งานเขึยน
หน้างสือ ว่าน สมุนไพร ไม้มงคลไทย
บ้านว่านไทย

บทความที่1 สารสำคัญหรือองค์ประกอบทางเคมีที่พบในพืชสมุนไพร

สารสำคัญหรือองค์ประกอบทางเคมีที่พบในพืชสมุนไพร

 

สารสำคัญที่มีฤทธิ์ในทางยาของพืชสมุนไพร  มีดังนี้ (รุ่งรัตน์  เหลืองนทีเทพ;2540)
  1. Alkaloid  เป็นสารที่มีรสขมจะมีไนโตรเจนเป็นส่วนประกอบมีคุณสมบัติเป็นด่าง  เมื่อสารนี้อยู่ในรูปของเกลือ  จะละลายน้ำได้  แต่ถ้าอยู่ในรูปของด่างจะละลายในตัวทำละลายไขมันได้ดี  เช่น คลอโรฟอร์ม อีเธอร์ เป็นต้น  ตัวอย่างของสารอัลคาลอยด์  ได้แก่  Atropine  จากต้นลำโพงมีฤทธิ์ลดการบีบตัวของลำไส้ใชผสมในยาแก้ปวดท้อง
  2. Glycoside  เป็นสารประกอบ  ซึ่งแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่เป็นน้ำตาลและส่วนที่ไม่ใช้น้ำตาล  การที่มีน้ำตาลมาเกาะนั้นทำให้สารนี้สามารถที่จะละลายน้ำได้ดีขึ้นในส่วนที่ไม่ใช้น้ำตาลเป็นสารพวกอินทรีย์เคมี  ซึ่งจะมีสูตรโครงสร้างและฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาที่แตกต่างกันออกไป  เช่น  Steroid หรือ triterpene  จะมีฤทธิ์ช่วยลดการอักเสบ หรือขยายหลอดลม
  3. Essential  Oil  เป็นสารที่มีกลิ่นหอมเป็นส่วนผสมของสารเคมีหลายชนิด  ประเภท trepene  มักมีฤทธิ์ในการขับลม  มีหลายชนิดที่ใช้ในการปรุงแต่งกลิ่นยา  ใช้สำหรับแต่งกลิ่นของอาหาร  และบางชนิดสามารถนำมาใช้ฆ่าเชื่อแบคทีเรีย
  4. Tannin  เป็นสารที่พบได้ในพืชทั่วไป มีรสฝาด มีฤทธิ์เป็นกรดอ่อนๆ  สามารถที่จะตกตะกอนโปรตีนได้เมื่อถูกกับเกลือคลอไรด์ของเหล็กให้สีขาว,น้ำเงินหรือดำ  เนื่องจากรสฝาดของสารนี้เอง  จึงนำมาใช้บรรเทาอาการท้องร่วงและฆ่าเชื่อแบคทีเรีย

5.   Gum  เป็นของเหนียวที่อาจพบในพืชบางชนิด  โดยเมื่อทำการกรีดหรือทำให้พืชนั้นเป็น         แผล  มีเพียงไม่กี่ชนิดที่ใช้ในทางยา

6.      Latex  เป็นยางมีสีขาว  คล้ายน้ำนม ประกอบไปด้วยแป้งกับเรซิน  และสารอื่นๆ  บาง        ชนิดมีสารเคมีเมื่อร่วมกับสารบางอย่างอาจก่อให้เกิดมะเร็ง (Co-Carcinogen) เรียกว่า  Phorbol

  1. 7.      Steriod  เป็นสารประกอบในพืช สามารถละลายได้ดีในไขมันหรือตัวทำละลายที่ละลายไขมัน  จะได้สารบางตัวซึ่งใช้เป็นสารตั้งต้นในการสังเคราะห์ยาด้านการอักเสบ
  2. 8.      Saponin  เป็นสารประเภทไกลโคไซด์ (glycoside) อาจเป็น steroid หรือ triterpene  ซึ่งสารนี้มีคุณสมบัติที่ทำให้เม็ดเลือดแดงแตก
  3. 9.      Flavonoid  เป็นสารประกอบของคาร์บอนและออกซิเจน  มีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาที่แตกต่างกัน เช่น  ลดการอักเสบ  ขยายหลอดลม  ทำให้มดลูกคล้ายตัว  และฆ่าเชื่อแบคทีเรีย
  4. 10.  Cyanogenic glycoside  เป็นสารเคมีที่อยู่ในพืช  โดยเมื่อถูกย่อยด้วยเอนไซม์แล้วจะเกิดปฎิกิริยาทางเคมีทำให้ได้ไซยาไนด์ซึ่งเป็นพิษต่อร่างกาย  เนื่องจากจะไปแย่งจับเม็ดเลือดแดงทำให้เม็ดเลือดแดงไม่สามารถจับกับออกซิเจนได้  แต่สารพวกนี้จะถูกทำลายได้ง่ายโดยความร้อน
  5. 11.  Anthraquinone  สารกลุ่มนี้มีฤทธิ์เป็นยาระบาย  โดยกระตุ้นการบีบตัวของลำไส้ใหญ่  ตัวอย่างของแอนทราควิโนนได้แก่  emodin, aloe-emodin, rhein, sennosides  เป็นต้น

(รุ่งระวี  เต็มศิริฤกษ์กุล;2542 )

  1. 12.  Coumarin  พบได้ในพืชหลายวงศ์  เช่น  วงศ์ Aplaceae, Rutaceae, Solanaceae  เป็นต้น คูมารินมีหลายชนิด และมีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาที่แตกต่างกัน  ตัวอย่างสารได้แก่  bergaptenw ได้แก่ คึ่นไช่ มีฤทธิ์ป้องกันแสงแดด khellin จากเทียนเยาวพาณี  เทียนข้าวเปลือก  เทียนตาตั้กแตน  มีฤทธิ์คล้ายกล้ามเนื้อเรียบ
  2. 13.  Glucosilinates  สารพฤกษเคมีในกลุ่มกลูโคซิลิเนทนี้  มีฤทธิ์ทำให้เกิดอาการระคายเคืองที่ผิวหนังรวมทั้งทำให้อักเสบ  บวมแดง  และเป็นตุ่มพุพอง  แต่ถ้าใช้ขนาดอย่างเหมาะสมก็สามารถใช้ทำเป็นยาพอก  สำหรับพอกแก้ปวดและแก้คัน  ตามบริเวณข้อต่อต่างๆ ของร่างกายร่วมทั้งยังช่วยให้โลหิตหมุนเวียนมาเลี้ยงบริเวณที่มีปัญหาได้ดีขึ้น
  3. 14.  Proanthocyanins  สารกลุ่มนี้มีสูตรโครงสร้างทางเคมีใกล้เคียงกับสารเคมีจำพวกเทนนิน (tannins) และฟลาโวนอยด์ (flavonoids) ส่วนใหญ่เป็นสร้างประกอบของเม็ดสี (pigments) มีฤทธิ์เป็นสารต้านการอ๊อกซิเดชั่น (antioxidant) ที่รุนแรง  รวมทั้งต้านการเกิดขยะอนูมูลอิสระด้วย
  4. 15.  Phenols  สารเคมีในกลุ่มฟีนอลนี้เป็นกลุ่มใหญ่  ซึ่งมีสูตรโครงสร้างที่แตกต่างกันออกไปได้หลากหลาย  ตั้งแต่สูตรโครงสร้างขนาดเล็กไปจนถึงโมเลกุลขนาดใหญ่  โดยปกติแล้วสารในพวกฟีนอลมีสรรพคุณเป็นยาบรรเทาการอักเสบ มีฤทธิ์ทำลายเชื้อ  ต้านการเกิดออกซิเดชั่น (antioxidant) ที่ดี และต้านไวรัสได้ด้วย
  5. 16.  Polysaccharides  พบได้ในพืชทุกชนิด  เป็นน้ำตาลโมเลกุลใหญ่  ซึ่งเกิดจากน้ำตาลโมเลกุลเล็กมาต่อเรียงกันที่พบเห็นในพืชได้แก่  สารเมือก (mucilages) และกัมส์ (gums) มีลักษณะเหนียวข้นเหมือนเจลลีมีคุณสมบัติบรรเทาอาการแพ้  ตามผิวหนัง
  6. 17.  สารขม (Bitters) เป็นสารเคมีที่มีรสขม มีสูตรโครงสร้างทางเคมีที่แตกต่างกันออกไป  แต่มีคุณสมบัติที่เหมือนกันคือมีรสขม  ความขมนี้มีฤทธิ์กระตุ้นให้น้ำลายหลั่งออกมาได้  ทำให้เพิ่มความอยากอาหารและเร่งการทำงานของระบบย่อยอาหาร

 

 

เมื่อทราบดังนี้แล้วจะเห็นว่าว่านและสมุนไพลนั้นมีทั้งคุณและโทษดังนั้นการจะนำมากินหรือบริโภคต้องเป็นไปอย่างระมัดระวัง โบราณนั้นท่านมีเคล็ดในการใช้สมุนไพลที่มีพิษให้เกิดประโยชน์ได้ โดยผ่านกระบวนการที่เรียกว่า สะตุ หรือ ประสะ ดังนั้นจึงควรเรียนรู้ให้ดี ก่อนจะทดลองตามความเชื่อแต่เพียงอย่างเดียว

 

One Response to บทความที่1 สารสำคัญหรือองค์ประกอบทางเคมีที่พบในพืชสมุนไพร

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

You may use these HTML tags and attributes: <a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <strike> <strong>

Spam Protection by WP-SpamFree

วงศ์ของว่าน :