ว่านสบู่หนังแห้ง
สบู่หนังแห้ง Curcuma sp.
ลักษณะ หัวและต้นคล้ายขมิ้นอ้อย เนื้อในหัวสีขาว กลิ่นฉุน ร้อนจัด เมื่อขุดหัวว่านนี้ขึ้นมาจากดิน ล้างให้สะอาดเก็บไว้ไม่กี่วัน เปลือกหุ้มห่อหัวว่าน จะเหี่ยวย่นคล้ายกับหนังสัตว์ตากแห้ง
สรรพคุณ ทางคงกระพัน ใช้หัวกินอยู่ยงคงกระพันชั่วเบา
หมายเหตุ ว่านชนิดนี้ น่าจะเป็นชนิดเดียวกับ ว่านหนังแห้ง ภาพที่สองนี้ได้รับความอนุเคราะห์จาก คุณณรงค์ศักดิ์ ค้านอธรรม จังหวัดกรุงเทพมหานคร
พบในตำราของ
ประพัฒนสรรพกร, หลวง. ตำหรับกระบิลว่าน. 2475, หน้า 7
ชัยมงคล อุดมทรัพย์. ตำราดูว่าน และพระเครื่อง-พระบรมธาตุ. 2503, หน้า 15
พยอม วิไลรัตน์. ตำรากบิลว่านและต้นไม้วิเศษนานาชนิด. 2504, หน้า 31
อุตะมะ สิริจิตโต. ตำราปลูกและดูลักษณะว่าน. 2505, หน้า 10
เลื่อน กัณหะกาญจนะ. ตำราคุณลักษณะว่านและวิธีดูแลว่าน. 2506, หน้า 369
สวิง กวีสุทธิ์, ร.ต. ตำรากบิลว่าน. 2508, หน้า 23-24
อาจารย์ญาณโชติ. คัมภีร์ไสยศาสตร์ฉบับสมบูรณ์. ไม่ปรากฏปีที่พิมพ์, หน้า 1025
ว่านสบู่ทอง
สบู่ทอง Crinum latifolium Linn.
ลักษณะ หัว ต้น ใบ เหมือนสบู่หยวก ใบเหมือนพลับพลึง หัวเหมือนหอมหัวใหญ่ ที่คอหัวเป็นสีทอง
สรรพคุณ ทางสมุนไพร และทางคงกระพัน ใช้หัวกินกับสุรา หรือหั่นหัวออกเป็นแว่นดองสุรากิน แก้เลือดทำพิษเกี่ยบกับสตรีคลอดบุตร แก้ปวดมดลูก แก้สตรีมีประจำเดือนไม่ปกติ หรือระดูหมด แก้ปวดท้อง เอาหัวว่านถือติดตัวหรือกิน อยู่คงกระพันชาตรี
หมายเหตุ ว่านชนิดนี้ น่าจะเป็นชนิดเดียวกับ ว่านแร้งคอคำ ว่านแสงเงิน
พบในตำราของ
ประพัฒนสรรพกร, หลวง. ตำหรับกระบิลว่าน. 2475, หน้า 7
พยอม วิไลรัตน์. ตำรากบิลว่านและต้นไม้วิเศษนานาชนิด. 2504, หน้า 29-30
อุตะมะ สิริจิตโต. ตำราปลูกและดูลักษณะว่าน. 2505, หน้า 10
ชั้น หาวิธี. ตำราว่านวิเศษอันศักดิ์สิทธิ์. 2506, หน้า 28
เลื่อน กัณหะกาญจนะ. ตำราคุณลักษณะว่านและวิธีดูแลว่าน. 2506, หน้า 368
สวิง กวีสุทธิ์, ร.ต. ตำรากบิลว่าน. 2508, หน้า 22
อาจารย์ญาณโชติ. คัมภีร์ไสยศาสตร์ฉบับสมบูรณ์. ไม่ปรากฏปีที่พิมพ์, หน้า 1024
ว่านสบู่ทบ
สบู่ทบ Curcuma sp.
ลักษณะ ต้นและใบเหมือนขมิ้น หัวเหมือนหัวขิง ผ่าหัวออกเนื้อในสีแดง เอาเล็บหยิกหัวว่านดึงออกมาจะเป็นสายใย แล้วปล่อย เส้นใยจะดึงกลับที่เดิม
สรรพคุณ ทางคงกระพัน ใช้หัวว่านกิน อยู่คงกระพันชาตรีวิเศษนัก พวกชาวป่า ชาวเขา พวกชาวกระเหรี่ยง ข่า เขมร ลาว นับถือความศักดิ์สิทธิ์ว่านสบู่ทบมาก
เมื่อออกเดินทางเข้าป่า จะต้องนำว่านสบู่ทบถือติดตัวไปด้วย ครั้นถึงคราวจำเป็นหรือคับขันจึงเอาหัวว่านนี้มากิน เพื่อป้องกันเขี้ยวงาศาสตราวุธทั้งปวง
หมายเหตุ ว่านนี้บางตำราจัดเป็น ว่านสบู่เลือด ชนิดหนึ่งเหมือนกัน ว่านนี้ น่าจะเป็นต้นเดียวกับ ว่านท้าวชมพู หรือ ว่านพระจันทร์
พบในตำราของ
ประพัฒนสรรพกร, หลวง. ตำหรับกระบิลว่าน. 2475, หน้า 8 เรียก ว่านสบู่เลือด
ชัยมงคล อุดมทรัพย์. ตำราดูว่าน และพระเครื่อง-พระบรมธาตุ. 2503, หน้า 6-7 เรียก ว่านสบู่เลือด
พยอม วิไลรัตน์. ตำรากบิลว่านและต้นไม้วิเศษนานาชนิด. 2504, หน้า 30
อุตะมะ สิริจิตโต. ตำราปลูกและดูลักษณะว่าน. 2505, หน้า 11
ชั้น หาวิธี. ตำราว่านวิเศษอันศักดิ์สิทธิ์. 2506, หน้า 27
เลื่อน กัณหะกาญจนะ. ตำราคุณลักษณะว่านและวิธีดูแลว่าน. 2506, หน้า 367
สวิง กวีสุทธิ์, ร.ต. ตำรากบิลว่าน. 2508, หน้า 23
อาจารย์ญาณโชติ. คัมภีร์ไสยศาสตร์ฉบับสมบูรณ์. ไม่ปรากฏปีที่พิมพ์, หน้า 1025
ว่านสลักไกร
สลักไกร Crinum latifolium Linn.
ลักษณะ ต้น ใบ คล้ายว่านแร้งคอคำ แต่หัวเล็กกว่ามาก ใบคล้ายใบเตยหอม
สรรพคุณ ทางสมุนไพร และทางเมตตามหานิยม ใช้กิน ทา และพอก แก้อสรพิษทุกชนิด คงกระพันชาตรีด้วย ปลูกไว้กับบ้านหรือนำติดตัว เป็นเมตตามหานิยม
หมายเหตุ ว่านนี้มีหลายชื่อ ว่านสลักไก่ ว่านสลักไก
พบในตำราของ
พยอม วิไลรัตน์. ตำรากบิลว่านและต้นไม้วิเศษนานาชนิด. 2504, หน้า 114-115 เรียก ว่านสลักไก
ชั้น หาวิธี. ตำราว่านวิเศษอันศักดิ์สิทธิ์. 2506, หน้า 53
เลื่อน กัณหะกาญจนะ. ตำราคุณลักษณะว่านและวิธีดูแลว่าน. 2506, หน้า 366
อาจารย์ญาณโชติ. คัมภีร์ไสยศาสตร์ฉบับสมบูรณ์. ไม่ปรากฏปีที่พิมพ์, หน้า 1019