งานเขึยน

หน้างสือ ว่าน สมุนไพร ไม้มงคลไทย

บ้านว่านไทย

narongsak

narongsak

Page 46 of 71« First...102030...4445464748...6070...Last »

ว่านพระยาดาบหัก ต้นที่ 2

2. พระยาดาบหัก   Crinum  amoenum  Roxb.

ลักษณะ  ใบคล้ายมีดดาบ  มีใบเหมือนโศกอ่อน  ก้านเล็ก  กลางใบมักหักห้อย  หัวเหมือนหัวหอมใหญ่  มีรสเผ็ดขม

สรรพคุณ  ทางทางสมุนไพร  แก้พิษแมลงสัตว์กัดต่อยดีนัก

ทางคงกระพัน  มีอานุภาพทางคงกระพันชาตรี  ให้เอารากแก้วหรือหัวว่านมาเสกด้วย  “นะ โม พุท ธา ยะ”  และ  “อิติปิโส – ภควาติ”  แล้วเอาราก หรือหัวว่านอมไว้ในปาก  เป็นคงกระพัน

หมายเหตุ  ว่านนี้  บางตำราเรียก  ว่านหัวหอม

พบในตำราของ

ไพฑูรย์   ศรีเพ็ญ.  ตำราสรรพคุณยาไทย.  2484,  หน้า  89  เรียก  ว่านหัวหอม

พยอม   วิไลรัตน์.  ตำรากบิลว่านและต้นไม้วิเศษนานาชนิด.  2504,  หน้า  76-77

ชั้น   หาวิธี.  ตำราว่านวิเศษอันศักดิ์สิทธิ์.  2506,  หน้า  39  เรียก  ว่านพระยาดาบหัก อีกชนิด

เลื่อน   กัณหะกาญจนะ.  ตำราคุณลักษณะว่านและวิธีดูแลว่าน.  2506,  หน้า  251-252

อาจารย์ญาณโชติ.  คัมภีร์ไสยศาสตร์ฉบับสมบูรณ์.  ไม่ปรากฏปีที่พิมพ์,  หน้า  988

ว่านพระยาดาบหัก ต้นที่ 1

พระยาดาบหัก   มี 2 แบบ

1. พระยาดาบหัก   Curcuma  sp.

ลักษณะ   ใบมีรูปร่างคล้ายกับมีดดาบ  ก้านเรียวเล็กเหมือนดังกั่นดาบ  มีสีเหมือนใบโศกอ่อน  ใบของว่านนี้มักจะหักตรงกลางเสมอ  ต้องเอาไม้คอยค้ำยันใบเอาไว้  หัวคล้ายกับหัวแห้วหมู รสเผ็ดขม

สรรพคุณ  ทางคงกระพัน  มีอานุภาพทางคงกระพันชาตรี  ให้เอาหัวว่านนำติดตัวไปด้วย  หรือใช้กินและอมก็ได้  เสกด้วย  “นะโมพุทธายะฯ”  5  คาบ  คงทนต่อศาสตราวุธทั้งปวง

หมายเหตุ  ภาพนี้ได้รับความอนุเคราะห์จาก  คุณณรงค์ศักดิ์   ค้านอธรรม  จังหวัดกรุงเทพมหานคร

พบในตำราของ

ประพัฒนสรรพกร,  หลวง.  ตำหรับกระบิลว่าน.  2475,  หน้า  45

ไพฑูรย์   ศรีเพ็ญ.  ตำราสรรพคุณยาไทย.  2484,  หน้า  83

ชัยมงคล   อุดมทรัพย์. ตำราดูว่าน และพระเครื่อง-พระบรมธาตุ.  2503,  หน้า  39

อุตะมะ   สิริจิตโต.  ตำราปลูกและดูลักษณะว่าน.  2505,  หน้า  22-23

ชั้น   หาวิธี.  ตำราว่านวิเศษอันศักดิ์สิทธิ์.  2506,  หน้า  39

เลื่อน   กัณหะกาญจนะ.  ตำราคุณลักษณะว่านและวิธีดูแลว่าน.  2506,  หน้า  251-252

สวิง   กวีสุทธิ์,  ร.ต.  ตำรากบิลว่าน.  2508,  หน้า  14

ว่านพระยาช้างเผือก ต้นที่ 2

2. พระยาช้างเผือก    Dieffenbachia  barraquiniana.

ลักษณะ  ต้นขึ้นชลูดเป็นลำกลม  ล้นต้นเป็นข้อๆ สีเขียวสูงประมาณ 2 ฟุต  ก้านสีขาวพื้นใบสีเขียว  มีทางสีขาวของก้านใบ  ใบคล้ายใบสาวน้อยประแป้ง  ใบโตเท่าผ่ามือ  มีรากเหง้า  ตัดต้นตามข้อปลูกขยายพันธุ์ก็ได้  ว่านนี้ยางคันมาก

สรรพคุณ  ทางคุ้มครองเป็นศิริมงคล  ปลูกไว้กับบ้านคุ้มกันเสนียดจัญไร  เป็นศิริมงคล  บำรุงรักษาให้ดี  มีความเจริญรุ่งเรือง  เวลารดน้ำเสกด้วยพระเจ้า 5 พระองค์  ว่านนี้มีเทวดารักษา  ทำให้เจ้าของอยู่เย็นเป็นสุขทั้งครอบครัว  ป้องกันภูติผีปีศาจก็ได้

หมายเหตุ  ว่านนี้มีหลายชื่อ  คือ  ว่านพระยาปัจเวก  ว่านช้างเผือก   ว่านชนิดนี้เป็นไม้ต่างประเทศที่นำเข้ามาปลูกในประเทศไทย  (อ้างใน  บ้านและสวน.  สารานุกรมไม้ประดับในประเทศไทย เล่ม 2. กรุงเทพ:บ้านและสวน,  2525.  หน้า 383)

พบในตำราของ

ชั้น   หาวิธี.  ตำราว่านวิเศษอันศักดิ์สิทธิ์.  2506,  หน้า  41

เลื่อน   กัณหะกาญจนะ.  ตำราคุณลักษณะว่านและวิธีดูแลว่าน.  2506,  หน้า  250

สวิง   กวีสุทธิ์,  ร.ต.  ตำรากบิลว่าน.  2508,  หน้า  18-19

อาจารย์ญาณโชติ.  คัมภีร์ไสยศาสตร์ฉบับสมบูรณ์.  ไม่ปรากฏปีที่พิมพ์,  หน้า  991

ว่านพระยาช้างเผือก

พระยาช้างเผือก  มี 2 แบบ

1. พระยาช้างเผือก  Aspidistra  elatior.

ลักษณะ  ใบลักษณะคล้ายใบหมากผู้หมากเมีย  แต่มีสีเขียวตลอด  ต้นขาว  ก้านขาว  ที่ใบเขียวมีจุดขาวตามโครงของใบเป็นทิวขาว  หัวมีลักษณะเหมือนหัวข่าอ่อนๆ  สีขาวนวล  ดอกออกมามีสีแดงก็มี  สีม่วงอ่อนก็มี

สรรพคุณ  ทางสมุนไพร  แก้เจ็บเอวเจ็บหลัง   โดยใช้หัวตำกินกับสุรา

แก้พิษแมลงสัตว์กัดต่อย   โดยกินกับน้ำต้มเปลือกแคเป็นกระสาย

แก้ตกเลือดทั้งสองทวาร    โดยเอาหัวตำพอกตรงปากแผล

หมายเหตุ  ว่านนี้มีหลายชื่อ  คือ  ว่านพระยาเสวก   ว่านนางพระยาเสวกกิริณี  ว่านช้างเผือก   ว่านชนิดนี้  น่าจะเป็นต้น  ทางช้างเผือก    ลิงแลว   นางแลว

พบในตำราของ

พยอม   วิไลรัตน์.  ตำรากบิลว่านและต้นไม้วิเศษนานาชนิด.  2504,  หน้า  76

อุตะมะ   สิริจิตโต.  ตำราปลูกและดูลักษณะว่าน.  2505,  หน้า  110-111

เลื่อน   กัณหะกาญจนะ.  ตำราคุณลักษณะว่านและวิธีดูแลว่าน.  2506,  หน้า  249

อาจารย์ญาณโชติ.  คัมภีร์ไสยศาสตร์ฉบับสมบูรณ์.  ไม่ปรากฏปีที่พิมพ์,  หน้า  992-992

Page 46 of 71« First...102030...4445464748...6070...Last »

วงศ์ของว่าน :