ว่านเพชรน้อย ต้นที่ 2
2. เพชรน้อย Stahlianthus sp.
ลักษณะ ต้นใบคล้ายขมิ้น แต่เล็กกว่ามาก สีเขียวล้วน หัวกลมเล็ก
สรรพคุณ ทางคงกระพัน มีอานุภาพคงกระพันชาตรีชั่วเบา เขี้ยวงาทุกชนิดกัดแทงไม่เข้า ถ้าปลุกเสกให้ดีนำว่านนี้ติดตัวไปด้วยคงกระพันชาตรีต่ออาวุธทุกชนิด ให้เอาหัว ว่านเพชรน้อย ว่านกระชายดำ ว่านกระชายแดง ว่านไพลดำ บดเป็นผง ปั้นเป็นลูกกลอนเท่าเม็ดถั่วพู ทาน เช้าเย็น เป็นยาอายุวัฒนะ ภาพนี้ได้รับความอนุเคราะห์จาก คุณดามษ์ เวบแมกโนเลียไทยแลนด์
พบในตำราของ
ชัยมงคล อุดมทรัพย์. ตำราดูว่าน และพระเครื่อง-พระบรมธาตุ. 2503, หน้า 13 เรียก ว่านเพชรน้อยบางชนิด
พยอม วิไลรัตน์. ตำรากบิลว่านและต้นไม้วิเศษนานาชนิด. 2504, หน้า 43-44 เรียก ว่านเพชรน้อยตัวเมีย
เลื่อน กัณหะกาญจนะ. ตำราคุณลักษณะว่านและวิธีดูแลว่าน. 2506, หน้า 280
สวิง กวีสุทธิ์, ร.ต. ตำรากบิลว่าน. 2508, หน้า 6
ว่านเพชรน้อย ต้นที่ 1
เพชรน้อย มี 4 แบบ
1. เพชรน้อย Stahlianthus sp.
ลักษณะ ต้นเหมือนขมิ้นแต่เล็กกว่ามาก เนื้อมีสีแดงเหมือนหัวข่า มีใบเหมือนขมิ้นหลังใบเขียว กลางใบและ ริมใบสีดำ
สรรพคุณ ทางคงกระพัน มีอานุภาพคงกระพันชาตรีชั่วเบา เขี้ยวงาทุกชนิดกัดแทงไม่เข้า ถ้าปลุกเสกให้ดีนำว่านนี้ติดตัวไปด้วยคงกระพันชาตรีต่ออาวุธทุกชนิด ให้เอาหัว ว่านเพชรน้อย ว่านกระชายดำ ว่านกระชายแดง ว่านไพลดำ บดเป็นผง ปั้นเป็นลูกกลอนเท่าเม็ดถั่วพู ทาน เช้าเย็น เป็นยาอายุวัฒนะ ภาพนี้ได้รับความอนุเคราะห์จาก คุณดามษ์ เวบแมกโนเลียไทยแลนด์
พบในตำราของ
ประพัฒนสรรพกร, หลวง. ตำหรับกระบิลว่าน. 2475, หน้า 4-5
ไพฑูรย์ ศรีเพ็ญ. ตำราสรรพคุณยาไทย. 2484, หน้า 85
อุตะมะ สิริจิตโต. ตำราปลูกและดูลักษณะว่าน. 2505, หน้า 28-29
เลื่อน กัณหะกาญจนะ. ตำราคุณลักษณะว่านและวิธีดูแลว่าน. 2506, หน้า 280 เรียก ว่านเพชรน้อย อีกชนิด
สวิง กวีสุทธิ์, ร.ต. ตำรากบิลว่าน. 2508, หน้า 6
ว่านเพชรหน้าทั่ง
เพชรหน้าทั่ง Gagnepainia thoreliana K.Schum.
ลักษณะ ต้นและใบคล้ายขมิ้น แต่ใบเล็กกว่าขมิ้นมาก ใบบางเป็นร่อง หัวท้ายตัด
สรรพคุณ ทางคงกระพัน ใช้เป็นว่านในทางคงกระพันชาตรี โดยเอาหัวว่านมากิน ก่อนกินเสกด้วย “นะโมพุทธายะฯ” 3 จบก่อน
หมายเหตุ ว่านนี้มีหลายชื่อ ถ้าหัวเล็ก เรียก ว่านเพชรหน้าท้อง ว่านเพชรหน้าห้อง ถ้าหัวใหญ่ เรียก ว่านค้อนหน้าทั่ง
พบในตำราของ
พยอม วิไลรัตน์. ตำรากบิลว่านและต้นไม้วิเศษนานาชนิด. 2504, หน้า 110-111 เรียก ว่านค้อนหน้าทั่ง
ชั้น หาวิธี. ตำราว่านวิเศษอันศักดิ์สิทธิ์. 2506, หน้า 24 เรียก ว่านเพชรหน้าท้อง,
หน้า 46 เรียก ว่านค้อนหน้าทั่ง (ซ้ำ)
เลื่อน กัณหะกาญจนะ. ตำราคุณลักษณะว่านและวิธีดูแลว่าน. 2506, หน้า 110 เรียก ว่านค้อนหน้าทั่ง
หน้า 278 เรียก ว่านเพชรหน้าท้อง (ซ้ำ)
สมาน คัมภีร์ และ ทัศนา ทัศนมิตร. กบิลว่าน 108. 2516, หน้า 44
อาจารย์ญาณโชติ. คัมภีร์ไสยศาสตร์ฉบับสมบูรณ์. ไม่ปรากฏปีที่พิมพ์, หน้า 956 เรียก ว่านค้อนหน้าทั่ง
ว่านเพชรนารายณ์
เพชรนารายณ์ Dracaena thalioides hort. Makoy ex E.Morren
ลักษณะ ต้นและใบสีเขียว สัญฐานของใบเหมือนใบหอกที่ใช้เป็นอาวุธ ดอกสีแดงเหมือนดอกหงอนไก่ ออกดอกในเดือน 12 จึงมีฝักสีขาว
สรรพคุณ ทางคุ้มครอง ทางเมตตามหานิยม และทางคงกระพัน มีอานุภาพอภินิหารความศักดิ์สิทธิ์มหัศจรรย์สุดที่จะพรรณนา นำหัวว่านติดตัวไปด้วย เข้ายุทธสงครามทำให้ข้าศึกครั่นคร้ามเกรงขาม มีชัยชนะ ข้าศึกเป็นจังงัง ยอมอ่อนน้อมโดยสิ้นเชิง กำบังกาย คงทนต่ออาวุธทั้งปวง และเป็นเสน่ห์เมตตามหานิยมวิเศษนัก
เมื่อจะเอาหัวว่านเพชรนารายณ์ไปใช้ เวลาจะขุดว่านนี้ให้ดูฤกษ์ยามวันที่ดี จึงแต่งเครื่องบูชาเทพเจ้า มีข้าวตอกดอกไม้ ธูปเทียน ระลึกถึงพระรัตนตรัย และพระเจ้าห้าพระองค์ จุดธูป 5 ดอก เทียน 5 เล่ม ทำน้ำมนต์เสกด้วย “นะโมพุทธายะฯ” รดรอบๆ ต้นว่าน แล้วจึงขุดเอาหัวว่านผึ่งแดดไว้ในที่สูง ครั้นถึงเดือนดับจึงแต่งเครื่องสักการะบูชา แล้วจึงเอาหัวว่านนี้มาแกะเป็นรูปพระนารายณ์สี่กร มือขวาถือดอกบัว มือซ้ายถือสังข์ มือขวาข้างบนถือจักร มือซ้ายข้างล่างถือพระขรรค เสกด้วยคาถา “อะมะมะชัยยัง อัปปะราชัยยัง อะระหัง มหาเพชศัตรู ยังสัพพะภัยอาหะฯ” เสกให้ได้ 108 คาบ เวลาเสกให้หันหน้าไปสู่ทิศบูรพา แล้วเอาธาตุพระอรหันต์ กับรูปพระนารายณ์ใส่ไว้ในตลับทอง บูชาไว้กับบ้านคุ้มครองป้องกันภัยอันตรายต่างๆ และเป็นศิริมงคลบันดาลให้เกิดโชคลาภเข้ามามิได้ขาด จะปรารถนาสิ่งใดให้จุดธูปเทียนบูชาอธิษฐานเอาตามความตั้งใจ จะบังเกิดความสัมฤทธิ์ผลทุกสิ่งอัน ถ้านำติดตัวไปด้วยเป็นเสน่ห์เมตตามหานิยม เข้าสู่การรณรงค์สงครามมหาพิชัยยุทธ อาวุธทั้งปวงมิได้แผ้วพาล สามารถล่องหนหายตัว ชนะแก่ข้าศึกศัตรูนั้นแล
หมายเหตุ ว่านนี้มีหลายชื่อ คือ ว่านนารายณ์ (คนละต้นกับ ว่านพระนารายณ์ ที่เป็นตระกูลขมิ้น)
พบในตำราของ
ประพัฒนสรรพกร, หลวง. ตำหรับกระบิลว่าน. 2475, หน้า 5-6
ไพฑูรย์ ศรีเพ็ญ. ตำราสรรพคุณยาไทย. 2484, หน้า 85
ชัยมงคล อุดมทรัพย์. ตำราดูว่าน และพระเครื่อง-พระบรมธาตุ. 2503, หน้า 13-14 เรียก ว่านนารายณ์
พยอม วิไลรัตน์. ตำรากบิลว่านและต้นไม้วิเศษนานาชนิด. 2504, หน้า 49-50
อุตะมะ สิริจิตโต. ตำราปลูกและดูลักษณะว่าน. 2505, หน้า 28-29
ชั้น หาวิธี. ตำราว่านวิเศษอันศักดิ์สิทธิ์. 2506, หน้า 24
เลื่อน กัณหะกาญจนะ. ตำราคุณลักษณะว่านและวิธีดูแลว่าน. 2506, หน้า 276-277
สวิง กวีสุทธิ์, ร.ต. ตำรากบิลว่าน. 2508, หน้า 7-8
อาจารย์ญาณโชติ. คัมภีร์ไสยศาสตร์ฉบับสมบูรณ์. ไม่ปรากฏปีที่พิมพ์, หน้า 995-996 เรียก ว่านเพ็ชนารายณ์