ว่านพระยาอังกุลี
พระยาอังกุลี Goodyera viridflora [Blume.]
ลักษณะ ต้นดังต้นหมากผู้หมากเมีย แต่สูงเพียง 3-4 นิ้ว สูงอย่างมากไม่เกิน 5 นิ้ว ใบเหมือนใบน้ำเต้า เมื่อต้นเล็กๆ ใบมีสีแดง เมื่อต้นโตใบจะมีสีเขียวปนแดง มียาง เมื่อเราหยิกดูจะมียางออกมาสีดำ
สรรพคุณ ทางเล่นแร่แปรธาตุ ใช้เป็นยาฆ่าปรอทให้ตาย โดยเอาปรอทใส่ในฝ่ามือ แล้วเอายางสีดำนั้นใส่ตามลงไป กวนให้เข้ากันดี ปรอทนั้นจะค่อยๆ แข็งตัวเป็นก้อน จนแข็งกว่าสภาพเดิมของปรอท ใช้ในทางคงกระพัน และทาตามตัวจะมีแสงเป็นกายสิทธิ์ในเวลากลางคืนป้องกันภูติผีปีศาจได้
หมายเหตุ ว่านนี้เป็นคนละต้นกับ ว่านกบ และ ว่านอึ่ง ว่านชนิดนี้ น่าจะเป็น เอื้องดินดอกหม่น
พบในตำราของ
ประพัฒนสรรพกร, หลวง. ตำหรับกระบิลว่าน. 2475, หน้า 26-27
ไพฑูรย์ ศรีเพ็ญ. ตำราสรรพคุณยาไทย. 2484, หน้า 83
ชัยมงคล อุดมทรัพย์. ตำราดูว่าน และพระเครื่อง-พระบรมธาตุ. 2503, หน้า 31
พยอม วิไลรัตน์. ตำรากบิลว่านและต้นไม้วิเศษนานาชนิด. 2504, หน้า 82 เรียก ว่านพระยาอังคุลี
อุตะมะ สิริจิตโต. ตำราปลูกและดูลักษณะว่าน. 2505, หน้า 19
เลื่อน กัณหะกาญจนะ. ตำราคุณลักษณะว่านและวิธีดูแลว่าน. 2506, หน้า 270
สวิง กวีสุทธิ์, ร.ต. ตำรากบิลว่าน. 2508, หน้า 11
อาจารย์ญาณโชติ. คัมภีร์ไสยศาสตร์ฉบับสมบูรณ์. ไม่ปรากฏปีที่พิมพ์, หน้า 985 เรียก ว่านพระยาอังคุลี
Leave a Reply