D., Hancke, J.L., Burgos, R.A., Sandberg, F., Wikman, G.K. Use of visual
    analogue scale measurements (VAS) to asses the effectiveness of
    standardized Andrographis paniculata extract SHA-10 in reducing the symptoms of
    common cold. A randomized double blind-placebo study. Phytomedicine. 1999, 6, 217-
    223.
    9
  3. Zaidan, M.R., Noor, A., Badrul, A.R., Adlin, A., Norazah, A., Zakiah, I. In vitro screening of
    five local medicinal plants for antibacterial activity using disc diffusion method. Trop.
    Biomed. 2005, 22, 165-170.
  4. Puri, A., Saxena, R., Saxena, R.P., Saxena, K.C., Srivastava, V., Tandon, J.S.
    Immunostimulant agents from Andrographis paniculata. J. Nat. Prod. 1993, 56, 995–999.
  5. Zhang, C.Y., Tan, B.K.H. Hypotensive activity of aqueous extract of Andrographis
    paniculata in rats. Clin. Exp. Pharmacol. Physiol. 1996, 23, 675–678.
  6. Yoopan, N., Thisoda, P., Rangkadilok, N.,Sahasitiwat, S., Pholphana, N., Ruchirawat, S.,
    Satayavivad, J. Cardiovascular effects of 14-deoxy-11,12-didehydroandrographolide
    and Andrographis paniculata extracts. Planta Med. 2007, 73, 503-511.
  7. Thisoda, P., Rangkadilok, N., Pholphana, N., Worasuttayangkurn, L., Ruchirawat, S.,
    Satayavivad, J. Inhibitory effect of Andrographis paniculata extract and its active
    diterpenoids on platelet aggregation. Eur. J. Pharmacol. 2006. 553, 39-45.
  8. Kapil, A., Koul, I.B., Banerjee, S.K., Gupta, B.D. Antihepatotoxic effects of major
    diterpenoid constituents of Andrographis paniculata. Biochem. Pharmacol. 1993, 46,
    182-185
  9. Thamlikitkul, V., Dechatiwongse, T., Theerapong, S., Chantrakul, C., Boonroj, P., Punkrut,
    W., Ekpalakorn, W., Boontaeng, N., Taechaiya, S., Petcharoen. S., et al. Efficacy
    of Andrographis paniculata. Nees for pharyngotonsillitis in adults. J. Med. Assoc. Thai.
    1991, 74, 437-442.
  10. Sheeja, K., Shihab, P.K., Kuttan, G. Antioxidant and anti-inflammatory activities of the
    plant Andrographis paniculata Nees. Immunopharmacol. Immunotoxicol. 2006, 28, 129-
    140.
  11. Misra, P., Pal, N.L., Guru, P.Y., Katiyar, J.C., Srivastava, V., Tandon, J.S. Antimalarial activity
    of Andrographis paniculata (Kalmegh) against Plasmodium berghei NK 65 in Mastomys
    natatensis. Int. J. Pharmacog. 1992, 30, 263–274.
  12. Thai Herbal Pharmacopoeia. 1995. Vol. 1. Prachachon Co., Ltd., Bangkok. p. 24-31.
  13. Pholphana, N., Rangkadilok, N., Thongnest, S., Ruchirawat, S., Ruchirawat, M.,
    Satayavivad, J. Determination and variation of three active diterpenoids in Andrographis
    paniculata (Burm.f.) Nees. Phytochem. Anal. 2004, 15, 365-371.
  14. อนุสิทธิบัตร เลขที่ 1862 เรื่อง วิธีการเตรียมสารสกัดมาตรฐานจากสมุนไพรฟ้าทะลาย
    โจร Andrographis paniculata (Burm.f.) Nees, Acanthaceae และใช้สารสกัดดังกล่าวในการผลิต
    ผลิตภัณฑ์ ออกให้เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2548
    10
  15. Pholphana, N., Rangkadilok, N., Saehun, J., Ritruechai, S., Satayavivad, J. Changes in the
    contents of four active diterpenoids at different growth stages in Andrographis
    paniculata (Burm.f.) Nees (Chuanxinlian). Chin. Med. 2013, 8(1), 2.
  16. Thiantanawat, A., Watcharasit, P., Ruchirawat, S., Satayavivad, J. Modulation of cell cycle
    and apoptosis signaling by the three active diterpenoids from Andrographis
    paniculata Nees. Proceedings of The 5th Princess Chulabhorn International Science
    Congress: Evolving Genetics and Its Global Impact, August 16-20, 2004, PC-09, Vol. II,
    p.57.
  17. นาถฤดี สิทธิสมวงศ์, เจษฎา เพ็งชะตา, ทรงพล ชีวพัฒน์ และคณะ. พิษเฉียบพลันและกึ่งเรื้องรังของฟ้า
    ทะลายโจร. ไทยเภสัชสาร. 2532, 14, 109-118.
  18. สาโรช ค้าเจริญ, บังอร ศรีพานิชกุลชัย, เยาวมาลย์ ค้าเจริญ, คมกริช พิมพ์ภักดี, พิชญ์รัตน์ แสนไชย
    สุริยา. การศึกษาและพัฒนาการผลิตและการใช้สมุนไพรกระเทียม ฟ้าทะลายโจร และขมิ้นชันทดแทน
    สารต้านจุลชีพและสารสังเคราะห์เติมอาหารไก่และสุกร. การประชุม เรื่อง สมุนไพรไทย โอกาสและ
    ทางเลือกใหม่ของอุตสาหกรรมการผลิตสัตว์ ครั้งที่ 2 วันที่ 15-16 มกราคม 2547. หน้า 145-161.

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Spam Protection by WP-SpamFree

วงศ์ของว่าน :