งานเขึยน

หน้างสือ ว่าน สมุนไพร ไม้มงคลไทย

บ้านว่านไทย

narongsak

narongsak

Page 16 of 71« First...10...1415161718...304050...Last »

ว่านสามพันตึง ต้นที่ 1

สามพันตึง  มี 4 แบบ  

1. สามพันตึง  Diosorea  bulbifera  L.

ลักษณะ  ต้นเป็นเถาว์มีใบคล้ายเถาว์กลิ้งกลางดง  มีหัวเล็กๆ ออกตามข้อเถาว์  หัวเป็นปุ่มดังหัวกลิ้งกลางดง

สรรพคุณ  ทางสมุนไพร  ใช้ฝนควบกับว่านเพชรหึง  ใช้น้ำซาวข้าวเป็นกระสาย  ใช้กินและทาแก้โรคฝีกาฬและระงับพิษให้เย็นได้  จะใช้อาบด้วยก็ได้  เป็นยาแก้ร้อนใน  สำหรับรักษาโรคไข้ทรพิษ

หมายเหตุ  ว่านนี้มีหลายชื่อ  มันนก  มันขมิ้น  มันอีโม้  มันหลวง  มะนู  มะนำเป้า  น่าจะเป็นต้นเดียวกับ ว่านกลิ้งกลางดง

พบในตำราของ

ประพัฒนสรรพกร,  หลวง.  ตำหรับกระบิลว่าน.  2475,  หน้า  10

ล. มหาจันทร์.  คู่มือนักเล่นว่าน.  2480,  หน้า  65

ไพฑูรย์   ศรีเพ็ญ.  ตำราสรรพคุณยาไทย.  2484,  หน้า  89

ชัยมงคล   อุดมทรัพย์. ตำราดูว่าน และพระเครื่อง-พระบรมธาตุ.  2503,  หน้า  9  เรียก  ว่านสามพันตึง อีกชนิด

อุตะมะ   สิริจิตโต.  ตำราปลูกและดูลักษณะว่าน.  2505,  หน้า  60-61

เลื่อน   กัณหะกาญจนะ.  ตำราคุณลักษณะว่านและวิธีดูแลว่าน.  2506,  หน้า  385 เรียก ว่านสามพันตึง ชนิดที่ 1

สวิง   กวีสุทธิ์,  ร.ต.  ตำรากบิลว่าน.  2508,  หน้า  28-29

 

ว่านสบู่ส้ม

สบู่ส้ม   Begonia  integrifolia  Dalzell.

ลักษณะ ใบเหมือนใบบัวหลวง  ท้องใบแดง  หน้าใบสีชมพู  แถบสีเขียว  ก้านกลมสีชมพูเหมือนด้านหน้าของใบ  ก้านแตกขึ้นตามหัว  หัวเป็นไหลเลื้อยตามดิน  หัวและใบมีรสเปรี้ยว

สรรพคุณ  ทางคุ้มครอง  ทางคงกระพัน  และทางสมุนไพร  ปลูกไว้ในบ้านป้องกันอาถรรพ์  และเสนียดจัญไรทั้งปวง  ใช้หัวหรือใบกินอยู่คงกระพันชาตรี  และเป็นยาอายุวัฒนะปราศจากโรคพยาธิ

พบในตำราของ

พยอม   วิไลรัตน์.  ตำรากบิลว่านและต้นไม้วิเศษนานาชนิด.  2504,  หน้า  31

ชั้น   หาวิธี.  ตำราว่านวิเศษอันศักดิ์สิทธิ์.  2506,  หน้า  27

เลื่อน   กัณหะกาญจนะ.  ตำราคุณลักษณะว่านและวิธีดูแลว่าน.  2506,  หน้า  379

สมาน   คัมภีร์  และ  ทัศนา   ทัศนมิตร.  กบิลว่าน 108.  2516,  หน้า  72

อาจารย์ญาณโชติ.  คัมภีร์ไสยศาสตร์ฉบับสมบูรณ์.  ไม่ปรากฏปีที่พิมพ์,  หน้า  1026

ว่านสบู่เลือดตัวเมีย

2. สบู่เลือดตัวเมีย  Stephania  venosa  [Blume.]

ลักษณะ  ต้นขึ้นเป็นเถาว์  ใบคล้ายใบตำลึงแต่สั้นกว่า  หลังใบไม่มีเลือดสีแดง  เมื่อเด็ดก้านขาดจะมียางสีส้มอ่อนๆ  หัวกลมเหมือนหัวบัวบก

สรรพคุณ  ทางสมุนไพร  ใช้หัวกิน  หรือดองกับสุรา  เป็นยาบำรุงกำลัง  บำรุงโลหิต

ทางคงกระพัน  กินหัวทำให้อยู่คงกระพันชาตรี

หมายเหตุ  ว่านชนิดนี้บางต้นก็มียางใสๆ  เรียกว่า  บรเพ็ดพุงช้าง  หัวสันโดษ  ว่านกระท่อมเลือด

พบในตำราของ

ประพัฒนสรรพกร,  หลวง.  ตำหรับกระบิลว่าน.  2475,  หน้า  43  เรียก  ว่านกระท่อมเลือด อย่างขาว

ไพฑูรย์   ศรีเพ็ญ.  ตำราสรรพคุณยาไทย.  2484,  หน้า  89   เรียก  ว่านสลักไก่ 

ชัยมงคล อุดมทรัพย์. ตำราดูว่านและพระเครื่อง-พระบรมธาตุ. 2503, หน้า 40-41 เรียกว่านกระท่อมเลือด อีกชนิด

พยอม   วิไลรัตน์.  ตำรากบิลว่านและต้นไม้วิเศษนานาชนิด.  2504,  หน้า  109   เรียก  ว่านบรเพ็ดพุงช้าง,

 หน้า  125  เรียก  เรียก  ว่านกระท่อมเลือด  ยางขาว

อุตะมะ   สิริจิตโต.  ตำราปลูกและดูลักษณะว่าน.  2505,  หน้า  9-10  เรียก  ว่านสบู่เลือด  ชนิดเถา,

หน้า  103-104  เรียก  ว่านกะท่อมเลือด  ชนิดขาว

ชั้น   หาวิธี.  ตำราว่านวิเศษอันศักดิ์สิทธิ์.  2506,  หน้า  26   เรียก  ว่านสบู่เลือดตัวเมีย

เลื่อน   กัณหะกาญจนะ.  ตำราคุณลักษณะว่านและวิธีดูแลว่าน.  2506,  หน้า  64-65

เรียก ว่านกระท่อมเลือด  ชนิดขาว,  หน้า  200-201  เรียก ว่านบรเพ็ดพุงช้าง,

หน้า 377  เรียก  ว่านสบู่เลือด  ชนิดตัวเมีย

สวิง   กวีสุทธิ์,  ร.ต.  ตำรากบิลว่าน.  2508,  หน้า  25  เรียก  ว่านสบู่เลือด  ชนิดขาว

อาจารย์ญาณโชติ.  คัมภีร์ไสยศาสตร์ฉบับสมบูรณ์.  ไม่ปรากฏปีที่พิมพ์,  หน้า  939

เรียก   ว่านกระท่อมเลือด  ชนิดยางแดง,  หน้า   978   เรียก  ว่านบรเพ็ดพุงช้าง,

หน้า  1023   เรียก  ว่านสบู่เลือดเถาว์ตัวเมีย

ว่านสบู่เลือดเถา ต้นที่ 1

สบู่เลือดเถา  มี 2 แบบ

1. สบู่เลือดตัวผู้  Stephania  venosa  [Blume.]

ลักษณะ  ต้นเป็นเถาว์  ใบคล้ายใบตำลึง  แต่สั้นกว่า  หลังใบมีเส้นสีแดงเหมือนเลือด  หัว  เถาว์  ก้าน  ใบ  เมื่อเด็ดออกจะมียางสีแดงเหมือนเลือดไหลออกมา  หัวยาวเหมือนว่านเสน่ห์จันทน์ หรือหัวมันสำปะหลัง

สรรพคุณ  ทางคงกระพัน  ใช้ในทางอยู่คงกระพันชาตรีวิเศษนัก  เอายางมาสักตามร่างกาย  หรือกินหัวทำให้อยู่คงกระพันชาตรี

ทางสมุนไพร  ใบ  หัว  กินมีรสขมชุ่มคอเหมือนดอกสะเดา  ไม่คันคอรสอร่อยซ่าๆ  ยังเป็นยาบำรุงโลหิตดีนัก  เอาหัว  เถาว์  ใบ  ดองกับสุรา  เป็นยาบำรุงกำลังและโลหิตพิการด้วย  เอาหัว  ใบ  เถาว์  อย่างใดอย่างหนึ่งบดเป็นผง

หมายเหตุ    ว่านชนิดนี้เรียกว่า   ว่านเลือด  ว่านกระท่อมเลือด   แต่ถ้าหัวกลมจะเป็น   ว่านหมูกลิ้ง

พบในตำราของ

ประพัฒนสรรพกร,  หลวง.  ตำหรับกระบิลว่าน.  2475,  หน้า  42-43  เรียก  ว่านกระท่อมเลือด อย่างแดง

ชัยมงคล   อุดมทรัพย์. ตำราดูว่าน และพระเครื่อง-พระบรมธาตุ.  2503,  หน้า  40  เรียก  ว่านกระท่อมเลือด

พยอม   วิไลรัตน์.  ตำรากบิลว่านและต้นไม้วิเศษนานาชนิด.  2504,  หน้า  27-28  เรียก  ว่านสบู่เลือดเถาว์,

หน้า  125  เรียก  เรียก  ว่านกระท่อมเลือด  ยางแดง

อุตะมะ   สิริจิตโต.  ตำราปลูกและดูลักษณะว่าน.  2505,  หน้า  9-10  เรียก  ว่านสบู่เลือด  ชนิดเถา,

หน้า  103-104  เรียก  ว่านกะท่อมเลือด  ชนิดแดง

ชั้น   หาวิธี. ตำราว่านวิเศษอันศักดิ์สิทธิ์. 2506, หน้า 26 เรียก ว่านสบู่เลือดตัวผู้, หน้า 60 เรียก ว่านกระท่อมเลือด

เลื่อน   กัณหะกาญจนะ.  ตำราคุณลักษณะว่านและวิธีดูแลว่าน.  2506,  หน้า  64-65

เรียก ว่านกระท่อมเลือด  ชนิดแดง,  หน้า   377-378  เรียก  ว่านสบู่เลือด  ชนิดตัวผู้

สวิง   กวีสุทธิ์,  ร.ต.  ตำรากบิลว่าน.  2508,  หน้า  25  เรียก  ว่านสบู่เลือด  ชนิดแดง

อาจารย์ญาณโชติ.  คัมภีร์ไสยศาสตร์ฉบับสมบูรณ์.  ไม่ปรากฏปีที่พิมพ์,  หน้า  939

เรียก   ว่านกระท่อมเลือด  ชนิดยางแดง,  หน้า  1022-1023   เรียก  ว่านสบู่เลือดเถาว์ตัวผู้

Page 16 of 71« First...10...1415161718...304050...Last »

วงศ์ของว่าน :