ว่านแสงจันทร์
แสงจันทร์ Curcuma sp.
ลักษณะ หัวและต้นดุจดังขมิ้นขาว ต้นสีเขียว ใบสีเขียวกลางใบแดง เนื้อในของหัวว่านสีโศก หรือสีเขียวอ่อน
สรรพคุณ ทางสมุนไพร เป็นยาแก้พิษสุนัขบ้ากัด พิษจระเข้กัด พิษเสือกัด และพิษสัตว์ต่างๆ ที่ทำให้ปวด คลั่ง ทำให้พิษนั้นทุเลาจนหาย เอาหัวฝนกับสุราให้ข้นแล้วกิน และทารอบๆ บาดแผล ถ้าถูกกัดใหม่ๆ ให้เอาหัวว่านนี้โขลกแล้วพอกแผล พิษเจ็บปวดจะหายทันที
พบในตำราของ
ประพัฒนสรรพกร, หลวง. ตำหรับกระบิลว่าน. 2475, หน้า 29
ชัยมงคล อุดมทรัพย์. ตำราดูว่าน และพระเครื่อง-พระบรมธาตุ. 2503, หน้า 34
พยอม วิไลรัตน์. ตำรากบิลว่านและต้นไม้วิเศษนานาชนิด. 2504, หน้า 38
ชั้น หาวิธี. ตำราว่านวิเศษอันศักดิ์สิทธิ์. 2506, หน้า 22
เลื่อน กัณหะกาญจนะ. ตำราคุณลักษณะว่านและวิธีดูแลว่าน. 2506, หน้า 408
สวิง กวีสุทธิ์, ร.ต. ตำรากบิลว่าน. 2508, หน้า 26
สมาน คัมภีร์ และ ทัศนา ทัศนมิตร. กบิลว่าน 108. 2516, หน้า 105
อาจารย์ญาณโชติ. คัมภีร์ไสยศาสตร์ฉบับสมบูรณ์. ไม่ปรากฏปีที่พิมพ์, หน้า 1017
ว่านแสงเงิน
แสงเงิน Crinum latifolium Linn.
ลักษณะ หัวคล้ายหัวหอม แต่หัวใหญ่ ใบสีเขียว ก้านสีแดงเรื่อๆ ต้นแตกขึ้นเป็นกอ แผ่ขยายออกไปเรื่อยๆ เนื้อในหัวของว่านเป็นสีขาว มีกลิ่นหอมเล็กน้อย
สรรพคุณ ทางเมตตามหานิยม ปลูกไว้ในบ้าน หรือนำติดตัวไว้ เป็นเสน่ห์เมตตามหานิยม
หมายเหตุ ว่านนี้ บางทีเรียก ว่านแสงเงินแสงทอง ว่านชนิดนี้ น่าจะเป็นชนิดเดียวกับ ว่านแร้งคอคำ ว่านสบู่ทอง
พบในตำราของ
ล. มหาจันทร์. คู่มือนักเล่นว่าน. 2480, หน้า 21-22 เรียก ว่านแสงเงินแสงทอง
พยอม วิไลรัตน์. ตำรากบิลว่านและต้นไม้วิเศษนานาชนิด. 2504, หน้า 39
ชั้น หาวิธี. ตำราว่านวิเศษอันศักดิ์สิทธิ์. 2506, หน้า 21
เลื่อน กัณหะกาญจนะ. ตำราคุณลักษณะว่านและวิธีดูแลว่าน. 2506, หน้า 407
สมาน คัมภีร์ และ ทัศนา ทัศนมิตร. กบิลว่าน 108. 2516, หน้า
อาจารย์ญาณโชติ. คัมภีร์ไสยศาสตร์ฉบับสมบูรณ์. ไม่ปรากฏปีที่พิมพ์, หน้า 1015-1016
ว่านแสงฟ้า
แสงฟ้า Leea sp.
ลักษณะ ลำต้นอวบใหญ่คล้ายต้นกล้วย ขนาดหน่อกล้วย ใบเล็กแหลมคล้ายใบชบาหรือใบเทียน แต่มีกิ่งแยกออก มีใบกิ่งละ 2-3 ใบ หัวเป็นเหง้าคล้ายเหง้ากล้วย แต่เล็กขนาดพอๆ กับต้น เมื่อเอามือแกะหัว จะมียางสีแดงดังเลือดสดๆ ค่อนข้างเหนียว
สรรพคุณ ทางสมุนไพรเล่นแร่แปรธาตุ เป็นว่านกายสิทธิ์ ใช้ยางกวนกับปรอท ทำให้ปรอทตาย หรือปรอทแข็งตัว เป็นเครื่องรางของวิเศษประเภทกายสิทธิ์ใช้ได้สารพัดนึก
หมายเหตุ ว่านนี้บางทีเรียกว่า ว่านแสง ว่านแสงต้น ว่านชนิดนี้เป็นบุกป่า (บุกอีรอก-ภาคเหนือ) ที่หน้าใบสีเขียวเป็นเงาเล่นแสงวาววับ
พบในตำราของ
ชิตร์ วัฒนะ. ลักษณะว่าน. 2473, หน้า 7 เรียก ว่านแสง
ล. มหาจันทร์. คู่มือนักเล่นว่าน. 2480, หน้า 21-22 เรียก ว่านแสง
ไพฑูรย์ ศรีเพ็ญ. ตำราสรรพคุณยาไทย. 2484, หน้า 88 เรียก ว่านแสง
พยอม วิไลรัตน์. ตำรากบิลว่านและต้นไม้วิเศษนานาชนิด. 2504, หน้า 38-39,
หน้า 124 เรียก ว่านแสงต้น (ซ้ำ)
อุตะมะ สิริจิตโต. ตำราปลูกและดูลักษณะว่าน. 2505, หน้า 73
ชั้น หาวิธี. ตำราว่านวิเศษอันศักดิ์สิทธิ์. 2506, หน้า 22
เลื่อน กัณหะกาญจนะ. ตำราคุณลักษณะว่านและวิธีดูแลว่าน. 2506, หน้า 406
อาจารย์ญาณโชติ. คัมภีร์ไสยศาสตร์ฉบับสมบูรณ์. ไม่ปรากฏปีที่พิมพ์, หน้า 1016,
หน้า 1018 เรียก ว่านแสงต้น (ซ้ำ)
ว่านเสือ
เสือ Kaempferia sp.
ลักษณะ หัวว่านชนิดนี้เหมือนเศียรพระยานาคราช หัวใหญ่เท่ากำมือ สีเขียว ดอกมีเกล็ดเหมือนเกล็ดปลากะโห้ ดอกนั้นเปลี่ยนสีได้สามสีในหนึ่งวัน ใบเป็นแว่น ลายเส้นสีเขียวเหมือนกับเขียนไว้ หัว ก้าน ใบ ดอก มีกลิ่นเหม็นสาบเหมือนสาบเสือ
สรรพคุณ ทางคงกระพัน และทางมหาอำนาจ ใช้หัวว่านกินมีกำลังดุจพระยาเสือโคร่ง มีอำนาจมากศัตรูย่อมพ่ายแพ้สิ้น และคงกระพันชาตรียิ่งนัก ว่านเสือนี้มีเดชานุภาพมาก เอาหัวว่านนี้ถือติดตัวไป ศัตรูทำร้ายมิได้เลย เป็นมหาอำนาจ จะทำการต่อสู้ศัตรูที่มารุมล้อมจำนวนมาก ก็พ่ายแพ้พินาศสิ้น
ถ้าอยากรู้ว่าว่านเสือแท้หรือไม่ ท่านให้เอาหัวว่านใส่ลงในไห แล้วเอาผ้าขาวคลุมปากไหไว้ 7 ชั้น แล้วเอาเนื้อสดผูกไว้บนผ้าขาวปากไห ถ้าว่านนี้ขึ้นมาติดอยู่กับเนื้อนั้นแล้ว ท่านว่าเป็นว่านเสือแท้ เมื่อเป็นที่แน่ใจว่าเป็นว่านเสือแท้ ให้ปลุกเสกด้วยคาถานี้ “พุทธิ พุทเธ ทิเตเชหิ ธัมธัมเมหิ สะเตเชหิ สุนทะรัง สวาหะฯ” ให้ปลุกเสก 108 คาบ ว่านเสือนี้จะมีอิทธิปาฏิหาร์มหัศจรรย์ สามารถคุ้มครองป้องกันอันตรายทั้งปวง อยู่คงกระพันชาตรีวิเศษนัก
หมายเหตุ ว่านชนิดนี้ เป็นเปราะชนิดหนึ่ง ที่มีกลิ่นดังสาบเสือ ภาพนี้ได้รับความอนุเคราะห์จาก
คุณณรงค์ศักดิ์ ค้านอธรรม จังหวัดกรุงเทพมหานคร
พบในตำราของ
ชิตร์ วัฒนะ. ลักษณะว่าน. 2473, หน้า 6
ประพัฒนสรรพกร, หลวง. ตำหรับกระบิลว่าน. 2475, หน้า 19-20
ล. มหาจันทร์. คู่มือนักเล่นว่าน. 2480, หน้า 35-36
ไพฑูรย์ ศรีเพ็ญ. ตำราสรรพคุณยาไทย. 2484, หน้า 88
ชัยมงคล อุดมทรัพย์. ตำราดูว่าน และพระเครื่อง-พระบรมธาตุ. 2503, หน้า 26-27
พยอม วิไลรัตน์. ตำรากบิลว่านและต้นไม้วิเศษนานาชนิด. 2504, หน้า 106
อุตะมะ สิริจิตโต. ตำราปลูกและดูลักษณะว่าน. 2505, หน้า 68
ชั้น หาวิธี. ตำราว่านวิเศษอันศักดิ์สิทธิ์. 2506, หน้า 55
เลื่อน กัณหะกาญจนะ. ตำราคุณลักษณะว่านและวิธีดูแลว่าน. 2506, หน้า 404-405
สวิง กวีสุทธิ์, ร.ต. ตำรากบิลว่าน. 2508, หน้า 40-41
อาจารย์ญาณโชติ. คัมภีร์ไสยศาสตร์ฉบับสมบูรณ์. ไม่ปรากฏปีที่พิมพ์, หน้า 1021-1022