ชื่อว่าน: ว่าน แสงอาทิตย์
ชื่อวิทยาศาสตร์ของ ว่าน :
วงศ์ของ ว่าน :
ชื่ออื่นๆ:
ลักษณะลำต้น/ราก: ลำต้นใต้ดินเป็นเหง้าคล้ายข่า มีกลิ่นหอมเย็น
ใบ: ลำต้นเทียมสูงประมาณ1.5 ฟุต-2เมตร ใบมีรูปรี หรือ รูปขอบขนาน ปลายใบเรียวแหลมเป็นติ่ง หน้าใบสีเขียวออกสีเงินๆ กลางใบมีแถบสีขาวตามแนวเส้นกลางใบ หลังใบสีแดงม่วงเข้ม
ดอก: ออกดอกที่ปลายลำต้นเทียม เป็นช่อมีสีแดง
สภาวะการปลูก: ชอบดินระบายน้ำดี แดด รำไร
การขยายพันธุ์: แยกหน่อ
การใช้ประโยชน์: ปลูกเป็นไม้ประดับ
ความเชื่อ: ว่าน นี้มีอิทธิฤทธิ์มาก ใครหามาปลูกไว้ได้ ท่านตีค่าไว้ถึงแสนตำลึงทอง เมื่อเวลาจะไปเอา ว่าน นี้มาตามตำราท่านให้ถือศีล ๕ ศีล ๘ เสียก่อน จงระวังอย่าให้เงา ว่าน ทับเงาเราได้ และขณะทำการขุดก็ต้องบริกรรมคาถา “อิติปิโสภควาถึงภควาติ” ๓ จบ แล้วจึงขุดเอา ว่าน นี้มาได้ และเวลาจะใช้ ว่าน นี้ ไม่ว่ากิน จะฝนหรือจะนำติดตัวเอาไปไหน ๆ ต้องว่าคาถากำกับ เพื่อก่อให้เกิดอิทธิฤทธิ์แน่วแน่และมั่นคงจริง ๆ คือ “นะโมพุทธายะ” ๓ จบ หรือจะว่า “อิติปิโสภควาถึงภควาติ” ๓ จบเหมือนกัน อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือจะว่าทั้งสองอย่าง ๆ ละ ๓ จบ สลับกันไปก็ได้ แล้วจึงนำไปทำตามความประสงค์ ก็จะประสิทธิผลทุกอย่าง
ตามตำราเดิมนั้นกล่าวว่า ถ้าผู้ใดกิน ว่าน นี้เข้าไปแล้วจะสามารถเหาะเหินเดินอากาศได้ ถ้าทาตาเข้าก็อาจจะแลเห็นไปทั่วตลอดถึงชั้นฟ้า และบาดาล ทั้งสามารถล่องหนหายตัวได้ คือคล้ายกับว่าเป็นผู้สำเร็จปรอท หรือสำเร็จว่านนั่นเอง แต่มีเคล็ดอยู่ว่าก่อนจะทำนั้นจะต้องเข้าพิธีมณฑลชำระตัวและจำศีลภาวนาจนเกิดสมาธิขึ้นแล้ว จึงจะประสิทธิ์ผลสมประสงค์
อีกตำราหนึ่ง อธิบายความในตอนกระทำพิธีไว้ชัดเจนว่า “ก่อนอื่นให้เอาหัว ว่าน มาล้างน้ำให้สะอาดแล้ว เอามาตำโขลกให้ละเอียดใส่พานไว้ อธิษฐานตั้งอยู่ในความสัตย์ และทรงศีลบริสุทธิ์ (คือถือศีล ๕ ศีล ๘ บริสุทธิ์บริบูรณ์) แล้วบริกรรมด้วยคาถา “นะโมพุทธายะ” ตั้งจิตแน่วแน่เป็นสมาธิเพ่งอยู่ในตัวยาในพานนั้น จนเกิดนิมิตแลเห็นภาพพระพุทธเจ้าทั้ง ๕ พระองค์ มาปรากฎแจ่มชัดขึ้นจากตัวยา โดยแลเห็นได้ด้วยสายตาของตนเองในการภาวนา “นะโมพุทธายะ”
เมื่อเกิดนิมิตรเช่นนี้แล้ว จะเป็นผลทำให้เกิดมหิทธานุภาพขึ้นแก่ ว่าน ที่ทำไว้นั้น สามารถดลบันดาลอภินิหารให้เกิดมีขึ้นได้ เช่นเมื่อกินเข้าไปสามารถเหาะเหินเดินอากาศได้ และบรรดาโรคภัยไข้เจ็บใด ๆ ที่มีอยู่ในร่างกายแต่เดิมก่อนกินก็จะค่อยบรรเทาหายจนหมดสิ้น หากทาตาก็สามารถมองไปถึงสวรรค์ชั้นฟ้า ตลอดถึงภาคพิภพได้โดยบังเกิดเป็นทิพจักษุขึ้นมาทันที ดังนี้เป็นต้น