ว่าน กระแตไต่ไม้
ชื่อว่าน: ว่านกระแตไต่ไม้
ชื่อวิทยาศาสตร์ของว่าน: Drynaria quercifolia(L.) J. Sm
วงศ์ของว่าน: POLYPODIACEAE
ชื่ออื่นๆ:
ลักษณะลำต้น/ราก: ลำต้นเป็นเหง้าอวบอ้วนและสั้น ไม่มีข้อปล้อง ปีนเกาะกับสิ่งที่ยึดเกาะ เหง้ามีขนหรือเกล็ดเป็นเส้นสีน้ำตาลแดงปกคลุมทั่ว และมีรากอยู่หนาแน่นด้านล่างเหง้า
ใบ: ใบมี 2 แบบ คือ ใบกาบหรือใบตะกร้า (base frond หรือ nest-leaves ) เป็นกาบบาง ไม่หนา รูปไข่หรือรูปโล่ห์กลม ไม่มีก้าน ขอบเป็นหยักพูตื้น ทำหน้าที่เก็บสะสมเศษซากอินทรีย์วัตถุ ใบแก่จะไม่หลุดทิ้งจากต้น จะอยู่ติดไปตลอดจนเปื่อยผุงพัง ใบอีกชนิด ใบจริง หรือใบที่สร้างสปรอ์ (foliage-leaves หรือ fertile frond) มีก้านยาว ขอบใบหยักเป็นพูลึก โคนใบย่อยติดกัน ดูคล้ายใบประกอบขนนก หรือเป็นใบประกอบแบบขนนก อับสปอร์มีขนาดเล็ก เรียงเป็นแถวเดี่ยว หรือ 2 แถว ขนานไปตามแนวเส้นกลางใบ
ดอก:
สภาวะการปลูก: ปลูกแบบกล้วยไม้
การขยายพันธุ์: แยกหน่อจากต้นเดิม
การใช้ประโยชน์:
ยาพื้นบ้านอีสานใช้ เหง้า 3-4 เหง้าผสมกับลำต้นเอื้องเงิน 1 ต้น ต้มน้ำดื่ม ครั้งละ 1 ถ้วยชา วันละ 2-3 ครั้ง บำรุงเลือดตำรายาไทยใช้ เหง้า เป็นยาสมานคุมธาตุ ขับปัสสาวะ ขับพยาธิ แก้ปัสสาวะพิการ (อากรปัสสาวะปวด หรือกะปริบกะปรอยหรือขุ่นข้น สีเหลืองเข้ม หรือมีเลือด) ไตพิการ (โรคเกี่ยวกับทางเดินปัสสาวะ มีปัสสาวะขุ่นข้น เหลือง หรือแดง มักมีอาการแน่นท้อง กินอาหารไม่ได้) ในมาเลเซียใช้เป็นสมุนไพรบดพอกแก้บวม
ความเชื่อ: บางท่านว่าว่านต้นนี้ เป็นว่านทางด้านเมตตามหานิยม มีผลดีทางด้านซื้อง่ายขายคล่อง โดยจะมีว่านอีกชนิดหนึ่งลักษณะคล้ายกัน แต่ไม่มีใบกาบ ที่ลำต้นพอเริ่มแก่ขนหลุดออกหมดทำให้ดูคล้ายงู เรียกว่า ว่านงูกวัก