ปลาไหลขาว
ปลาไหลขาว Curcuma sp.
ลักษณะ ต้น ใบ หัว คล้ายขมิ้นอ้อย เนื้อในหัวสีขาว มีกลิ่นหอมเย็น
สรรพคุณ ทางสมุนไพร เอาเกลือตัวผู้สามเม็ดโขลกกับหัวว่านนี้ อมแก้ปวดฟัน เหงือกบวม ลำมะนาด แก้ฟันผุ หรือหัวว่านตำให้ละเอียดผสมกับน้ำเกลือ และน้ำหน่อไม้ดอง อมก่อนเข้านอนวันละหนึ่งครั้ง ตัวลำมะนาดและแมงกินฟันจะหายสิ้น
หมายเหตุ ว่านนี้นิยมเรียกว่า ว่านปลาไหลเผือก
พบในตำราของ
ประพัฒนสรรพกร, หลวง. ตำหรับกระบิลว่าน. 2475, หน้า 29
ชัยมงคล อุดมทรัพย์. ตำราดูว่าน และพระเครื่อง-พระบรมธาตุ. 2503, หน้า 34-35
พยอม วิไลรัตน์. ตำรากบิลว่านและต้นไม้วิเศษนานาชนิด. 2504, หน้า 32
อุตะมะ สิริจิตโต. ตำราปลูกและดูลักษณะว่าน. 2505, หน้า 13 เรียก ว่านปลาไหลเผือก
ชั้น หาวิธี. ตำราว่านวิเศษอันศักดิ์สิทธิ์. 2506, หน้า 42
เลื่อน กัณหะกาญจนะ. ตำราคุณลักษณะว่านและวิธีดูแลว่าน. 2506, หน้า 209
สวิง กวีสุทธิ์, ร.ต. ตำรากบิลว่าน. 2508, หน้า 36
อาจารย์ญาณโชติ. คัมภีร์ไสยศาสตร์ฉบับสมบูรณ์. ไม่ปรากฏปีที่พิมพ์, หน้า 980
ปราบสมุทร
ปราบสมุทร Kaempferia larsenii.
ลักษณะ ใบเหมือนใบพลับพลึง ครีบใบคล้ายเปราะหอม ต้นมีรูปร่างเหมือนต้นพลับพลึง แต่เตี้ยแจ้แบติดกับดิน หัวกลมมีสีขาว
สรรพคุณ ทางเสน่ห์มหานิยม และทางคงกระพัน เอาหัวนำติดตัวไปด้วยทำให้มีเสน่ห์เมตตาหมานิยม และคงกระพันชาตรี
ทางสมุนไพร เอาหัวต้มกินหรือตำละลายกับสุรา แก้พิษเลือดกระทำ แก้โรคกษัยต่างๆ เป็นยากำลังอีกด้วย
หมายเหตุ ว่านนี้มีอีกชื่อหนึ่งว่า ว่านเพชรคง ว่านชนิดนี้เป็นคนละต้นกับ ว่านมหาประสาน (ชนิดเปราะ)
พบในตำราของ
พยอม วิไลรัตน์. ตำรากบิลว่านและต้นไม้วิเศษนานาชนิด. 2504, หน้า 53-54
อุตะมะ สิริจิตโต. ตำราปลูกและดูลักษณะว่าน. 2505, หน้า 120
ชั้น หาวิธี. ตำราว่านวิเศษอันศักดิ์สิทธิ์. 2506, หน้า 61
เลื่อน กัณหะกาญจนะ. ตำราคุณลักษณะว่านและวิธีดูแลว่าน. 2506, หน้า 208
สวิง กวีสุทธิ์, ร.ต. ตำรากบิลว่าน. 2508, หน้า 69
สมาน คัมภีร์ และ ทัศนา ทัศนมิตร. กบิลว่าน 108. 2516, หน้า 83
อาจารย์ญาณโชติ. คัมภีร์ไสยศาสตร์ฉบับสมบูรณ์. ไม่ปรากฏปีที่พิมพ์, หน้า 979
ประกายสิทธิ์
ประกายสิทธิ์ Jatropha multifida Linn.
ลักษณะ ใบเหมือนใบปีบ หลังใบคล้ายกับใบขนุน ท้องใบสีหัวไพลแห้ง ก้านมีสีแดง ยางสีขาวเหมือนยางมะเดื่อ มี 2 ชนิด คือ หัวเล็ก และ หัวใหญ่
สรรพคุณ ทางสมุนไพร และทางคงกระพัน ใช้รักษาฝี เอาหัวมาตำผสมกับน้ำสุราแทรกสารส้มพอกที่หัวฝี และมีสรรพคุณทางคงกระพันอีกด้วย
หมายเหตุ ว่านนี้มีหลายชื่อ คือ ว่านปลากรายเหล็ก ว่านเขาควายเล็ก ว่านเขาคลายเหล็ก ว่านประกายสิทธิ์ ว่านกายสิทธิ์ ว่านประกายเหล็ก ว่านชนิดนี้ น่าจะเป็น ฝิ่นต้น หรือ หนุมานตัวผู้
พบในตำราของ
ชิตร์ วัฒนะ. ลักษณะว่าน. 2473, หน้า 12 เรียก ว่านประกายเล็ก-ใหญ่
ประพัฒนสรรพกร, หลวง. ตำหรับกระบิลว่าน. 2475, หน้า 10 เรียก ว่านปลากรายเหล็ก
ล. มหาจันทร์. คู่มือนักเล่นว่าน. 2480, หน้า 64-65 เรียก ว่านประกายสิทธิ์
ไพฑูรย์ ศรีเพ็ญ. ตำราสรรพคุณยาไทย. 2484, หน้า 78 เรียก ว่านเขาควายเล็ก,
หน้า 81 เรียก ว่านประกายเหล็ก (ซ้ำ)
ชัยมงคล อุดมทรัพย์. ตำราดูว่าน และพระเครื่อง-พระบรมธาตุ. 2503, หน้า 8 เรียก ว่านประกายเหล็ก
พยอม วิไลรัตน์. ตำรากบิลว่านและต้นไม้วิเศษนานาชนิด. 2504, หน้า 97 เรียก ว่านประกายเหล็ก,
หน้า 114 เรียก ว่านประกายสิทธิ์, หน้า 128-129 เรียก ว่านเขาคลายเหล็ก (ซ้ำ)
อุตะมะ สิริจิตโต. ตำราปลูกและดูลักษณะว่าน. 2505, หน้า 48-49 เรียก ว่านประกายสิทธิ์
ชั้น หาวิธี. ตำราว่านวิเศษอันศักดิ์สิทธิ์. 2506, หน้า 53 เรียก ว่านกายสิทธิ์,
หน้า 56 เรียก ว่านพระกายเหล็ก (ซ้ำ)
เลื่อน กัณหะกาญจนะ. ตำราคุณลักษณะว่านและวิธีดูแลว่าน. 2506, หน้า 102 เรียก ว่านเขาควายเล็ก,
หน้า 207 เรียก ว่านประกายเหล็ก (ซ้ำ)
สวิง กวีสุทธิ์, ร.ต. ตำรากบิลว่าน. 2508, หน้า 47 เรียก ว่านประกายเหล็ก
อาจารย์ญาณโชติ. คัมภีร์ไสยศาสตร์ฉบับสมบูรณ์. ไม่ปรากฏปีที่พิมพ์, หน้า 953 เรียก ว่านเขาคลายเหล็ก,
หน้า 978 เรียก ว่านประกายสิทธิ์, หน้า 978 เรียก ว่านประกายเหล็ก (ซ้ำ)
ปัดตลอด
ปัดตลอด Curcuma sp.
ลักษณะ หัวเล็กเหมือนว่านขอทอง แต่ไม่เกาะกันเป็นกลุ่ม หัวเลื้อยไปยาวเหมือนรากหญ้าคา และหัวเป็นข้อๆ ใบเหมือนขมิ้นขาว
สรรพคุณ ทางเสน่ห์เมตตามหานิยม ใช้ตำเป็นผงมีคุณในทางเสน่ห์มหานิยม และคงกระพันชาตรีด้วย ถ้าอยากรู้ว่าเป็นว่านแท้หรือไม่ ให้เอาหัวว่านมาตัดหัวตัดท้ายยาวประมาณ 4 นิ้ว เอาปูนทาข้างหนึ่ง อีกข้างหนึ่งที่ไม่ได้ทาจะพลอยแดงไปด้วยทันที จึงจะเป็นของแท้
ในตำราว่านกล่าวว่า ถ้าผู้ใดหาว่านทั้งสามดังต่อไปนี้ คือ ว่านขมิ้นขาว 1 ว่านปัดตลอด 1 ว่านเต่า 1 ไพรดำ 1 เมื่อครบแล้ว เอาหัวว่านทั้งสามใส่ครกตำผสมกัน ตั้งเคี่ยวเป็นน้ำมันสำหรับทาตา หรือใช้ในสิ่งที่เราพึงประสงค์สิ่งใด ย่อมได้สำเร็จดังประสงค์ทุกประการ ในการนี้ต้องทำการเสกว่านด้วยคาถา“ชินบัญชรฯ” ครั้งละ 108 คาบ และถ้ายิ่งได้สวดคาถานี้ทุกวันตลอดไตรมาส จึงจะเป็นพิธีที่เสร็จสมบูรณ์ตามตำรา สามารถประสิทธิ์ประสาทตามความปรารถนาของเจ้าของว่านทุกประการ
หมายเหตุ ว่านชนิดนี้เป็นคนละต้นกับ ว่านขมิ้นขาว ขมิ้นแดง (ปัดตลอด) ว่านต้นนี้ได้รับความอนุเคราะห์จาก คุณลำปาง ปาซิโร จังหวัดศรีสะเกษ
พบในตำราของ
ชั้น หาวิธี. ตำราว่านวิเศษอันศักดิ์สิทธิ์. 2506, หน้า 13
เลื่อน กัณหะกาญจนะ. ตำราคุณลักษณะว่านและวิธีดูแลว่าน. 2506, หน้า 205-206