ว่านพระยาจงอาง
พระยาจงอาง Alocasia sp.
ลักษณะ หัว ต้น ก้าน ใบ เหมือนต้นกระดาดขาว ต้นและก้านสีเขียวมีลายเป็นจุดๆ
สรรพคุณ ทางสมุนไพร ใช้แก้พิษงูทุกชนิด โดยเอาหัวว่านหรือใบมาโขลกกับสุรา คั้นเอาน้ำกิน จะทำให้หายจากพิษงูที่ถูกกัดได้ทีเดียว
หมายเหตุ ว่านนี้ บางตำราก็เขียนเป็น ว่านพญาจงอาง
พบในตำราของ
พยอม วิไลรัตน์. ตำรากบิลว่านและต้นไม้วิเศษนานาชนิด. 2504, หน้า 75
ชั้น หาวิธี. ตำราว่านวิเศษอันศักดิ์สิทธิ์. 2506, หน้า 55 เรียก ว่านพญาจงอาง
เลื่อน กัณหะกาญจนะ. ตำราคุณลักษณะว่านและวิธีดูแลว่าน. 2506, หน้า 248
อาจารย์ญาณโชติ. คัมภีร์ไสยศาสตร์ฉบับสมบูรณ์. ไม่ปรากฏปีที่พิมพ์, หน้า 989
พระยางู
พระยางู Phyllanthus mirabilis Mull. Arg.
ลักษณะ ต้นเหมือนผักโหม ใบเหมือนใบชุมเห็ด ยางสีเหลือง (บางตำรากล่าวเพิ่มเติมว่า ดอกเหมือนดอกพลับพลึงขาว ดอกเดียวมีหกกลีบ ขอบดอกชั้นในมีเกษรเป็นงวง และที่แกนกลางดอกมีอีกหนึ่งก้านยาวกว่าเพื่อน โคนใบซ้อนกันเป็นใบตะใคร้ – ลักษณะต้นในวงเล็บผู้เขียนคิดว่าเป็นต้นเดียวกับ ว่านจักรไกร)
สรรพคุณ ทางเล่นแร่แปรธาตุ ใช้ยางกวนกับปรอททำให้ปรอทตายเป็นกายสิทธิ์
ทางสมุนไพร เอารากมาโขลกคั้นน้ำกินเป็นยาถ่ายพยาธิ และริดสีดวงงอกในทวาร เอาใบมาต้มอาบแก้โรคผิวหนัง หิด ผื่นคัน อมแก้ปวดฟัน เอาใบมาอังไฟ เอาน้ำหยอดหู แก้โรคน้ำหนวกและปวดหู
หมายเหตุ ว่านนี้มีอีกชื่อหนึ่งว่า ว่านงู ว่านชนิดนี้ น่าจะเป็น ไม้โขด ชนิดหนึ่ง ที่ขึ้นตามริมผา มักเป็นอาหารของกระจง มีชื่อทางการค้าว่า มะยมเงินมะยมทอง หรือ ขี้เหล็กฤาษี ภาพนี้ได้รับความอนุเคราะห์จาก
คุณพามิล บรรณทอง จังหวัดกรุงเทพมหานคร
พบในตำราของ
ชิตร์ วัฒนะ. ลักษณะว่าน. 2473, หน้า 8
ประพัฒนสรรพกร, หลวง. ตำหรับกระบิลว่าน. 2475, หน้า 25
ไพฑูรย์ ศรีเพ็ญ. ตำราสรรพคุณยาไทย. 2484, หน้า 84
ชัยมงคล อุดมทรัพย์. ตำราดูว่าน และพระเครื่อง-พระบรมธาตุ. 2503, หน้า 18
พยอม วิไลรัตน์. ตำรากบิลว่านและต้นไม้วิเศษนานาชนิด. 2504, หน้า 74-75
อุตะมะ สิริจิตโต. ตำราปลูกและดูลักษณะว่าน. 2505, หน้า 17
เลื่อน กัณหะกาญจนะ. ตำราคุณลักษณะว่านและวิธีดูแลว่าน. 2506, หน้า 246-247
อาจารย์ญาณโชติ. คัมภีร์ไสยศาสตร์ฉบับสมบูรณ์. ไม่ปรากฏปีที่พิมพ์, หน้า 989
ว่านพระยากา
พระยากา Homalmena aff. humilis sp.
ลักษณะ ต้นเหมือนต้นกล้วยป่า มีใยเหมือนใยบัว ใบเหมือนใบโพธิ์กาฝาก (โพธิ์ขี้นก) ยางเหมือนยางงิ้ว รากเหมือนรากมะกอก
สรรพคุณ ทางเล่นแร่แปรธาตุ ใช้เป็นยาฆ่าปรอทตายเป็นกายสิทธิ์ ให้เอายางว่านพระยากานี้กวนปรอท ใช้หนักอย่างละเท่าๆ กัน ปรอทนั้นจะตายเห็นกายสิทธิ์สัมฤทธิ์ผลทุกประการ
หมายเหตุ ว่านชนิดนี้ เป็นบอนป่าชนิดหนึ่ง เรียกกันว่า ยาดิน
พบในตำราของ
ชิตร์ วัฒนะ. ลักษณะว่าน. 2473, หน้า 8
ประพัฒนสรรพกร, หลวง. ตำหรับกระบิลว่าน. 2475, หน้า 25
ไพฑูรย์ ศรีเพ็ญ. ตำราสรรพคุณยาไทย. 2484, หน้า 82
ชัยมงคล อุดมทรัพย์. ตำราดูว่าน และพระเครื่อง-พระบรมธาตุ. 2503, หน้า 17
พยอม วิไลรัตน์. ตำรากบิลว่านและต้นไม้วิเศษนานาชนิด. 2504, หน้า 74
อุตะมะ สิริจิตโต. ตำราปลูกและดูลักษณะว่าน. 2505, หน้า 17
เลื่อน กัณหะกาญจนะ. ตำราคุณลักษณะว่านและวิธีดูแลว่าน. 2506, หน้า 245
สวิง กวีสุทธิ์, ร.ต. ตำรากบิลว่าน. 2508, หน้า 10
อาจารย์ญาณโชติ. คัมภีร์ไสยศาสตร์ฉบับสมบูรณ์. ไม่ปรากฏปีที่พิมพ์, หน้า 988
ว่านพระยากระบือ
พระยากระบือ Dioscorea sp.
ลักษณะ หัวเหมือนกลอย มีกลิ่นหอมเหมือนกลิ่นจันทน์ ต้นเหมือนมะตูม ใบเป็นริ้วๆ เป็นซอยๆ ทั้งต้นและดอกล้วนมีกลิ่นหอมเหมือนกลิ่นจันทน์ วันอังคาร วันเสาร์ มักจะร้องได้เหมือนเสียงกระบือ การร้องนี้จะร้องได้เมื่อว่านออกดอกมาแล้ว
สรรพคุณ ทางคุ้มครอง เป็นศิริมงคล มีอานุภาพมหัศจรรย์ทางโชคลาภ คุ้มครองป้องกันภัยพิบัติ เป็นศิริมงคลเกิดสมบูรณ์พูนสุขแก่ตัวและครอบครัว ผู้ที่มีว่านนี้ไว้ในครอบครอง ปลูกไว้กับบ้านวิเศษนัก ถ้านำติดตัวไปด้วยนึกสิ่งใดจะสำเร็จสมความปรารถนาทุกประการ กินกับสุราจะมีพละกำลังไม่รู้สึกปวดเมื่อยร่างกาย
พบในตำราของ
ชิตร์ วัฒนะ. ลักษณะว่าน. 2473, หน้า 9
ประพัฒนสรรพกร, หลวง. ตำหรับกระบิลว่าน. 2475, หน้า 25
ไพฑูรย์ ศรีเพ็ญ. ตำราสรรพคุณยาไทย. 2484, หน้า 82
ชัยมงคล อุดมทรัพย์. ตำราดูว่าน และพระเครื่อง-พระบรมธาตุ. 2503, หน้า 17
พยอม วิไลรัตน์. ตำรากบิลว่านและต้นไม้วิเศษนานาชนิด. 2504, หน้า 73-74
อุตะมะ สิริจิตโต. ตำราปลูกและดูลักษณะว่าน. 2505, หน้า 18
เลื่อน กัณหะกาญจนะ. ตำราคุณลักษณะว่านและวิธีดูแลว่าน. 2506, หน้า 243
สวิง กวีสุทธิ์, ร.ต. ตำรากบิลว่าน. 2508, หน้า 11
อาจารย์ญาณโชติ. คัมภีร์ไสยศาสตร์ฉบับสมบูรณ์. ไม่ปรากฏปีที่พิมพ์, หน้า 990