งานเขึยน

หน้างสือ ว่าน สมุนไพร ไม้มงคลไทย

บ้านว่านไทย

narongsak

narongsak

Page 49 of 71« First...102030...4748495051...6070...Last »

ว่านพระดำ

พระดำ   Abrus  sp.

ลักษณะ  ต้นและใบเหมือนมะกล่ำ  ชอบขึ้นในที่ลุ่ม  และเลื้อยงอกงามในที่ชุ่มชื้น

สรรพคุณ  ทางคุ้มครอง  ใช้ในการป้องกันตัว   เวลาจะไปเอาว่านนี้ต้องทำการสระผมอาบน้ำชำระตัวให้สะอาดเรียบร้อยเสียก่อน  จึงไปขุดเอาว่านนี้มา

หมายเหตุ  ว่านนี้เรียกอีกอย่างว่า  ว่านพระยาดำ   ว่านชนิดนี้   น่าจะเป็น  ต้นมะกล่ำดำ  ตำราของ  คงคา  ธนาคม  และ  หล่อ   ขันแก้ว  หนังสือภาพว่านยา  ไม้ประดับ  หน้า  257   ได้กล่าวถึงวิธีใช้  มะกล่ำดำ  ดังนี้  ให้เก็บเมล็ดมาให้ครบ  108  เมล็ด  นำมาลงด้วยคาถาพุทธคุณ  56  เมล็ด  ธรรมคุณ  38  เมล็ด  และสังฆคุณ  14  เมล็ด   เมื่อลงครบแล้ว  นำมาร้อยเชือกทำเป็นลูกประคำ  เสกด้วยคาถาพระพุทธคุณ  108  คาบ  คล้องคอ  ป้องกันภัยอันตราย  เมตตามหานิยม  ว่านต้นนี้ได้นับความอนุเคราะห์  คุณลุงเกษม  อินทร์ชัยญะ  จังหวัดราชบุรี

พบในตำราของ

ชิตร์  วัฒนะ. ลักษณะว่าน. 2473, หน้า  8  เรียก  ว่านพระยาดำ

ไพฑูรย์   ศรีเพ็ญ.  ตำราสรรพคุณยาไทย.  2484,  หน้า   82

เลื่อน   กัณหะกาญจนะ.  ตำราคุณลักษณะว่านและวิธีดูแลว่าน.  2506,  หน้า  226

ว่านพระตะบะ

พระตะบะ   Curcuma  sp.

ลักษณะ  ต้นและใบคล้ายขมิ้นอ้อยแต่ใหญ่กว่า  ต้นและใบสีเขียว  หลังใบมีคราบคล้ายกับใบลิ้นเสือ  หัวเหมือนกับหัวขมิ้นอ้อย   เนื้อในสีขาวรสฉุนจัด  มีธาตุปรอท  มีกิ่งหน่อแตกยาวเกี่ยวกันอยู่

สรรพคุณ  ทางคุ้มครอง  มีอานุภาพมหัศจรรย์วิเศษสุด  ภูติผีปีศาจที่ร้ายกาจทุกชนิดเกรงกลัวยิ่งนัก  ปลูกไว้ในบ้าน  คุณไสยเสนียดจัญไร  พรายน้ำพรายอากาศไม่กล้าเข้ามาใกล้ได้  หลีกหนีสิ้น  ใช้หัวทิ่มแทงคนผีเข้าเจ้าสิง  หนีออกจากร่างคนทันที

ทางสมุนไพร  เอาหัวว่านแช่น้ำมนต์พ่นแก้คุณไสยทุกชนิด  และให้คนท้องกินคลอดบุตรง่าย  เอาหัวว่านผูกติดกับเปล  เด็กนอนไม่สะดุ้ง  ว่านนี้ไม่เป็นอันตรายแก่พระภูมิเจ้าที่  เอาเข้าพิธีสวดพานยักษ์  ว่านนี้จะมีความศักดิ์สิทธิ์มีฤทธานุภาพมากยิ่งขึ้นวิเศษนัก

หมายเหตุ   ว่านชนิดนี้เรียกหลายชื่อ  คือ  ว่านพะตะบะ    ว่านพระยาตะบะ   ว่านพระตบะ

พบในตำราของ

ประพัฒนสรรพกร,  หลวง.  ตำหรับกระบิลว่าน.  2475,  หน้า  38-40

ชัยมงคล   อุดมทรัพย์. ตำราดูว่าน และพระเครื่อง-พระบรมธาตุ.  2503,  หน้า  22

พยอม   วิไลรัตน์.  ตำรากบิลว่านและต้นไม้วิเศษนานาชนิด.  2504,  หน้า  72-73

อุตะมะ   สิริจิตโต.  ตำราปลูกและดูลักษณะว่าน.  2505,  หน้า  104-105

ชั้น   หาวิธี.  ตำราว่านวิเศษอันศักดิ์สิทธิ์.  2506,  หน้า  36-37   เรียก  ว่านพะตะบะ

เลื่อน   กัณหะกาญจนะ.  ตำราคุณลักษณะว่านและวิธีดูแลว่าน.  2506,  หน้า  232-234

สวิง   กวีสุทธิ์,  ร.ต.  ตำรากบิลว่าน.  2508,  หน้า  20-22

สมาน   คัมภีร์  และ  ทัศนา   ทัศนมิตร.  กบิลว่าน 108.  2516,  หน้า  61

อาจารย์ญาณโชติ.  คัมภีร์ไสยศาสตร์ฉบับสมบูรณ์.  ไม่ปรากฏปีที่พิมพ์,  หน้า  990-991   เรียก  ว่านพระยาตะบะ

 

 

 

 

ว่านพระฉิม ต้นที่ 2

2. พระฉิม (ต้น)    Euphobia  sessiliflora  Roxb.

ลักษณะ  เป็นไม้ลงหัวขนาดเล็ก  ใบกลมโตขนาดใบพุทรา  ทั้งใบ  ก้าน  ต้น  และหัวมียางมาก

สรรพคุณ  ทางสมุนไพร  หัวเป็นยากัดเสมหะและโลหิตภายใน  ยางมีพิษเช่นเดียวกับยางสลัดได  จะต้องทำให้ฤทธิ์ยาอ่อนลงก่อน  โดยนึ่งหรือตุ๋นเสียก่อน

หมายเหตุ  ว่านนี้มีหลายชื่อ  คือ ยางเข้าค่า  หัวเข้าค่า  จิดอยด่วน

พบในตำราของ

เลื่อน   กัณหะกาญจนะ.  ตำราคุณลักษณะว่านและวิธีดูแลว่าน.  2506,  หน้า  231  เรียก  ว่านพระฉิม (ต้น)

ว่านพระฉิม ต้นที่ 1

  มี 2 แบบ

1. พระฉิม (เถา)    Dioscorea  bulbifera  L.

ลักษณะ  ใบและเถา   เหมือนมันมือเสือ  มีหัวตามข้อ  หัวมีปุ่มขรุขระดังหัวกลิ้งกลางดง  แต่จะขรุขระกว่า

สรรพคุณ  ทางเมตตามหานิยม  มีอานุภาพเป็นศิริมงคล  ทำให้เกิดโชคลาภ  เป็นเสน่ห์เมตตามหานิยมวิเศษนัก  ปลูกไว้กับบ้านทำให้มีความเจริญรุ่งเรือง  กินลูกว่านหรือนำติดตัวไปด้วย  ทำให้เกิดมีเสน่ห์เมตตามหานิยม  และคงกระพันชาตรี  เมื่อจะใช้ว่านพระฉิมเสกด้วยคาถาหัวใจพระสิวลีสามคาบ  “นาชาลิติฯ”  จึงจะมีอานุภาพความศักดิ์สิทธิ์มากยิ่งขึ้น

หมายเหตุ  ว่านนี้มีหลายชื่อ คือ  ว่านพระฉิมพาลี ว่านพระฉิมพลี น่าจะเป็นต้นเดียวกับ ว่านคางคก(เถา)

พบในตำราของ

ประพัฒนสรรพกร,  หลวง.  ตำหรับกระบิลว่าน.  2475,  หน้า  45

ไพฑูรย์   ศรีเพ็ญ.  ตำราสรรพคุณยาไทย.  2484,  หน้า   84

ชัยมงคล   อุดมทรัพย์. ตำราดูว่าน และพระเครื่อง-พระบรมธาตุ.  2503,  หน้า  21-22,  หน้า  39  (ซ้ำ)

พยอม   วิไลรัตน์.  ตำรากบิลว่านและต้นไม้วิเศษนานาชนิด.  2504,  หน้า  71-72

อุตะมะ   สิริจิตโต.  ตำราปลูกและดูลักษณะว่าน.  2505,  หน้า  43   เรียก   ว่านพระฉิมพาลี 

เลื่อน   กัณหะกาญจนะ.  ตำราคุณลักษณะว่านและวิธีดูแลว่าน.  2506,  หน้า  230  เรียก  ว่านพระฉิม (เถา)

สวิง   กวีสุทธิ์,  ร.ต.  ตำรากบิลว่าน.  2508,  หน้า  19

อาจารย์ญาณโชติ.  คัมภีร์ไสยศาสตร์ฉบับสมบูรณ์.  ไม่ปรากฏปีที่พิมพ์,  หน้า  982-983

Page 49 of 71« First...102030...4748495051...6070...Last »

วงศ์ของว่าน :