งานเขึยน
หน้างสือ ว่าน สมุนไพร ไม้มงคลไทย
บ้านว่านไทย

ว่านหัวน่วม ต้นที่ 1

หัวน่วม  มี 2 แบบ

1. หัวน่วม    Gynura  pseudochina  [L.]  DC.  var.  hispida  Thwaites

 ลักษณะ  ใบคล้ายใบผักกาด  ใบสีเขียวกว่าใบไม้ทั้งปวง  จักเว้าเข้าไปกลางใบ  มากบ้างน้อยบ้างไม่เท่ากัน  ขอบใบเป็นสีม่วงอ่อนๆ  หัวกลมๆ ยาวๆ  ดอกมีสีเหลืองเล็กๆ  คล้ายดอกดาวเรืองเป็นก้านชูขึ้นมาจากหัว  คล้ายว่านมหากาฬ  หัวเมื่อขุดขึ้นมากจากดิน  ทิ้งไว้ 5-6 วันหัวจะนิ่มเหมือนกำลังฝ่อ  มี 2 ชนิด  คือ  เนื้อในหัวสีขาว  และเนื้อในหัวสีแดง

สรรพคุณ  ทางคงกระพัน  เอาหัวว่านนี้กิน  เสกด้วยพระเจ้า 5 พระองค์ 3 คาบ  เมื่อกินจะรู้สึกซู่ซ่าไปทั่วทุกขุมขน  คงกระพันชาตรี  ถือติดตัวป้องกันอาวุธทั้งปวง

บางตำรา  ให้ใช้หัวติดตัวเท่านั้น  กระบองขวากหนามเขี้ยวงา  รับรองอยู่คงเด็ดขาด  แต่เมื่อมีว่านนี้อยู่กับตัวอย่าไปกัดเชือกหรือเถาใดๆ เป็นอันขาด  จะทำให้เข็ดเขี้ยว

หมายเหตุ  ว่านนี้มีอีกชื่อว่า  ว่านแจง

พบในตำราของ

ประพัฒนสรรพกร,  หลวง.  ตำหรับกระบิลว่าน.  2475,  หน้า  34

พยอม   วิไลรัตน์.  ตำรากบิลว่านและต้นไม้วิเศษนานาชนิด.  2504,  หน้า  61

อุตะมะ   สิริจิตโต.  ตำราปลูกและดูลักษณะว่าน.  2505,  หน้า  57

เลื่อน   กัณหะกาญจนะ.  ตำราคุณลักษณะว่านและวิธีดูแลว่าน.  2506,  หน้า  427-428

สวิง   กวีสุทธิ์,  ร.ต.  ตำรากบิลว่าน.  2508,  หน้า  38-39

สมาน   คัมภีร์  และ  ทัศนา   ทัศนมิตร.  กบิลว่าน 108.  2516,  หน้า  88

อาจารย์ญาณโชติ.  คัมภีร์ไสยศาสตร์ฉบับสมบูรณ์.  ไม่ปรากฏปีที่พิมพ์,  หน้า  1032

 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Spam Protection by WP-SpamFree

วงศ์ของว่าน :