งานเขึยน

หน้างสือ ว่าน สมุนไพร ไม้มงคลไทย

บ้านว่านไทย

narongsak

narongsak

Page 48 of 71« First...102030...4647484950...6070...Last »

พระยากลอย

พระยากลอย   Dioscorea  sp.

ลักษณะ  ต้นเป็นเถาว์เหมือนเถาว์กลอย  เถาว์จะยาวไม่เกินสองแขน  ใบเหมือนใบกลอยแต่เล็กกว่าใบกลอย  ครีบใบและก้านแดง  หัวกลมใหญ่ประมาณเท่าฟองไข่ห่าน  เนื้อในสีเขียวเหมือนคราม

สรรพคุณ  ทางเล่นแร่แปรธาตุ  ใช้เป็นยาฆ่าปรอทตายเป็นกายสิทธิ์

หมายเหตุ  ว่านนี้มีอีกชื่อว่า  ว่านพระยากรวด

พบในตำราของ

ประพัฒนสรรพกร,  หลวง.  ตำหรับกระบิลว่าน.  2475,  หน้า  28

ไพฑูรย์   ศรีเพ็ญ.  ตำราสรรพคุณยาไทย.  2484,  หน้า   84   เรียก  ว่านพระยากรวด

ชัยมงคล   อุดมทรัพย์. ตำราดูว่าน และพระเครื่อง-พระบรมธาตุ.  2503,  หน้า  34

พยอม   วิไลรัตน์.  ตำรากบิลว่านและต้นไม้วิเศษนานาชนิด.  2504,  หน้า  73

อุตะมะ   สิริจิตโต.  ตำราปลูกและดูลักษณะว่าน.  2505,  หน้า  19

เลื่อน  กัณหะกาญจนะ. ตำราคุณลักษณะว่านและวิธีดูแลว่าน.  2506, หน้า 242, หน้า 244 เรียก ว่านพระยากรวด

สวิง   กวีสุทธิ์,  ร.ต.  ตำรากบิลว่าน.  2508,  หน้า  13

อาจารย์ญาณโชติ.  คัมภีร์ไสยศาสตร์ฉบับสมบูรณ์.  ไม่ปรากฏปีที่พิมพ์,  หน้า  990

ว่านพระอาทิตย์

พระอาทิตย์   Caladium  bicolor  Vent.

ลักษณะ  หัวคล้ายหัวหอม  ถ้าผ่าหัวออกสีเขียวเหมือนคราม  ตรงกลางขาว  ริมขอบดำ  ใบคล้ายใบระกำที่พึ่งออก  ก้านสีแดงคล้ำ  ใบเขียว  ก้านหนึ่งๆ จะแตกออกเป็น 3 ใบ

สรรพคุณ  ทางคุ้มครอง  มีอานุภาพป้องกันคุณผี  คุณไสย  และอาถรรพ์เวทย์ต่างๆ  เอาหัวว่านมาแกะเป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ  ทำพิธีปลุกเสกด้วยพานยักษ์  บูชาไว้กับบ้านหรือนำติดตัวไปด้วยดีนัก

ทางสมุนไพร  ถ้าถูกลมเพลมพัด  หรือถูกคุณผี  คุณไสย  เอาหัวฝนกับน้ำกินหรือทา  ก็จะหายเป็นปกติในที่สุด  ว่านนี้มีเทวดารักษาเป็นของวิเศษดีนัก

หมายเหตุ  ว่านชนิดนี้   เป็นบอนสีโบราณ  ที่เล่นกันมาตั้งแต่สมัยอยุธยา  ปัจจุบันเรียกว่า  ม้าสีหมอก

พบในตำราของ

ชิตร์  วัฒนะ. ลักษณะว่าน. 2473, หน้า  20-21

ประพัฒนสรรพกร,  หลวง.  ตำหรับกระบิลว่าน.  2475,  หน้า  16-17

ล. มหาจันทร์.  คู่มือนักเล่นว่าน.  2480,  หน้า   55-56

ไพฑูรย์   ศรีเพ็ญ.  ตำราสรรพคุณยาไทย.  2484,  หน้า   84

ชัยมงคล   อุดมทรัพย์. ตำราดูว่าน และพระเครื่อง-พระบรมธาตุ.  2503,  หน้า  23-24

พยอม   วิไลรัตน์.  ตำรากบิลว่านและต้นไม้วิเศษนานาชนิด.  2504,  หน้า  35-36

อุตะมะ   สิริจิตโต.  ตำราปลูกและดูลักษณะว่าน.  2505,  หน้า  40-41

ชั้น   หาวิธี.  ตำราว่านวิเศษอันศักดิ์สิทธิ์.  2506,  หน้า  21

เลื่อน   กัณหะกาญจนะ.  ตำราคุณลักษณะว่านและวิธีดูแลว่าน.  2506,  หน้า  239-240

สวิง   กวีสุทธิ์,  ร.ต.  ตำรากบิลว่าน.  2508,  หน้า  16-17

อาจารย์ญาณโชติ.  คัมภีร์ไสยศาสตร์ฉบับสมบูรณ์.  ไม่ปรากฏปีที่พิมพ์,  หน้า  983

 

ว่านพระมเหศวร

พระมเหศวร   Remusatia vivipara Schott.

ลักษณะ  หัวคล้ายหัวหอม  เนื้อในหัวสีน้ำเงินอ่อนๆ  ตรงกลางหัวเนื้อในสีขาว  ขอบเป็นสีน้ำเงินแก่  ใบเหมือนใบบอนแต่เล็ก (ใบพุทธรักษา-ตำราหลวงประพัฒนสรรพกร)  ตรงกลางใบมีเงาคล้ายน้ำค้างเกาะ  มีรัศมีพรายปรอทออกมา

สรรพคุณ  ทางคุ้มครอง  และทางเมตตามหานิยม  นำติดตัวไปป้องกันภูติผีปีศาจ  ใช้ปราบผีเอาหัวว่านทิ่มแทงผีเจ้าเข้าสิงคน  ออกสิ้น  ผีกลัวนัก  และเป็นเสน่ห์เมตตามหานิยมอีกด้วย  ว่านนี้มีเทวดารักษา  ปลูกไว้กับบ้านเป็นศิริมงคลป้องกันอันตรายต่างๆ  บังเกิดโชคลาภดีนัก

หมายเหตุ  ว่านชนิดนี้   บางท้องถิ่นเรียก  ว่านขุนช้าง

พบในตำราของ

ชิตร์  วัฒนะ. ลักษณะว่าน. 2473, หน้า  5

ประพัฒนสรรพกร,  หลวง.  ตำหรับกระบิลว่าน.  2475,  หน้า  24

ล. มหาจันทร์.  คู่มือนักเล่นว่าน.  2480,  หน้า  57

ไพฑูรย์   ศรีเพ็ญ.  ตำราสรรพคุณยาไทย.  2484,  หน้า   84

ชัยมงคล   อุดมทรัพย์. ตำราดูว่าน และพระเครื่อง-พระบรมธาตุ.  2503,  หน้า  30

พยอม   วิไลรัตน์.  ตำรากบิลว่านและต้นไม้วิเศษนานาชนิด.  2504,  หน้า  51-52

อุตะมะ   สิริจิตโต.  ตำราปลูกและดูลักษณะว่าน.  2505,  หน้า  61-62

ชั้น   หาวิธี.  ตำราว่านวิเศษอันศักดิ์สิทธิ์.  2506,  หน้า  22-23   เรียก   ว่านมเหศวร

เลื่อน   กัณหะกาญจนะ.  ตำราคุณลักษณะว่านและวิธีดูแลว่าน.  2506,  หน้า  237-238

สวิง   กวีสุทธิ์,  ร.ต.  ตำรากบิลว่าน.  2508,  หน้า  19

อาจารย์ญาณโชติ.  คัมภีร์ไสยศาสตร์ฉบับสมบูรณ์.  ไม่ปรากฏปีที่พิมพ์,  หน้า  985

ว่านพระนารายณ์

พระนารายณ์   Curcuma  sp.

ลักษณะ  หัวคล้ายหัวหอม  เมื่อผ่าออกเนื้อในเป็นสีขาว  ลำต้นตรงขึ้นไป  ก้านใบเขียวครีบแดง  ออกดอกในเดือน 12

สรรพคุณ  ทางเมตตามหานิยม  และทางคุ้มครอง  มีอานุภาพเป็นศิริมงคล  บังเกิดโชคลาภเมตตามหานิยม  ป้องกันภูติผีปีศาจ  ป้องกันภัยพิบัติทุกประการ  เป็นว่านคู่กันกับว่านพระมเหศวร  ควรปลูกไว้คู่กัน  ว่านนี้มีเทวดารักษา  เอาหัวนำติดตัวไปด้วยก็ใช้ได้

หมายเหตุ  ว่านชนิดนี้   เรียกหลายชื่อ  มณีกาญจน์  ศรนารายณ์  (คนละชนิดกับ  ว่านศรนารายณ์)   ภาพนี้ได้รับความอนุเคราะห์จาก  คุณณรงค์ศักดิ์   ค้านอธรรม  จังหวัดกรุงเทพมหานคร

พบในตำราของ

ชิตร์  วัฒนะ. ลักษณะว่าน. 2473, หน้า  4

ประพัฒนสรรพกร,  หลวง.  ตำหรับกระบิลว่าน.  2475,  หน้า  23

ล. มหาจันทร์.  คู่มือนักเล่นว่าน.  2480,  หน้า  58-59

ไพฑูรย์   ศรีเพ็ญ.  ตำราสรรพคุณยาไทย.  2484,  หน้า   83-84

พยอม   วิไลรัตน์.  ตำรากบิลว่านและต้นไม้วิเศษนานาชนิด.  2504,  หน้า  51

อุตะมะ   สิริจิตโต.  ตำราปลูกและดูลักษณะว่าน.  2505,  หน้า  62-63

เลื่อน   กัณหะกาญจนะ.  ตำราคุณลักษณะว่านและวิธีดูแลว่าน.  2506,  หน้า  235-236

สวิง   กวีสุทธิ์,  ร.ต.  ตำรากบิลว่าน.  2508,  หน้า  15-16

อาจารย์ญาณโชติ.  คัมภีร์ไสยศาสตร์ฉบับสมบูรณ์.  ไม่ปรากฏปีที่พิมพ์,  หน้า  984

Page 48 of 71« First...102030...4647484950...6070...Last »

วงศ์ของว่าน :