ว่านมหาประสาน ต้นที่ 1
มหาประสาน มี 3 แบบ
1. มหาประสาน Pedilanthus tithymaloides [Poit.]
ลักษณะ ต้น ใบ ดังหมากผู้หมากเมีย ก้านและใบสีเขียวมีลายสีขาว เนื้อในหัวเป็นสีขาว
สรรพคุณ ทางสมุนไพร เอาหัวฝนทาบาดแผล เนื้อจะประสานเข้าติดกันสนิทดี
ทางเมตตามหานิยม เป็นศิริมงคล ปลูกไว้ประดับบ้าน เมื่อรดน้ำเสกด้วยพระเจ้า 5 พระองค์ มีอานุภาพทางเมตตามหานิยม ทำให้ครอบครัวอยู่เย็นเป็นสุข มีความอบอุ่นประสานสามัคคีกลมเกลียวปรองดองกันดี
หมายเหตุ ว่านนี้มีหลายชื่อ คือ แสยกด่าง นางกวักไทย
พบในตำราของ
ประพัฒนสรรพกร, หลวง. ตำหรับกระบิลว่าน. 2475, หน้า 43 เรียก ว่านมหาประสาร
ชัยมงคล อุดมทรัพย์. ตำราดูว่าน และพระเครื่อง-พระบรมธาตุ. 2503, หน้า 41
พยอม วิไลรัตน์. ตำรากบิลว่านและต้นไม้วิเศษนานาชนิด. 2504, หน้า 62
อุตะมะ สิริจิตโต. ตำราปลูกและดูลักษณะว่าน. 2505, หน้า 47-48
ชั้น หาวิธี. ตำราว่านวิเศษอันศักดิ์สิทธิ์. 2506, หน้า 37
เลื่อน กัณหะกาญจนะ. ตำราคุณลักษณะว่านและวิธีดูแลว่าน. 2506, หน้า 309
สวิง กวีสุทธิ์, ร.ต. ตำรากบิลว่าน. 2508, หน้า 54-55
อาจารย์ญาณโชติ. คัมภีร์ไสยศาสตร์ฉบับสมบูรณ์. ไม่ปรากฏปีที่พิมพ์, หน้า 1003-1004 เรียก ว่านมหาสาร
ว่านมหานิล
มหานิล Amauroderma rude [Berk.] Pat.
ลักษณะ ต้น ใบ คล้ายผักแว่น แต่ใบใหญ่และแข็งกว่า หัวเหมือนหัวว่านเพชรน้อย แต่มีเนื้อข้างในเป็นสีดำดังสีนิล
สรรพคุณ ทางสมุนไพร ใช้เป็นยาแก้ไข้ และแก้ทรางในเด็กทุกชนิด เอาหัวว่านนี้ฝนกับน้ำซาวข้าวหรือน้ำดอกไม้ กินแก้ไข้และแก้ทรางเด็ก
ทางคงกระพัน เอาหัวว่านนี้มาปลุกเสกด้วยคาถาพระเจ้า 5 พระองค์ 108 คาบ คงทนต่อศาสตราวุธทั้งปวง เมื่อกินว่านนี้ทำให้อยู่คงทนชั่วเบา นำเอาหัวว่านนี้ถือติดกับตัวป้องกันศาสตราวุธทั้งปวง
หมายเหตุ ว่านชนิดนี้ น่าจะเป็น เห็ดจวักงู ซึ่งมีหลายชื่อ เห็ดนางกวัก เห็ดงูเห่า เห็ดแม่เบี้ยงูเห่า
พบในตำราของ
พยอม วิไลรัตน์. ตำรากบิลว่านและต้นไม้วิเศษนานาชนิด. 2504, หน้า 63
ชั้น หาวิธี. ตำราว่านวิเศษอันศักดิ์สิทธิ์. 2506, หน้า 34
เลื่อน กัณหะกาญจนะ. ตำราคุณลักษณะว่านและวิธีดูแลว่าน. 2506, หน้า 308
อาจารย์ญาณโชติ. คัมภีร์ไสยศาสตร์ฉบับสมบูรณ์. ไม่ปรากฏปีที่พิมพ์, หน้า 1004
ว่านมหานิยม
มหานิยม Kaempferia angustifolia Roscoe.
ลักษณะ ใบคล้ายใบพลับพลึง แต่ต้นเตี้ยแบอยู่กับดิน หัวกลมสีขาว ลักษณะต้นใบคล้ายว่านปราบสมุทรทุกประการ แต่ริมขอบใบมีสีขาว
สรรพคุณ ทางเมตตามหานิยม และทางคงกระพัน เอาหัวนำติดตัวไปด้วย ทำให้มีเสน่ห์เมตตามหานิยม และคงกระพันชาตรี
หมายเหตุ ว่านนี้มีหลายชื่อ คือ ว่านเปราะน้อย ว่านมหานิยมใหญ่
พบในตำราของ
อุตะมะ สิริจิตโต. ตำราปลูกและดูลักษณะว่าน. 2505, หน้า 119-120 เรียก ว่านเปราะน้อย
ชั้น หาวิธี. ตำราว่านวิเศษอันศักดิ์สิทธิ์. 2506, หน้า 19 เรียก ว่านเปราะน้อย, หน้า 68 (ซ้ำ)
เลื่อน กัณหะกาญจนะ. ตำราคุณลักษณะว่านและวิธีดูแลว่าน. 2506, หน้า 307
สมาน คัมภีร์ และ ทัศนา ทัศนมิตร. กบิลว่าน 108. 2516, หน้า 30 เรียก ว่านมหานิยมใหญ่
อาจารย์ญาณโชติ. คัมภีร์ไสยศาสตร์ฉบับสมบูรณ์. ไม่ปรากฏปีที่พิมพ์, หน้า 979 เรียก ว่านเปราะน้อย
ว่านมหากำลัง
มหากำลัง Curcuma comosa Roxb.
ลักษณะ หัว ต้น ใบ ดุจดั่งขมิ้นอ้อย แต่เนื้อในหัวเป็นสีขาว มีรสขมขื่นและฉุนจัด
สรรพคุณ ทางสมุนไพร เป็นยาบำรุงกำลัง ให้เอาหั่นเป็นแว่นตากแดดให้แห้งบดเป็นผง กินกับสุราหรือน้ำผึ้งบำรุงกำลัง หญิงคลอดบุตรใหม่ๆ กินเป็นยาชักมดลูก ทำให้มดลูกเข้าอู่เร็ว
หมายเหตุ ภาพนี้ได้รับความอนุเคราะห์จาก คุณณรงค์ศักดิ์ ค้านอธรรม จังหวัดกรุงเทพมหานคร
พบในตำราของ
พยอม วิไลรัตน์. ตำรากบิลว่านและต้นไม้วิเศษนานาชนิด. 2504, หน้า 62
ชั้น หาวิธี. ตำราว่านวิเศษอันศักดิ์สิทธิ์. 2506, หน้า 54
เลื่อน กัณหะกาญจนะ. ตำราคุณลักษณะว่านและวิธีดูแลว่าน. 2506, หน้า 306
อาจารย์ญาณโชติ. คัมภีร์ไสยศาสตร์ฉบับสมบูรณ์. ไม่ปรากฏปีที่พิมพ์, หน้า 1003