ว่านเพชรหึง ต้นที่ ๑
เพชรหึง มี 3 แบบ
1. เพชรหึง Myrmecophila sinusa [Wall. Ex Hook.] Nakai ex H.Ito
ลักษณะ เป็นเฟิร์นชนิดหนึ่ง ลำต้นเป็นเถา ที่เถามีจุดแดงเป็นลายเหมือนลายตุ๊กแก อ่อนนิ่มเหมือนตัวงู ใบยาวสีเขียวคล้ายกับใบชุมมะเลียง ที่ใบมีจุดสีเหลืองแก่ ชอบเลื้อยขึ้นเกาะอยู่บนต้นไม้ในป่าสูงๆ
สรรพคุณ ทางเล่นแร่แปรธาตุ เป็นยาฆ่าปรอทตายเป็นกายสิทธิ์
ทางสมุนไพร เถามีรสร้อนขื่นเล็กน้อย กินแก้ท้องอืด ท้องขึ้นเฟ้อ แก้แน่น กับผายลม แก้ไข้จับสั่นเรื้อรังจนตับโตม้ามย้อย ทำให้เป็นไส้พองท้องใหญ่
หมายเหตุ ว่านชนิดนี้ เรียกกันหลายชื่อ คือ เฟิร์นตาลมังกร เฟิร์นมด
พบในตำราของ
ประพัฒนสรรพกร, หลวง. ตำหรับกระบิลว่าน. 2475, หน้า 6-7
ชัยมงคล อุดมทรัพย์. ตำราดูว่าน และพระเครื่อง-พระบรมธาตุ. 2503, หน้า 12-13
พยอม วิไลรัตน์. ตำรากบิลว่านและต้นไม้วิเศษนานาชนิด. 2504, หน้า 46
อุตะมะ สิริจิตโต. ตำราปลูกและดูลักษณะว่าน. 2505, หน้า 23-25
ชั้น หาวิธี. ตำราว่านวิเศษอันศักดิ์สิทธิ์. 2506, หน้า 25-26
เลื่อน กัณหะกาญจนะ. ตำราคุณลักษณะว่านและวิธีดูแลว่าน. 2506, หน้า 287-288
สวิง กวีสุทธิ์, ร.ต. ตำรากบิลว่าน. 2508, หน้า 8 เรียก ว่านเพชรหึง (เถา)
อาจารย์ญาณโชติ. คัมภีร์ไสยศาสตร์ฉบับสมบูรณ์. ไม่ปรากฏปีที่พิมพ์, หน้า 998