งานเขึยน

หน้างสือ ว่าน สมุนไพร ไม้มงคลไทย

บ้านว่านไทย

narongsak

narongsak

Page 56 of 71« First...102030...5455565758...70...Last »

นเรศวร

นเรศวร   Boesenbergia  cf.  petiolata  Sirirugsa

          ลักษณะ  ต้น  ใบ  คล้ายกระชาย  แต่เล็กกว่า  สีม่วงคล้ำ  มีเส้นเป็นลายทางนิดๆ  หัวเป็นไหลเล็กๆ  ขนาดก้านไม้ขีดไฟ  ผิวดำสนิท  เนื้อในหัวขาวดังแป้ง

สรรพคุณ  ทางคงกระพัน  และทางคุ้มครอง  เป็นว่านที่มีอิทธิฤทธิ์คุ้มภัยอันตรายต่างๆ  คุ้มภูติผีปีศาจ  และเป็นว่านอยู่คงกระพันชาตรีอย่างวิเศษ  ปลูกไว้จะปลอดภัยจากอันตรายต่างๆ

หมายเหตุ  ภาพนี้ได้รับความอนุเคราะห์จาก  คุณพามิล  บรรณทอง  จังหวัดกรุงเทพมหานคร

พบในตำราของ

สมาน   คัมภีร์  และ  ทัศนา   ทัศนมิตร.  กบิลว่าน 108.  2516,  หน้า  82

นิลพัตร์

นิลพัตร์   Typhonium  sp.

ลักษณะ  ต้นและหัวเหมือนอุตพิต  ใบกลมไม่เป็นแฉกเหมือนอุตพิต  ถ้าผ่าหัวออกดูถูกแดดจะมีรัศมีพรายปรอทออกมา

สรรพคุณ  ทางคงกระพันชาตรี  ใช้หัวว่านนี้กินเนื้อหนังจะเกิดอาการซู่ซ่าชาไปหมดทั้งตัว  ถูกคนร้ายทุบตีฟันแทงไม่เข้าและไม่เจ็บ  ฝนว่านนี้ทาเท้า  มือ  ทำการชกต่อยแตะ  ผู้ถูกทำร้ายจะเจ็บปวดยิ่ง

นัก     ทาตามตัวนอนในกองไฟไม่ร้อน     ใช้ทาแข้งไก่ชนก็ได้    เมื่อจะใช้ว่านนี้ให้เสกด้วย  “อิติปิโส  ถึง  ภะคะวาติฯ”  สามจบ

หมายเหตุ  ว่านนี้  เขียนชื่อได้หลายอย่าง  คือ   ว่านนิลพัต   ว่านอินละพัด

พบในตำราของ

ชิตร์  วัฒนะ. ลักษณะว่าน. 2473, หน้า  13-14  เรียก  ว่านอินทะพัด

ประพัฒนสรรพกร,  หลวง.  ตำหรับกระบิลว่าน.  2475,  หน้า  12

ล. มหาจันทร์.  คู่มือนักเล่นว่าน.  2480,  หน้า  64   เรียก  ว่านนิลพัต

ไพฑูรย์   ศรีเพ็ญ.  ตำราสรรพคุณยาไทย.  2484,  หน้า  90  เรียก  ว่านอินละพัด

ชัยมงคล   อุดมทรัพย์. ตำราดูว่าน และพระเครื่อง-พระบรมธาตุ.  2503,  หน้า  7

พยอม   วิไลรัตน์.  ตำรากบิลว่านและต้นไม้วิเศษนานาชนิด.  2504,  หน้า  93

อุตะมะ   สิริจิตโต.  ตำราปลูกและดูลักษณะว่าน.  2505,  หน้า  52-53

ชั้น   หาวิธี.  ตำราว่านวิเศษอันศักดิ์สิทธิ์.  2506,  หน้า  33-34   เรียก  ว่านนิลพัตร

เลื่อน   กัณหะกาญจนะ.  ตำราคุณลักษณะว่านและวิธีดูแลว่าน.  2506,  หน้า  197-198

สวิง   กวีสุทธิ์,  ร.ต.  ตำรากบิลว่าน.  2508,  หน้า  43-44

อาจารย์ญาณโชติ.  คัมภีร์ไสยศาสตร์ฉบับสมบูรณ์.  ไม่ปรากฏปีที่พิมพ์,  หน้า  977

ว่านน้ำเล็ก

น้ำเล็ก  Acorus  calamus  L.

ลักษณะ  ใบเล็กยาวเหมือนกับใบข้าวแต่หนากว่า  มีสีแดง  ต้นก็มีสีแดง  หัวเล็กยาวมีรากเป็นเส้นเป็นขนเหมือนกับหางหมูตอนที่อยู่ใกล้ปลายอีกข้างหนึ่ง  ชอบขึ้นที่ริมน้ำแถบชายทะเล

สรรพคุณ  ทางสมุนไพร  เป็นยาแก้โรคในทรวงอก  แก้เส้นเอ็นพลิกแพลง  บำรุงโลหิต  ฝานหัวว่านเป็นชิ้นเล็กๆ บางๆ  อมแก้เจ็บคอ  แก้ไอได้ดี

หมายเหตุ  ว่านนี้มีหลายชื่อ  คือ  ว่านน้ำแดง  ว่านน้ำทะเล  หัวงอทะเล  อำพันหางหมู  ลำพันแดง  ว่านชนิดนี้เป็นคนละต้นกับ  ว่านเสน่ห์จันทน์หอม

พบในตำราของ

เลื่อน   กัณหะกาญจนะ.  ตำราคุณลักษณะว่านและวิธีดูแลว่าน.  2506,  หน้า  196

ว่านน้ำเต้าทอง

น้ำเต้าทอง   Hyacinthus  sp.

ลักษณะ  หัวคล้ายหอมหัวใหญ่  แตกหน่อคล้ายกับบอน  ใบเหมือนใบพลับพลึง  แต่เล็กกว่าสีเขียว  ท้องใบเป็นทาง  ดอกสีขาวคล้ายดอกจำปี

สรรพคุณ  ทางคงกระพันชาตรี  ใช้กินกับสุรา  หรือนำติดตัวไปก็ได้  เวลาจะใช้เสกด้วยพระเจ้า 5 พระองค์

หมายเหตุ   ว่านชนิดนี้เป็นคนละต้นกับ  ว่านเศรษฐีน้ำเต้าทอง (กวักเศรษฐี)

พบในตำราของ

พยอม   วิไลรัตน์.  ตำรากบิลว่านและต้นไม้วิเศษนานาชนิด.  2504,  หน้า  85-86

อุตะมะ   สิริจิตโต.  ตำราปลูกและดูลักษณะว่าน.  2505,  หน้า  90

ชั้น   หาวิธี.  ตำราว่านวิเศษอันศักดิ์สิทธิ์.  2506,  หน้า  31

เลื่อน   กัณหะกาญจนะ.  ตำราคุณลักษณะว่านและวิธีดูแลว่าน.  2506,  หน้า  195

สวิง   กวีสุทธิ์,  ร.ต.  ตำรากบิลว่าน.  2508,  หน้า  71

อาจารย์ญาณโชติ.  คัมภีร์ไสยศาสตร์ฉบับสมบูรณ์.  ไม่ปรากฏปีที่พิมพ์,  หน้า  974

Page 56 of 71« First...102030...5455565758...70...Last »

วงศ์ของว่าน :