ว่านเมฆสิทธิ์
3. เมฆสิทธิ์ Curcuma sp.
ลักษณะ คล้ายขมิ้นแต่หัวเล็กกว่า เนื้อในเหมือนมหาเมฆ แต่เข้มกว่า
สรรพคุณ ทางสมุนไพร เป็นยาชักมดลูกเข้าอู่เร็ว ใช้หัวหั่นเป็นแว่นดองกับสุรา ให้หญิงคลอดบุตรใหม่ๆ กิน เป็นยาช่วยรักษามดลูกให้ยุบตัวเข้าอู่เป็นปกติดี หรือเอาหัวว่านนี้ ฝนกับน้ำสุกหรือน้ำสุรากิน แก้ท้องแน่นจุกเสียด หรือท้องร่วงหายดีนัก
ทางคงกระพัน คุ้มครอง ถ้าจะทำให้ว่านมหาเมฆนี้มีอิทธิปาฏิหาริย์ ให้เอาหัวว่านนี้เสกด้วย “อิติปิโสธงชัยฯ” 3 คาบ เมื่อเวลาเมฆเคลื่อนเข้าจับแสงอาทิตย์จนมืดมิด แล้วเอาว่านที่เสกนี้กินจะมีกำลังมาก และคงทนต่อศาสตราวุธทั้งปวง เป็นจังงังด้วย ถ้าจะหายตัวให้เอาว่านนี้ทาตัว เดินไปคนมองไม่เห็นตัว
หมายเหตุ ว่านนี้มีอีกชื่อ คือ ว่านเมฆประสิทธิ์ ภาพนี้ได้รับความอนุเคราะห์จาก คุณณรงค์ศักดิ์ ค้านอธรรม จังหวัดกรุงเทพมหานคร
พบในตำราของ
พยอม วิไลรัตน์. ตำรากบิลว่านและต้นไม้วิเศษนานาชนิด. 2504, หน้า 35
มหาเมฆ
2. มหาเมฆ Curcuma aeruginosa Roxb.
ลักษณะ ต้นและกระดูกใบแดงจนถึงปลายยอด ดอกเป็นพวงดุจดอกระกำ หัวเหมือนหัวขมิ้น หัวเมื่อผ่าออกเนื้อในสีม่วงแกมฟ้า หรือสีม่วงกับสีฟ้าจะเป็นสีอ่อนๆ ถ้าปลูกทิ้งไว้ในดินหลายๆ ปี จะกลายจากสีม่วงเป็นสีเหลืองไปได้
สรรพคุณ ทางสมุนไพร เป็นยาชักมดลูกเข้าอู่เร็ว ใช้หัวหั่นเป็นแว่นดองกับสุรา ให้หญิงคลอดบุตรใหม่ๆ กิน เป็นยาช่วยรักษามดลูกให้ยุบตัวเข้าอู่เป็นปกติดี หรือเอาหัวว่านนี้ ฝนกับน้ำสุกหรือน้ำสุรากิน แก้ท้องแน่นจุกเสียด หรือท้องร่วงหายดีนัก
ทางคงกระพัน คุ้มครอง ถ้าจะทำให้ว่านมหาเมฆนี้มีอิทธิปาฏิหาริย์ ให้เอาหัวว่านนี้เสกด้วย “อิติปิโสธงชัยฯ” 3 คาบ เมื่อเวลาเมฆเคลื่อนเข้าจับแสงอาทิตย์จนมืดมิด แล้วเอาว่านที่เสกนี้กินจะมีกำลังมาก และคงทนต่อศาสตราวุธทั้งปวง เป็นจังงังด้วย ถ้าจะหายตัวให้เอาว่านนี้ทาตัว เดินไปคนมองไม่เห็นตัว
พบในตำราของ
ชิตร์ วัฒนะ. ลักษณะว่าน. 2473, หน้า 13
ประพัฒนสรรพกร, หลวง. ตำหรับกระบิลว่าน. 2475, หน้า 11-12
ล. มหาจันทร์. คู่มือนักเล่นว่าน. 2480, หน้า 51-52
ไพฑูรย์ ศรีเพ็ญ. ตำราสรรพคุณยาไทย. 2484, หน้า 86
ชัยมงคล อุดมทรัพย์. ตำราดูว่าน และพระเครื่อง-พระบรมธาตุ. 2503, หน้า 8
พยอม วิไลรัตน์. ตำรากบิลว่านและต้นไม้วิเศษนานาชนิด. 2504, หน้า 34-35
อุตะมะ สิริจิตโต. ตำราปลูกและดูลักษณะว่าน. 2505, หน้า 63
ชั้น หาวิธี. ตำราว่านวิเศษอันศักดิ์สิทธิ์. 2506, หน้า 30-31
เลื่อน กัณหะกาญจนะ. ตำราคุณลักษณะว่านและวิธีดูแลว่าน. 2506, หน้า 313-314
สวิง กวีสุทธิ์, ร.ต. ตำรากบิลว่าน. 2508, หน้า 58-59
สมาน คัมภีร์ และ ทัศนา ทัศนมิตร. กบิลว่าน 108. 2516, หน้า 79
อาจารย์ญาณโชติ. คัมภีร์ไสยศาสตร์ฉบับสมบูรณ์. ไม่ปรากฏปีที่พิมพ์, หน้า 999-1000
ว่านเมฆ ต้นที่ 1
เมฆ มี 4 แบบ
1. เมฆ Curcuma sp.
ลักษณะ ต้นและหัวดุจดังว่านนางคำ ต้นและกลางใบแดง หัวเมื่อผ่าออกเนื้อในเป็นสีม่วง
สรรพคุณ ทางสมุนไพร เป็นยาแก้พิษงู ใช้หัวว่านนี้ฝนกับน้ำสุรากินและทาที่แผลถูกงูกัด แล้วเอากากพอกแผลอีกทีหนึ่ง ถอนพิษร้ายอสรพิษออก พิษงูนั้นจะค่อยจางหายไปโดยสิ้นเชิง
หมายเหตุ ว่านนี้ บางทีก็เรียก ว่านเมฆดำ ภาพนี้ได้รับความอนุเคราะห์จาก คุณณรงค์ศักดิ์ ค้านอธรรม จังหวัดกรุงเทพมหานคร
พบในตำราของ
ประพัฒนสรรพกร, หลวง. ตำหรับกระบิลว่าน. 2475, หน้า 30
ชัยมงคล อุดมทรัพย์. ตำราดูว่าน และพระเครื่อง-พระบรมธาตุ. 2503, หน้า 36
พยอม วิไลรัตน์. ตำรากบิลว่านและต้นไม้วิเศษนานาชนิด. 2504, หน้า 34
อุตะมะ สิริจิตโต. ตำราปลูกและดูลักษณะว่าน. 2505, หน้า 94
ชั้น หาวิธี. ตำราว่านวิเศษอันศักดิ์สิทธิ์. 2506, หน้า 31 เรียก ว่านมหาเมฆ อีกชนิด
เลื่อน กัณหะกาญจนะ. ตำราคุณลักษณะว่านและวิธีดูแลว่าน. 2506, หน้า 327
สวิง กวีสุทธิ์, ร.ต. ตำรากบิลว่าน. 2508, หน้า 59
อาจารย์ญาณโชติ. คัมภีร์ไสยศาสตร์ฉบับสมบูรณ์. ไม่ปรากฏปีที่พิมพ์, หน้า 999
ว่านหมูกลิ้ง
หมูกลิ้ง Stephania venosa [Blume.]
ลักษณะ หัวใหญ่มาก โดยมากไม่ค่อยพบใบ เพราะเมื่อว่านแก่แล้ว ใบแก่ก็ร่วงหมดเหลือแต่หัวผ่าหัวทิ้งไว้จะมีสีเลือดแดงๆ
สรรพคุณ ทางคงกระพัน ว่านชนิดนี้มีอานุภาพคงกระพันชาตรีเป็นยอด เมื่อผู้ใดได้รับประทานก็จะคงทนต่อคมหอกคมดาบ ยุงไม่มีโอกาสได้ตอมเลือดเราเลย แม้เราจะตกจากที่สูงลงมาก็จะไม่มีบาดแผลภายนอกเลย เวลากินเสกด้วย “พุทธังอุด ธัมมังอุด สังฆังอุด อำมะ อำมะ อึมอึฯ” 9 คาบ อีกตำราหนึ่ง เสกด้วย “นะโมพุทธายะฯ” 108 คาบ
หมายเหตุ มีเรื่องเล่าว่า มีนายพรานไปล่าหมูป่า โดยดักยิงอยู่บนที่สูง แล้วเอาหัวพืชชนิดหนึ่งที่ขึ้นเป็นกลุ่มอยู่ใกล้ๆ ที่ซุ่มยิง กลิ้งลงไปข้างล่างเพื่อล่อให้หมูป่ามากิน จนเมื่อหมูป่าหลงกลเข้ามากินหัวพืชที่ล่อไว้ นายพรานก็ยิงหมูป่านั้น แต่กลับยิงหมูป่านั้นไม่ระคายผิวเลย ซึ่งหัวพืชนั้นก็คือ ว่านสบู่เลือดตัวผู้ชนิดที่หัวกลม ตามชื่อในปัจจุบัน เพราะว่านสบู่เลือดตัวผู้จริงๆ ตามตำรานั้นหัวต้องยาวคล้ายหัวมันสำปะหลัง แต่ปัจจุบันจะเรียกรวมกันทั้งหัวยาวและหัวกลมเป็นว่านสบู่เลือดตัวผู้ แต่จริงๆ แล้วถ้าหัวกลมก็เป็นว่านหมูกลิ้งนั่นเอง และเป็นคนละต้นกับว่านสบู่เลือดตัวเมีย เพราะยางสีแดงเข้มดุจเลือด แต่ว่านสบู่เลือดตัวเมียยางจะเป็นสีส้มจางๆ นอกจากเรื่องเล่าดังกล่าวแล้ว ลักษณะหัวว่านดังกล่าวถ้าหัวที่ใหญ่ๆ จะคล้ายกับตัวหมูป่ามากจึงเป็นที่มาของชื่อว่านนี้
พบในตำราของ
ล. มหาจันทร์. คู่มือนักเล่นว่าน. 2480, หน้า 61
พยอม วิไลรัตน์. ตำรากบิลว่านและต้นไม้วิเศษนานาชนิด. 2504, หน้า 113
อุตะมะ สิริจิตโต. ตำราปลูกและดูลักษณะว่าน. 2505, หน้า 53-54
ชั้น หาวิธี. ตำราว่านวิเศษอันศักดิ์สิทธิ์. 2506, หน้า 32
เลื่อน กัณหะกาญจนะ. ตำราคุณลักษณะว่านและวิธีดูแลว่าน. 2506, หน้า 326
อาจารย์ญาณโชติ. คัมภีร์ไสยศาสตร์ฉบับสมบูรณ์. ไม่ปรากฏปีที่พิมพ์, หน้า 1007