ว่านผักเบี้ยโหรา
ผักเบี้ยโหรา Euphorbia thymifolia L.
ลักษณะ ต้นและใบเหมือนผักเบี้ยหนูแต่เล็กกว่า ต้นและใบสีแดง ท้องใบมีขน
สรรพคุณ ทางสมุนไพร เป็นยาฆ่าปรอทตาย ใช้ซัดหลอมดีบุกให้เป็นทองคำ ว่านนี้มีพิษ คนหรือสัตว์กินจะทำให้มึนเมาอาจถึงตายได้
หมายเหตุ ว่านชนิดนี้ น่าจะเป็น ต้นน้ำนมราชสีห์เล็ก
พบในตำราของ
ประพัฒนสรรพกร, หลวง. ตำหรับกระบิลว่าน. 2475, หน้า 28
ไพฑูรย์ ศรีเพ็ญ. ตำราสรรพคุณยาไทย. 2484, หน้า 81
ชัยมงคล อุดมทรัพย์. ตำราดูว่าน และพระเครื่อง-พระบรมธาตุ. 2503, หน้า 33 เรียก ว่านเบี้ยโหรา
พยอม วิไลรัตน์. ตำรากบิลว่านและต้นไม้วิเศษนานาชนิด. 2504, หน้า 124
อุตะมะ สิริจิตโต. ตำราปลูกและดูลักษณะว่าน. 2505, หน้า 98-99
ชั้น หาวิธี. ตำราว่านวิเศษอันศักดิ์สิทธิ์. 2506, หน้า 63
เลื่อน กัณหะกาญจนะ. ตำราคุณลักษณะว่านและวิธีดูแลว่าน. 2506, หน้า 218
สวิง กวีสุทธิ์, ร.ต. ตำรากบิลว่าน. 2508, หน้า 57
อาจารย์ญาณโชติ. คัมภีร์ไสยศาสตร์ฉบับสมบูรณ์. ไม่ปรากฏปีที่พิมพ์, หน้า 981
ว่านเปราะป่า
เปราะป่า Kaempferia roscoeana Wall.
ลักษณะ เป็นไม้ลงหัว แต่ชนิดนี้ใบกลมโต ใบสีเขียวเข้ม ริมขอบใบโดยรอบเป็นสีน้ำตาลแก่ ออกดอกเป็นสีขาว หัวมีรสหอมร้อนขมจัด ปรุงเข้าเครื่องแกงไม่ได้จะขมทั้งหม้อเลย
สรรพคุณ ทางสมุนไพร หัวแก้ไข้ ขับลมในลำไส้ และกระทุ้งพิษไข้ต่างๆ ผสมกับหัวหอมตำให้ละเอียดสุมศีรษะเด็กแก้หวัดแก้กำเดา
หมายเหตุ ว่านนี้มีอีกชื่อ คือ เปราะเขา
พบในตำราของ
เลื่อน กัณหะกาญจนะ. ตำราคุณลักษณะว่านและวิธีดูแลว่าน. 2506, หน้า 217
ว่านเปราะบ้าน
เปราะบ้าน Kaempferia galangal L.
ลักษณะ เป็นไม้ลงหัว ใบหนาแต่ไม่แข็งมาก รูปร่างรีปลายแหลม กลมๆ ก็มี หน้าใบสีเขียว ท้องใบมีสีเขียว หัวกลมเรียงต่อกัน หัว ใบมีกลิ่นหอมร้อน
สรรพคุณ ทางสมุนไพร กระทุ้งพิษให้ซ่านออกมาภายนอก และแก้ปวดท้อง ดอก แก้เด็กนอนสะดุ้งผวา ร้องไห้ และตาเหลือก ต้น ขับเลือดเน่าสตรี หัว แก้โลหิตซึ่งเจือด้วยลมเป็นพิษ ใบสุมหัวเด็กแก้หวัดคัดจมูก กินขับลมในลำไส้ ใบใช้เป็นผักสดกินได้ หัวปรุงเป็นเครื่องเทศสำหรับใส่แกงได้
หมายเหตุ ว่านนี้มีหลายชื่อ คือ เปราะหอม เปราะหอมขาว
พบในตำราของ
ไพฑูรย์ ศรีเพ็ญ. ตำราสรรพคุณยาไทย. 2484, หน้า 81
เลื่อน กัณหะกาญจนะ. ตำราคุณลักษณะว่านและวิธีดูแลว่าน. 2506, หน้า 216
ว่านปลาไหลสอด
ปลาไหลสอด Curcuma sp.
ลักษณะ ต้นมีลักษณะดังว่านปลาไหลม่วง หัวกลมโต เนื้อในหัวมีสีม่วงปนดำแทรกแดงเล็กน้อย เหมือนกัน เว้นแต่รากไม่เหยียดยาวเหมือนปลาไหลม่วง แต่รากจะกลับสอดเข้าหาหัว รวมขัดอยู่กับหัวเป็นกลุ่มๆ
สรรพคุณ ทางสมุนไพร ใช้แก้คุณไสย น้ำมันพราย วิธีใช้เอาหัวตำให้ละเอียดผสมกับแป้งพอก หรือทา
พบในตำราของ
ประพัฒนสรรพกร, หลวง. ตำหรับกระบิลว่าน. 2475, หน้า 29
ชัยมงคล อุดมทรัพย์. ตำราดูว่าน และพระเครื่อง-พระบรมธาตุ. 2503, หน้า 34
พยอม วิไลรัตน์. ตำรากบิลว่านและต้นไม้วิเศษนานาชนิด. 2504, หน้า 33
อุตะมะ สิริจิตโต. ตำราปลูกและดูลักษณะว่าน. 2505, หน้า 15
ชั้น หาวิธี. ตำราว่านวิเศษอันศักดิ์สิทธิ์. 2506, หน้า 43
เลื่อน กัณหะกาญจนะ. ตำราคุณลักษณะว่านและวิธีดูแลว่าน. 2506, หน้า 214
สวิง กวีสุทธิ์, ร.ต. ตำรากบิลว่าน. 2508, หน้า 35-36
อาจารย์ญาณโชติ. คัมภีร์ไสยศาสตร์ฉบับสมบูรณ์. ไม่ปรากฏปีที่พิมพ์, หน้า 980