ว่านเพชรหึง ต้นที่ 3
3. เพชรหึง Curcuma comosa Roxb.
ลักษณะ ต้นและใบคล้ายขมิ้นอ้อย ต้นเขียวใบเขียว หลังใบเป็นขนคาย เนื้อในหัวสีขาว มีรสฉุนร้อน
สรรพคุณ ทางสมุนไพร กินแก้ลมอันบังเกิดให้จุกเสียดแน่น ทำให้หายได้ เพราะไปทำหน้าที่ขับผายลมออกมา
หมายเหตุ ว่านชนิดนี้ น่าจะเป็นชนิดเดียวกับ ว่านการบูรเลือด
พบในตำราของ
ประพัฒนสรรพกร, หลวง. ตำหรับกระบิลว่าน. 2475, หน้า 6-7
ชัยมงคล อุดมทรัพย์. ตำราดูว่าน และพระเครื่อง-พระบรมธาตุ. 2503, หน้า 12-13
อุตะมะ สิริจิตโต. ตำราปลูกและดูลักษณะว่าน. 2505, หน้า 23-25
เลื่อน กัณหะกาญจนะ. ตำราคุณลักษณะว่านและวิธีดูแลว่าน. 2506, หน้า 289
ว่านเพชรหึง ต้นที่ ๒
2. เพชรหึง Grammatophyllum speciosum Blume.
ลักษณะ เป็นกล้วยไม้ขนาดใหญ่ ลำต้นกลมยาวมีเกล็ดคล้ายเกล็ดงูออกมาเป็นข้อๆ เมื่อเวลาแตกออกมาสุดลำนั้นใบตอนล่างจะล่วงหมด เหลือแต่เพียงยอดเท่านั้น ลำต้นคล้ายต้นอ้อย มีดอกออกมาเป็นช่อแบบกล้วยไม้
สรรพคุณ ทางสมุนไพร ลำต้นหั่นเป็นแว่นบางๆ ล้างน้ำให้สะอาด ดองกับสุรากินเป็นยาขับลมในลำไส้ และบำรุงกำลัง เถาใช้ฝนกับน้ำซาวข้าวดับพิษฝีต่างๆ ได้ดี เอากากพอกปากแผลถอนพิษงูกัดได้ดี
หมายเหตุ ว่านนี้มีหลายชื่อ คือ ว่านงูเหลือม กะตะพะขะนาย
พบในตำราของ
ประพัฒนสรรพกร, หลวง. ตำหรับกระบิลว่าน. 2475, หน้า 6-7
ล. มหาจันทร์. คู่มือนักเล่นว่าน. 2480, หน้า 12-13
ชัยมงคล อุดมทรัพย์. ตำราดูว่าน และพระเครื่อง-พระบรมธาตุ. 2503, หน้า 12-13
อุตะมะ สิริจิตโต. ตำราปลูกและดูลักษณะว่าน. 2505, หน้า 23-25
เลื่อน กัณหะกาญจนะ. ตำราคุณลักษณะว่านและวิธีดูแลว่าน. 2506, หน้า 288-289
สวิง กวีสุทธิ์, ร.ต. ตำรากบิลว่าน. 2508, หน้า 8
ว่านเพชรหึง ต้นที่ ๑
เพชรหึง มี 3 แบบ
1. เพชรหึง Myrmecophila sinusa [Wall. Ex Hook.] Nakai ex H.Ito
ลักษณะ เป็นเฟิร์นชนิดหนึ่ง ลำต้นเป็นเถา ที่เถามีจุดแดงเป็นลายเหมือนลายตุ๊กแก อ่อนนิ่มเหมือนตัวงู ใบยาวสีเขียวคล้ายกับใบชุมมะเลียง ที่ใบมีจุดสีเหลืองแก่ ชอบเลื้อยขึ้นเกาะอยู่บนต้นไม้ในป่าสูงๆ
สรรพคุณ ทางเล่นแร่แปรธาตุ เป็นยาฆ่าปรอทตายเป็นกายสิทธิ์
ทางสมุนไพร เถามีรสร้อนขื่นเล็กน้อย กินแก้ท้องอืด ท้องขึ้นเฟ้อ แก้แน่น กับผายลม แก้ไข้จับสั่นเรื้อรังจนตับโตม้ามย้อย ทำให้เป็นไส้พองท้องใหญ่
หมายเหตุ ว่านชนิดนี้ เรียกกันหลายชื่อ คือ เฟิร์นตาลมังกร เฟิร์นมด
พบในตำราของ
ประพัฒนสรรพกร, หลวง. ตำหรับกระบิลว่าน. 2475, หน้า 6-7
ชัยมงคล อุดมทรัพย์. ตำราดูว่าน และพระเครื่อง-พระบรมธาตุ. 2503, หน้า 12-13
พยอม วิไลรัตน์. ตำรากบิลว่านและต้นไม้วิเศษนานาชนิด. 2504, หน้า 46
อุตะมะ สิริจิตโต. ตำราปลูกและดูลักษณะว่าน. 2505, หน้า 23-25
ชั้น หาวิธี. ตำราว่านวิเศษอันศักดิ์สิทธิ์. 2506, หน้า 25-26
เลื่อน กัณหะกาญจนะ. ตำราคุณลักษณะว่านและวิธีดูแลว่าน. 2506, หน้า 287-288
สวิง กวีสุทธิ์, ร.ต. ตำรากบิลว่าน. 2508, หน้า 8 เรียก ว่านเพชรหึง (เถา)
อาจารย์ญาณโชติ. คัมภีร์ไสยศาสตร์ฉบับสมบูรณ์. ไม่ปรากฏปีที่พิมพ์, หน้า 998
ว่านเพชรสังฆาต
เพชรสังฆาต Cissus quadrangularis L.
ลักษณะ ต้นเป็นเถาสามเหลี่ยมและสี่เหลี่ยม สีเขียว มีข้อเป็นเปราะๆ มีดอกเป็นช่อเล็กกลม เมื่ออ่อนสีเขียว เมื่อแก่สีแดง ใบคล้ายใบตำลึง ใบและดอกออกตามข้อ ชอบขึ้นเลื้อยพันอยู่กับต้นไม้
สรรพคุณ ทางสมุนไพร และทางเล่นแร่แปรธาตุ เป็นยาประสานกระดูก ต้มกินแก้กระดูกแตกหักซ้น กินแก้ริดสีดวงทวาร และใช้ผสมกับยาอื่นๆ รักษาโรคได้หลายชนิด ต้มกับน้ำตาลสีรำหรือน้ำตาลกรวด แก้ร้อนใน ถอนพิษไข้ต่างๆ แก้กระหายน้ำ และยังใช้เป็นยาฆ่าปรอทตายเป็นกายสิทธิ์อีกด้วย
หมายเหตุ ว่านนี้มีหลายชื่อ คือ ว่านสามร้อยข้อต่อ ว่านสังขะฆาตขัน แป๊ะฮวยหันขัดเช้า
พบในตำราของ
พยอม วิไลรัตน์. ตำรากบิลว่านและต้นไม้วิเศษนานาชนิด. 2504, หน้า 46-47
ชั้น หาวิธี. ตำราว่านวิเศษอันศักดิ์สิทธิ์. 2506, หน้า 25
เลื่อน กัณหะกาญจนะ. ตำราคุณลักษณะว่านและวิธีดูแลว่าน. 2506, หน้า 285-286
สมาน คัมภีร์ และ ทัศนา ทัศนมิตร. กบิลว่าน 108. 2516, หน้า 46
อาจารย์ญาณโชติ. คัมภีร์ไสยศาสตร์ฉบับสมบูรณ์. ไม่ปรากฏปีที่พิมพ์, หน้า 996