งานเขึยน

หน้างสือ ว่าน สมุนไพร ไม้มงคลไทย

บ้านว่านไทย

narongsak

narongsak

Page 35 of 71« First...102030...3334353637...405060...Last »

ว่านม่วง

ม่วง   Curcuma  sp.

ลักษณะ  ใบเขียว  ก้านเขียว  เนื้อในหัวเป็นสีม่วง

สรรพคุณ  ทางคงกระพัน  ใช้ในทางคงกระพันชาตรี

หมายเหตุ   ว่านชนิดนี้  น่าจะเป็นต้นเดียวกับ  ว่านคันธมาลาม่วง       ภาพที่สองนี้ได้รับความอนุเคราะห์จาก  คุณณรงค์ศักดิ์   ค้านอธรรม  จังหวัดกรุงเทพมหานคร

พบในตำราของ

ไพฑูรย์   ศรีเพ็ญ.  ตำราสรรพคุณยาไทย.  2484,  หน้า  86

เลื่อน   กัณหะกาญจนะ.  ตำราคุณลักษณะว่านและวิธีดูแลว่าน.  2506,  หน้า  300

ว่านมรกต

มรกต   Curcuma  aeruginosa  Roxb.

ลักษณะ  ต้น   ใบ  คล้ายขมิ้น  หัวสีเขียวอ่อนๆ

สรรพคุณ  ทางสมุนไพร  และทางคงกระพัน  เป็นยาแก้ปวดท้อง  ลงท้อง  จุกเสียดแน่น  แก้ธาตุพิการ  ให้เอาหัวว่านมาฝนกับน้ำสุราเป็นกระสายรับประทาน  เป็นว่านคงกระพันชาตรี   คงทนต่อศาสตราวุธทั้งหลาย

หมายเหตุ  ว่านนี้  บางตำรา  เรียก  ว่านเขียวมรกต  ว่านนี้น่าจะเป็นต้นเดียวกับ  ว่านนางคำ  เนื้อหัวเขียว

พบในตำราของ

ชั้น   หาวิธี.  ตำราว่านวิเศษอันศักดิ์สิทธิ์.  2506,  หน้า  45

เลื่อน   กัณหะกาญจนะ.  ตำราคุณลักษณะว่านและวิธีดูแลว่าน.  2506,  หน้า  299

สวิง   กวีสุทธิ์,  ร.ต.  ตำรากบิลว่าน.  2508,  หน้า  59   เรียก  ว่านเขียวมรกต

ว่านภาค

ภาค   Curcuma  sp.

ลักษณะ  ต้นและหัวเหมือนขมิ้น  ต้นเขียวกลางใบแดง  หัวเหมือนขมิ้น  เนื้อในมีสีเหลืองอ่อน

สรรพคุณ  ใช้แก้โรคบวม   หรือ   โรคติดต่ออื่นที่มีอาการบวมตามตัว   ให้เอาหัวมาตำให้ละเอียด

ใช้กินกับน้ำดอกมะลิ  หรือใช้ฝนทาก็ได้

หมายเหตุ  ว่านนี้บางทีก็เขียนว่า  ว่านพาก

พบในตำราของ

ประพัฒนสรรพกร,  หลวง.  ตำหรับกระบิลว่าน.  2475,  หน้า  34

อุตะมะ   สิริจิตโต.  ตำราปลูกและดูลักษณะว่าน.  2505,  หน้า  105

เลื่อน   กัณหะกาญจนะ.  ตำราคุณลักษณะว่านและวิธีดูแลว่าน.  2506,  หน้า  298

สวิง   กวีสุทธิ์,  ร.ต.  ตำรากบิลว่าน.  2508,  หน้า  40

ว่านฟ้าแลบ

ฟ้าแลบ   Curcuma  parviflora  Wall.

ลักษณะ  ต้น  ใบ  และหัว  เหมือนกับต้นขมิ้น   แต่ต้นและหัวเล็กกว่า  มีสีเหลืองปนสีแดงเข้ม  ใบเขียวเหมือนใบขมิ้น

สรรพคุณ  ทางคงกระพัน  และทางคุ้มครอง  ใช้ประโยชน์ทางคงกระพัน  กันฟ้าผ่าได้อีกด้วย  พกติดตัวกันฟ้าผ่าได้

หมายเหตุ  ว่านชนิดนี้  เป็นกระเจียวขาวธรรมดา  ชาวบ้านทางภาคเหนือ  เรียก  ดอกอาวขาว  ใช้เป็นผักลวกจิ้มน้ำพริก  ทางอีสาน  บางท้องที่  เรียก  ว่านฟ้าแลบ หรือ ว่านฟ้าร้อง  เพราะเมื่อเริ่มมีฟ้าแลบฟ้าร้อง(ต้นฤดูฝน)  ว่านชนิดนี้จะเริ่มออกดอกในช่วงนี้

พบในตำราของ

อุตะมะ   สิริจิตโต.  ตำราปลูกและดูลักษณะว่าน.  2505,  หน้า  125

Page 35 of 71« First...102030...3334353637...405060...Last »

วงศ์ของว่าน :