ว่านมหาหงส์
มหาหงส์ Hedychium coronarium J.Konig
ลักษณะ ต้น ใบ หัว ดุจดังต้นข่า ดอกเริ่มออกเป็นสีขาว ครั้นดอกแก่แล้วสีจะแดง ดอกใหญ่มีกลิ่นหอมเย็น ทำให้คนได้กลิ่นชุ่มชื่นใจ
สรรพคุณ ทางเมตตามหานิยม ปลูกไว้กับบ้านเป็นศิริมงคล มีเสน่ห์เมตตามหานิยม
ทางสมุนไพร หัวใช้เป็นยารักษาโรค ให้เอาหัวมาหั่นเป็นชิ้นบางๆ ตากแดดให้แห้งและบดเป็นผง เคล้ากับน้ำผึ้งปั้นเป็นเม็ดกินแก้โรคกษัยไตพิการ บำรุงกำลัง ทำให้อายุยืน เป็นยาอายุวัฒนะ
หมายเหตุ ว่านนี้มีหลายชนิด เช่น ดอกขาว ดอกเหลือง ดอกแดง ดอกขาวกลางเหลือง ดอกขาวกลางแดง ดอกเหลืองกลางแดง เป็นต้น
พบในตำราของ
พยอม วิไลรัตน์. ตำรากบิลว่านและต้นไม้วิเศษนานาชนิด. 2504, หน้า 65
ชั้น หาวิธี. ตำราว่านวิเศษอันศักดิ์สิทธิ์. 2506, หน้า 45
เลื่อน กัณหะกาญจนะ. ตำราคุณลักษณะว่านและวิธีดูแลว่าน. 2506, หน้า 186 เรียก นางพญาหงส์ทอง (ซ้ำ), 317
สวิง กวีสุทธิ์, ร.ต. ตำรากบิลว่าน. 2508, หน้า 63
สมาน คัมภีร์ และ ทัศนา ทัศนมิตร. กบิลว่าน 108. 2516, หน้า 91
อาจารย์ญาณโชติ. คัมภีร์ไสยศาสตร์ฉบับสมบูรณ์. ไม่ปรากฏปีที่พิมพ์, หน้า 1003
ว่านมหาปราบ
มหาปราบ Curcuma rubescens.
ลักษณะ หัว ต้น ใบ คล้ายขมิ้น ก้านแดง กระดูกใบแดง ยอดแดง ท้องใบเป็นขนสีเหลืองดังทองธรรมชาติ หลังใบสีขาว
สรรพคุณ ทางคงกระพัน ว่านชนิดนี้มีอานุภาพมาก เมื่อจะขุดเอาหัวว่านมาใช้ทำประโยชน์ ให้เสกน้ำรดประพรมต้นว่าน และรดน้ำบริเวณรอบๆ ต้นว่าน ให้พลีกรรมด้วย เนื้อพล่า ปลายำ และหมาก 3 คำ ใส่กระทง 3 ใบ ตั้งจิตอธิษฐานตามปรารถนาแล้วจึงขุดเอาหัวว่านมาทำพิธีปลุกเสกด้วย “พระอิติปิโสธงชัยฯ” 108 คาบ ไว้ถือติดตัวป้องกันอาวุธทั้งปวง ถ้ากินหัวว่านนี้เข้าไปทำให้มีกำลังมาก และทำให้ตัวเนื้อหนังมึนชา คงทนต่อมีดพร้าหอกดาบแหลนหลาว นั่งนอนบนหนามตะปู ก็ไม่มีระคายผิวหนังและไม่เจ็บ คงกระพันชาตรีวิเศษนัก
พบในตำราของ
ชิตร์ วัฒนะ. ลักษณะว่าน. 2473, หน้า 16-17
ประพัฒนสรรพกร, หลวง. ตำหรับกระบิลว่าน. 2475, หน้า 14 เรียก ว่านมะหาปราบ
ล. มหาจันทร์. คู่มือนักเล่นว่าน. 2480, หน้า 49
ไพฑูรย์ ศรีเพ็ญ. ตำราสรรพคุณยาไทย. 2484, หน้า 86
พยอม วิไลรัตน์. ตำรากบิลว่านและต้นไม้วิเศษนานาชนิด. 2504, หน้า 60
อุตะมะ สิริจิตโต. ตำราปลูกและดูลักษณะว่าน. 2505, หน้า 64
ชั้น หาวิธี. ตำราว่านวิเศษอันศักดิ์สิทธิ์. 2506, หน้า 44-45
เลื่อน กัณหะกาญจนะ. ตำราคุณลักษณะว่านและวิธีดูแลว่าน. 2506, หน้า 311-312
สวิง กวีสุทธิ์, ร.ต. ตำรากบิลว่าน. 2508, หน้า 60
สมาน คัมภีร์ และ ทัศนา ทัศนมิตร. กบิลว่าน 108. 2516, หน้า 65
อาจารย์ญาณโชติ. คัมภีร์ไสยศาสตร์ฉบับสมบูรณ์. ไม่ปรากฏปีที่พิมพ์, หน้า 1006
ว่านมหาประสาน ต้นที่ 3
3. มหาประสาน Kaempferia rotunda L.
ลักษณะ ต้น หัว ใบ คล้ายขมิ้นทุกอย่าง แต่ใบค่อนข้างแคบ และสั้นกว่าขมิ้น ใบมีลายขาวๆ คล้ายว่านทิพยเนตร หัวดังหัวขมิ้นสีขาว
สรรพคุณ ทางสมุนไพร ใช้หัวตำเป็นยาประสานบาดแผลสด ห้ามเลือดได้ดีมาก
พบในตำราของ
ประพัฒนสรรพกร, หลวง. ตำหรับกระบิลว่าน. 2475, หน้า 43 เรียก ว่านมหาประสาร
เลื่อน กัณหะกาญจนะ. ตำราคุณลักษณะว่านและวิธีดูแลว่าน. 2506, หน้า 310
สวิง กวีสุทธิ์, ร.ต. ตำรากบิลว่าน. 2508, หน้า 54-55
สมาน คัมภีร์ และ ทัศนา ทัศนมิตร. กบิลว่าน 108. 2516, หน้า 103
ว่านมหาประสาน ต้นที่ 2
2. มหาประสาน Kaempferia angustifolia Roscoe.
ลักษณะ ต้นคล้ายเปราะหอม แต่ใบเล็กกว่าใบเปราะหอม ก้านใบแนบกับต้นประมาณหนึ่งคืบ ใบขยายออกเป็นชั้นๆ เหมือนกล้วยไม้
สรรพคุณ ทางสมุนไพร เป็นยาแก้เลือดออกตามไรฟัน เอาหัวว่านฝนกับสุรา แล้วอมกลั้วปากให้ทั่ว แก้ลักกะปิดลักกะเปิด
พบในตำราของ
ประพัฒนสรรพกร, หลวง. ตำหรับกระบิลว่าน. 2475, หน้า 43 เรียก ว่านมหาประสาร
ชัยมงคล อุดมทรัพย์. ตำราดูว่าน และพระเครื่อง-พระบรมธาตุ. 2503, หน้า 41 เรียก ว่านมหาประสาน อีกชนิด
พยอม วิไลรัตน์. ตำรากบิลว่านและต้นไม้วิเศษนานาชนิด. 2504, หน้า 62-63 เรียก ว่านมหาประสาร อีกชนิด
อุตะมะ สิริจิตโต. ตำราปลูกและดูลักษณะว่าน. 2505, หน้า 47-48
ชั้น หาวิธี. ตำราว่านวิเศษอันศักดิ์สิทธิ์. 2506, หน้า 37-38 เรียก ว่านมหาประสาน อีกชนิด
เลื่อน กัณหะกาญจนะ. ตำราคุณลักษณะว่านและวิธีดูแลว่าน. 2506, หน้า 309
สวิง กวีสุทธิ์, ร.ต. ตำรากบิลว่าน. 2508, หน้า 54-55
อาจารย์ญาณโชติ. คัมภีร์ไสยศาสตร์ฉบับสมบูรณ์. ไม่ปรากฏปีที่พิมพ์, หน้า 1004 เรียก ว่านมหาประสาร อีกชนิด