เสน่ห์จันทน์ดำ
เสน่ห์จันทน์ดำ Homalomena cf. aromatic Schott.
ลักษณะ หัว ต้น ก้าน ใบ เหมือนว่านเสน่ห์จันทน์ขาว แต่ใบป้อมกว่า ก้านมีสีแดงคล้ำ เกือบดำ ดอกตูมเหมือนดอกจำปีสีแดงคล้ำ หัวมีกลิ่นฉุนร้อน
สรรพคุณ ทางเมตตามหานิยม ปลูกไว้กับบ้านมีโชคภาภ เมตตามหานิยม ใช้หัวดองกับสุรากิน แก้เลือดเสีย ระดูสตรีมาไม่ปกติ
หมายเหตุ ว่านนี้มีหลายชื่อ คือ เต่าเกลียด เต่าเกียด เต่าเขียด
พบในตำราของ
สมาน คัมภีร์ และ ทัศนา ทัศนมิตร. กบิลว่าน 108. 2516, หน้า 10 เรียก ว่านเสน่ห์จันทร์ดำ
ว่านเสน่ห์จันทน์เขียว
เสน่ห์จันทน์เขียว Homalomena sp.
ลักษณะ หัว ต้น ก้าน ใบ เหมือนว่านเสน่ห์จันทน์ขาว แต่ใบป้อมกว่า และมีสีเขียวทั้งหมด มีกลิ่นหอมอ่อนกว่าว่านเสน่ห์จันทน์ขาว
สรรพคุณ ทางเมตตามหานิยม ปลูกไว้ในบ้านเป็นเสน่ห์มหานิยมค้าขายดี
พบในตำราของ
ล. มหาจันทร์. คู่มือนักเล่นว่าน. 2480, หน้า 8
ไพฑูรย์ ศรีเพ็ญ. ตำราสรรพคุณยาไทย. 2484, หน้า 88
ชัยมงคล อุดมทรัพย์. ตำราดูว่าน และพระเครื่อง-พระบรมธาตุ. 2503, หน้า 21
พยอม วิไลรัตน์. ตำรากบิลว่านและต้นไม้วิเศษนานาชนิด. 2504, หน้า 20-21 เรียก ว่านเสน่ห์จันเขียว
อุตะมะ สิริจิตโต. ตำราปลูกและดูลักษณะว่าน. 2505, หน้า 34-35 เรียก ว่านเสน่ห์จันทร์เขียว
ชั้น หาวิธี. ตำราว่านวิเศษอันศักดิ์สิทธิ์. 2506, หน้า 4-5
เลื่อน กัณหะกาญจนะ. ตำราคุณลักษณะว่านและวิธีดูแลว่าน. 2506, หน้า 396
สมาน คัมภีร์ และ ทัศนา ทัศนมิตร. กบิลว่าน 108. 2516, หน้า 9 เรียก ว่านเสน่ห์จันทร์เขียว
อาจารย์ญาณโชติ. คัมภีร์ไสยศาสตร์ฉบับสมบูรณ์. ไม่ปรากฏปีที่พิมพ์, หน้า 1015 เรียก ว่านเสน่ห์จันทร์เขียว
ว่านเสน่ห์จันทน์ขาว
เสน่ห์จันทน์ขาว Homalomena lindenii [Rodigas] Lindl.
ลักษณะ ต้นและก้านคล้ายบอน แต่ก้านสีขาว ใบเหมือนใบโพธิ์ หน้าใบสีเขียวอ่อน กระดูกใบสีขาวนวล หัวมีครีบ เป็นแท่งแทงขึ้นบนดิน ตามก้านใบที่หลุดไปแตกหน่อขึ้นที่โคนต้น ดอกตูมเหมือนดอกจำปี ว่านนี้ชอบขึ้นในที่เย็น มีต้นไม้บังและมีแดดส่องมารำไร ปลูกไว้ในบ้านใส่กระถางตั้งไว้ในที่ร่ม มีแดดส่องเล็กน้อย ปลูกได้ทุกฤดูอยู่ได้ตลอดปีไม่เฉาโทรม มีกลิ่นหอมหมดทั้งต้น ราก ก้าน ใบ ดอก มีกลิ่นหอมดุจกัน
สรรพคุณ ทางเมตตามหานิยม ปลูกไว้กับบ้านหรือร้านค้าขายเป็นศิริมงคล มีโชคลาภ เป็นเมตตามหานิยมวิเศษนัก
หมายเหตุ ว่านนี้บางตำราเรียกว่า ว่านเสน่ห์จันทน์เหลือง ว่านเสน่ห์จันทร์ธรรมดา
พบในตำราของ
ประพัฒนสรรพกร, หลวง. ตำหรับกระบิลว่าน. 2475, หน้า 44 เรียก ว่านเสน่ห์จันทร์ขาว
ล. มหาจันทร์. คู่มือนักเล่นว่าน. 2480, หน้า 8 เรียก ว่านเสน่ห์จันทร์ธรรมดา
ไพฑูรย์ ศรีเพ็ญ. ตำราสรรพคุณยาไทย. 2484, หน้า 87
ชัยมงคล อุดมทรัพย์. ตำราดูว่าน และพระเครื่อง-พระบรมธาตุ. 2503, หน้า 21
พยอม วิไลรัตน์. ตำรากบิลว่านและต้นไม้วิเศษนานาชนิด. 2504, หน้า 17-19 เรียก ว่านเสน่ห์จันมหาโพธิ์
อุตะมะ สิริจิตโต. ตำราปลูกและดูลักษณะว่าน. 2505, หน้า 35-36 เรียก ว่านเสน่ห์จันทร์เหลือง (ธรรมดา)
ชั้น หาวิธี. ตำราว่านวิเศษอันศักดิ์สิทธิ์. 2506, หน้า 5
เลื่อน กัณหะกาญจนะ. ตำราคุณลักษณะว่านและวิธีดูแลว่าน. 2506, หน้า 394-395
สวิง กวีสุทธิ์, ร.ต. ตำรากบิลว่าน. 2508, หน้า 32-33 เรียก ว่านเสน่ห์จันทร์ขาว
สมาน คัมภีร์ และ ทัศนา ทัศนมิตร. กบิลว่าน 108. 2516, หน้า 5 เรียก ว่านเสน่ห์จันทร์ขาว
อาจารย์ญาณโชติ. คัมภีร์ไสยศาสตร์ฉบับสมบูรณ์. ไม่ปรากฏปีที่พิมพ์, หน้า 1014 เรียก ว่านเสน่ห์จันทร์ขาว
ว่านสี่ทิศ
สี่ทิศ Hippeastrum puniceum [Lam.] Urb.
ลักษณะ หัวเหมือนหัวหอม ใบคล้ายว่านน้ำแต่สั้นและใหญ่ ดอกแตกออกจากลำต้น มีกลีบสีแดง ก้านสีเขียว ดอกแยกออกเป็นสี่ทิศ ว่านชนิดนี้มีหลายสี เช่น สีขาว แดง เหลือง เป็นไปตามพื้นที่ภูมิประเทศที่ปลูก
สรรพคุณ ทางศิริมงคล ปลูกไว้ในบ้านเป็นศิริมงคล ป้องกันอันตรายทั้งปวง เอาหัวมาแกะเป็นพระพุทธรูป เสกด้วยพระเจ้า 5 พระองค์ 108 คาบ นำติดตัวไป แคล้วคลาด ป้องกันศาสตราวุธทั้งปวง เป็นเสน่ห์แก่ผู้พบเห็น
หมายเหตุ ว่านชนิดนี้ น่าจะเป็นชนิดเดียวกับ ว่านสบู่หมึก
พบในตำราของ
พยอม วิไลรัตน์. ตำรากบิลว่านและต้นไม้วิเศษนานาชนิด. 2504, หน้า 91
อุตะมะ สิริจิตโต. ตำราปลูกและดูลักษณะว่าน. 2505, หน้า 59-60
ชั้น หาวิธี. ตำราว่านวิเศษอันศักดิ์สิทธิ์. 2506, หน้า 32
เลื่อน กัณหะกาญจนะ. ตำราคุณลักษณะว่านและวิธีดูแลว่าน. 2506, หน้า 393
สวิง กวีสุทธิ์, ร.ต. ตำรากบิลว่าน. 2508, หน้า 67 เรียก ว่าน 4 ทิศ
สมาน คัมภีร์ และ ทัศนา ทัศนมิตร. กบิลว่าน 108. 2516, หน้า 80
อาจารย์ญาณโชติ. คัมภีร์ไสยศาสตร์ฉบับสมบูรณ์. ไม่ปรากฏปีที่พิมพ์, หน้า 1028