ว่านเพชรหลีก
เพชรหลีก Hyacinthus sp.
ลักษณะ หัวเหมือนกระเทียมแต่ใหญ่กว่า บางต้นถ้างามๆ ดี ก็โตเท่ากำปั้นเราทีเดียว ใบมีรูปร่างเหมือนกับใบกระเทียมก้านมีสีเขียว เหมือนก้านว่านน้ำ
สรรพคุณ ทางคงกระพันแคล้วคลาด มีคุณในทางแคล้วคลาด และอยู่คงดีนักตีฟันไม่มีแผลเลย หากกินเข้าไปแล้วสามารถคงหอกดาบ ถ้าทาตามตัวแล้วขลังดีนัก แต่ไม่นิยมปลูกไว้ในบ้านเพราะจะให้คลาดจากโชคลาภที่เข้ามา
หมายเหตุ ว่านนี้มีหลายชื่อ ถ้าหัวเล็ก (หัวกระเทียม) เรียก ว่านเพชรหลีก ถ้าหัวใหญ่ (หอมหัวใหญ่) เรียก ว่านเพชรตาเหลือก ว่านเพชรตาเลือด ว่านชนิดนี้ น่าจะเป็นชนิดเดียวกับ ว่านกีบแรด ชนิดหัวหอม
พบในตำราของ
ชิตร์ วัฒนะ. ลักษณะว่าน. 2473, หน้า 11 เรียก ว่านเพ็ชร์ตาเหลือก
ประพัฒนสรรพกร, หลวง. ตำหรับกระบิลว่าน. 2475, หน้า 5
ล. มหาจันทร์. คู่มือนักเล่นว่าน. 2480, หน้า 43-44 เรียก ว่านเพ็ชร์ตาเหลือก
ไพฑูรย์ ศรีเพ็ญ. ตำราสรรพคุณยาไทย. 2484, หน้า 85, หน้า 85 เรียก ว่านเพ็ชร์ตาเหลือก
ชัยมงคล อุดมทรัพย์. ตำราดูว่าน และพระเครื่อง-พระบรมธาตุ. 2503, หน้า 13
พยอม วิไลรัตน์. ตำรากบิลว่านและต้นไม้วิเศษนานาชนิด. 2504, หน้า 45, หน้า 45 เรียก ว่านเพ็ชร์ตาเหลือก
อุตะมะ สิริจิตโต. ตำราปลูกและดูลักษณะว่าน. 2505, หน้า 25-27
ชั้น หาวิธี. ตำราว่านวิเศษอันศักดิ์สิทธิ์. 2506, หน้า 23-24, หน้า 25 ว่านเพชรตาเหลือก
เลื่อน กัณหะกาญจนะ. ตำราคุณลักษณะว่านและวิธีดูแลว่าน. 2506, หน้า 274-275 เรียก ว่านเพชรตาเลือด,
หน้า 284
สวิง กวีสุทธิ์, ร.ต. ตำรากบิลว่าน. 2508, หน้า 6-7
สมาน คัมภีร์ และ ทัศนา ทัศนมิตร. กบิลว่าน 108. 2516, หน้า 85
อาจารย์ญาณโชติ. คัมภีร์ไสยศาสตร์ฉบับสมบูรณ์. ไม่ปรากฏปีที่พิมพ์, หน้า 996-997 เรียก ว่านเพ็ชตาเหลือก,
หน้า 997
ว่านเพชรไพรวัลย์
เพชรไพรวัลย์ Stahlianthus sp.
ลักษณะ ต้น ใบ หัว เหมือนว่านเพชรใหญ่ แต่ริมขอบใบมีขลิบสีขาว ดอกเหมือนดอกผกากรอง มีสีขาว หอมเหมือนดอกกระถิน
สรรพคุณ ทางคงกระพัน มีคุณในทางอยู่ยงคงกระพัน โดยนำหัวติดตัวไป ถ้ากินอยู่คงชั่วเบาเท่านั้น
หมายเหตุ ว่านนี้บางตำรา เขียนว่า ว่านเพชรไพรวัน ภาพนี้ได้รับความอนุเคราะห์จาก
คุณปิยะ รุ่งรืองเสาวภาคย์ จังหวัดกรุงเทพมหาคร
พบในตำราของ
ชั้น หาวิธี. ตำราว่านวิเศษอันศักดิ์สิทธิ์. 2506, หน้า 23-24, หน้า 11 เรียก ว่านเพชรไพรวัน
เลื่อน กัณหะกาญจนะ. ตำราคุณลักษณะว่านและวิธีดูแลว่าน. 2506, หน้า 281
ว่านเพชรน้อย ต้นที่ 4
4. เพชรน้อย Stahlianthus sp.
ลักษณะ ใบเหมือนใบพายอย่างเล็ก ก้านแดง
สรรพคุณ ทางคงกระพัน มีอานุภาพคงกระพันชาตรีชั่วเบา เขี้ยวงาทุกชนิดกัดแทงไม่เข้า ถ้าปลุกเสกให้ดีนำว่านนี้ติดตัวไปด้วยคงกระพันชาตรีต่ออาวุธทุกชนิด ให้เอาหัว ว่านเพชรน้อย ว่านกระชายดำ ว่านกระชายแดง ว่านไพลดำ บดเป็นผง ปั้นเป็นลูกกลอนเท่าเม็ดถั่วพู ทาน เช้าเย็น เป็นยาอายุวัฒนะ
หมายเหตุ ว่านชนิดนี้ บางตำรา เรียก ว่านเพชรเล็ก
พบในตำราของ
ประพัฒนสรรพกร, หลวง. ตำหรับกระบิลว่าน. 2475, หน้า 5
ไพฑูรย์ ศรีเพ็ญ. ตำราสรรพคุณยาไทย. 2484, หน้า 85 เรียก ว่านเพชรน้อย อีกชนิด
พยอม วิไลรัตน์. ตำรากบิลว่านและต้นไม้วิเศษนานาชนิด. 2504, หน้า 43-44 เรียก ว่านเพชรน้อยตัวผู้,
หน้า 283 เรียก ว่านเพชรเล็ก (ซ้ำ)
ชั้น หาวิธี. ตำราว่านวิเศษอันศักดิ์สิทธิ์. 2506, หน้า 23
อาจารย์ญาณโชติ. คัมภีร์ไสยศาสตร์ฉบับสมบูรณ์. ไม่ปรากฏปีที่พิมพ์, หน้า 997
ว่านเพชรน้อย ต้นที่ 3
3. เพชรน้อย Stahlianthus sp.
ลักษณะ หัวกลมเล็กเหมือนหัวแห้วหมู ออกหน่อขึ้นมาเหมือนกอข้าว ใบเหมือนใบข้าวแต่ป้อมสั้นกว่า กลางใบแดง
สรรพคุณ ทางคงกระพัน มีอานุภาพคงกระพันชาตรีชั่วเบา เขี้ยวงาทุกชนิดกัดแทงไม่เข้า ถ้าปลุกเสกให้ดีนำว่านนี้ติดตัวไปด้วยคงกระพันชาตรีต่ออาวุธทุกชนิด ให้เอาหัว ว่านเพชรน้อย ว่านกระชายดำ ว่านกระชายแดง ว่านไพลดำ บดเป็นผง ปั้นเป็นลูกกลอนเท่าเม็ดถั่วพู ทาน เช้าเย็น เป็นยาอายุวัฒนะ
พบในตำราของ
ชัยมงคล อุดมทรัพย์. ตำราดูว่าน และพระเครื่อง-พระบรมธาตุ. 2503, หน้า 18
อุตะมะ สิริจิตโต. ตำราปลูกและดูลักษณะว่าน. 2505, หน้า 28-29 เรียก ว่านเพชรน้อย อีกชนิด
เลื่อน กัณหะกาญจนะ. ตำราคุณลักษณะว่านและวิธีดูแลว่าน. 2506, หน้า 279