ว่านพระมเหศวร
พระมเหศวร Remusatia vivipara Schott.
ลักษณะ หัวคล้ายหัวหอม เนื้อในหัวสีน้ำเงินอ่อนๆ ตรงกลางหัวเนื้อในสีขาว ขอบเป็นสีน้ำเงินแก่ ใบเหมือนใบบอนแต่เล็ก (ใบพุทธรักษา-ตำราหลวงประพัฒนสรรพกร) ตรงกลางใบมีเงาคล้ายน้ำค้างเกาะ มีรัศมีพรายปรอทออกมา
สรรพคุณ ทางคุ้มครอง และทางเมตตามหานิยม นำติดตัวไปป้องกันภูติผีปีศาจ ใช้ปราบผีเอาหัวว่านทิ่มแทงผีเจ้าเข้าสิงคน ออกสิ้น ผีกลัวนัก และเป็นเสน่ห์เมตตามหานิยมอีกด้วย ว่านนี้มีเทวดารักษา ปลูกไว้กับบ้านเป็นศิริมงคลป้องกันอันตรายต่างๆ บังเกิดโชคลาภดีนัก
หมายเหตุ ว่านชนิดนี้ บางท้องถิ่นเรียก ว่านขุนช้าง
พบในตำราของ
ชิตร์ วัฒนะ. ลักษณะว่าน. 2473, หน้า 5
ประพัฒนสรรพกร, หลวง. ตำหรับกระบิลว่าน. 2475, หน้า 24
ล. มหาจันทร์. คู่มือนักเล่นว่าน. 2480, หน้า 57
ไพฑูรย์ ศรีเพ็ญ. ตำราสรรพคุณยาไทย. 2484, หน้า 84
ชัยมงคล อุดมทรัพย์. ตำราดูว่าน และพระเครื่อง-พระบรมธาตุ. 2503, หน้า 30
พยอม วิไลรัตน์. ตำรากบิลว่านและต้นไม้วิเศษนานาชนิด. 2504, หน้า 51-52
อุตะมะ สิริจิตโต. ตำราปลูกและดูลักษณะว่าน. 2505, หน้า 61-62
ชั้น หาวิธี. ตำราว่านวิเศษอันศักดิ์สิทธิ์. 2506, หน้า 22-23 เรียก ว่านมเหศวร
เลื่อน กัณหะกาญจนะ. ตำราคุณลักษณะว่านและวิธีดูแลว่าน. 2506, หน้า 237-238
สวิง กวีสุทธิ์, ร.ต. ตำรากบิลว่าน. 2508, หน้า 19
อาจารย์ญาณโชติ. คัมภีร์ไสยศาสตร์ฉบับสมบูรณ์. ไม่ปรากฏปีที่พิมพ์, หน้า 985