ว่านพระยามือลาย
พระยามือลาย Dieffenbachia picta [Giantea.]
ลักษณะ ต้นขึ้นชลูดเป็นลำกลม ลำต้นเป็นข้อๆ สีเขียวสูงประมาณ 2 ฟุต ก้านสีเขียวมีลายกระสีขาว พื้นใบสีเขียว ใบคล้ายใบสาวน้อยประแป้ง แต่แคบกว่า มีรากเหง้า ตัดต้นตามข้อปลูกขยายพันธุ์ก็ได้ ว่านนี้ยางคันมาก
สรรพคุณ ทางคงกระพัน ใช้กินอยู่คง แต่ว่านนี้คันมาก
หมายเหตุ ว่านนี้นิยมเรียกอีกชื่อว่า ว่านช้างกระ ไม้ชนิดนี้พบมากในประเทศสิงคโปร์ นำเข้ามาปลูกในประเทศไทย (อ้างใน บ้านและสวน. สารานุกรมไม้ประดับในประเทศไทย เล่ม 2. กรุงเทพ:บ้านและสวน, 2525. หน้า 385)
พบในตำราของ
สวิง กวีสุทธิ์, ร.ต. ตำรากบิลว่าน. 2508, หน้า 19-20
ว่านพระยาหมี
พระยาหมี Goodyera sp.
ลักษณะ ต้นเหมือนไม้หมาก ใบเหมือนใบข้าวตอก ดอกเหมือนรวงข้าวเหนียว ลูกเหมือนมันเทศ ครั้นถึงวันดับ จะร้องเสียงดังเหมือนหมี
สรรพคุณ ทางเล่นแร่แปรธาตุ ใช้เป็นยาฆ่าปรอทเป็นกายสิทธิ์
หมายเหตุ ว่านนี้ น่าจะเป็นกล้วยไม้ดินชนิดหนึ่ง ลักษณะคล้าย ว่านพระยาอังกุลี แต่ใหญ่กว่า สีเขียวทั้งต้น บางท่าน ก็เรียกว่า ว่านศักดิ์ชัย
พบในตำราของ
พยอม วิไลรัตน์. ตำรากบิลว่านและต้นไม้วิเศษนานาชนิด. 2504, หน้า 77
เลื่อน กัณหะกาญจนะ. ตำราคุณลักษณะว่านและวิธีดูแลว่าน. 2506, หน้า 257
อาจารย์ญาณโชติ. คัมภีร์ไสยศาสตร์ฉบับสมบูรณ์. ไม่ปรากฏปีที่พิมพ์, หน้า 989-990
ว่านพระยานก ต้นที่ 2
2. พระยานก Paris polyphylla Sm.
ลักษณะ ต้นเหมือนต้นท้าวยายม่อม(หัว) ใบเหมือนใบคนทิสอ ดอกเหมือนดอกชิงชี่ หัวเป็นเกล็ดคล้ายเกล็ดปลาตะเพียน
สรรพคุณ ทางคุ้มครอง มีอานุภาพป้องกันอัคคีภัย และอันตรายทุกชนิด ปลูกไว้กับบ้านคุ้มครองป้องกันภัยอันตรายทั้งปวง หรือนำหัวติดตัวไปด้วยก็ได้ เสกด้วยคาถา “จะภะกะสะฯ” 7 คาบ
หมายเหตุ ว่านนี้ เรียกหลายชื่อ คือ ตีนฮุ้ง ตีนฮุ้งดอย สัตตฤาษี ฉัตรฤาษี ภาพนี้ได้รับความอนุเคราะห์จาก คุณณรงค์ศักดิ์ ค้านอธรรม จังหวัดกรุงเทพมหานคร
พบในตำราของ
ชิตร์ วัฒนะ. ลักษณะว่าน. 2473, หน้า 9
ประพัฒนสรรพกร, หลวง. ตำหรับกระบิลว่าน. 2475, หน้า 20-21 เรียก ว่านพระยานก อีกชนิด
ล. มหาจันทร์. คู่มือนักเล่นว่าน. 2480, หน้า 66-67 เรียก ว่านพระยานก อีกชนิด
ไพฑูรย์ ศรีเพ็ญ. ตำราสรรพคุณยาไทย. 2484, หน้า 82 ว่านพระยานก อีกชนิด
ชัยมงคล อุดมทรัพย์. ตำราดูว่าน และพระเครื่อง-พระบรมธาตุ. 2503, หน้า 26 เรียก ว่านพระยานก อีกชนิด
พยอม วิไลรัตน์. ตำรากบิลว่านและต้นไม้วิเศษนานาชนิด. 2504, หน้า 77 เรียก ว่านพระยานก อีกชนิด
อุตะมะ สิริจิตโต. ตำราปลูกและดูลักษณะว่าน. 2505, หน้า 17
เลื่อน กัณหะกาญจนะ. ตำราคุณลักษณะว่านและวิธีดูแลว่าน. 2506, หน้า 253
สวิง กวีสุทธิ์, ร.ต. ตำรากบิลว่าน. 2508, หน้า 15 เรียก ว่านพระยานก อีกชนิด
อาจารย์ญาณโชติ. คัมภีร์ไสยศาสตร์ฉบับสมบูรณ์. ไม่ปรากฏปีที่พิมพ์, หน้า 989 เรียก ว่านพระยานก อีกชนิด
ว่านพระยานก ต้นที่ 1
พระยานก มี 2 แบบ
1. พระยานก Eulophia sp.
ลักษณะ ต้นเหมือนต้นตาลหรือหมากผู้หมากเมีย ใบเหมือนใบมะตาด
สรรพคุณ ทางสมุนไพร เอาเปลือกกับใบต้มกิน แก้โรคกษัยทุกชนิด เอายางต้มกินเป็นยาอายุวัฒนะ
พบในตำราของ
ชิตร์ วัฒนะ. ลักษณะว่าน. 2473, หน้า 7
ประพัฒนสรรพกร, หลวง. ตำหรับกระบิลว่าน. 2475, หน้า 20-21
ล. มหาจันทร์. คู่มือนักเล่นว่าน. 2480, หน้า 66-67
ไพฑูรย์ ศรีเพ็ญ. ตำราสรรพคุณยาไทย. 2484, หน้า 82
ชัยมงคล อุดมทรัพย์. ตำราดูว่าน และพระเครื่อง-พระบรมธาตุ. 2503, หน้า 26
พยอม วิไลรัตน์. ตำรากบิลว่านและต้นไม้วิเศษนานาชนิด. 2504, หน้า 77
อุตะมะ สิริจิตโต. ตำราปลูกและดูลักษณะว่าน. 2505, หน้า 17 เรียก ว่านพระยานก อีกชนิด
เลื่อน กัณหะกาญจนะ. ตำราคุณลักษณะว่านและวิธีดูแลว่าน. 2506, หน้า 253 เรียก ว่านพระยานก อีกชนิด
สวิง กวีสุทธิ์, ร.ต. ตำรากบิลว่าน. 2508, หน้า 15
อาจารย์ญาณโชติ. คัมภีร์ไสยศาสตร์ฉบับสมบูรณ์. ไม่ปรากฏปีที่พิมพ์, หน้า 988