ว่านน้ำ
น้ำ Acorus calamus L.
ลักษณะ เป็นพันธุ์ไม้ที่ชอบขึ้นตามที่มีน้ำขึ้นน้ำลง หรือพื้นที่มีน้ำขังเป็นที่ชื้นแฉะ ลำต้นแข็งเป็นข้อๆ สีแดงเรื่อ ยาวชอนไชไปตามดินเลน รากเล็กเป็นฝอย ใบเล็กยาว เป็นแผงแบบพัด แต่เล็ก มีกลิ่นหอม
สรรพคุณ ทางสมุนไพร เป็นยาต้มและยาผงผสมกับยาสมุนไพรทั่วไป ใช้รักษาโรคต่างๆ หัวว่านโขลกคั้นเอาน้ำผสมกับสุรากินแก้ปวดท้องและจุกเสียดแน่น เอาก้านใบต้มกินหรืออมแก้เจ็บคอ แก้หลอดลมและปอดอักเสบ เป็นยาแก้หอบหืดก็ได้
หมายเหตุ ว่านนี้มีหลายชื่อ คือ ว่านน้ำจืด ฮางคาวน้ำ หัวชะงอ ว่านน้ำขาว ว่านพระคงคา หัวงอ
พบในตำราของ
ล. มหาจันทร์. คู่มือนักเล่นว่าน. 2480, หน้า 63 เรียก ว่านน้ำ (คงคา)
ไพฑูรย์ ศรีเพ็ญ. ตำราสรรพคุณยาไทย. 2484, หน้า 81
พยอม วิไลรัตน์. ตำรากบิลว่านและต้นไม้วิเศษนานาชนิด. 2504, หน้า 85
อุตะมะ สิริจิตโต. ตำราปลูกและดูลักษณะว่าน. 2505, หน้า 50-51 เรียก ว่านน้ำ (พระคงคา)
ชั้น หาวิธี. ตำราว่านวิเศษอันศักดิ์สิทธิ์. 2506, หน้า
เลื่อน กัณหะกาญจนะ. ตำราคุณลักษณะว่านและวิธีดูแลว่าน. 2506, หน้า 191-193,
หน้า 225 เรียก ว่านพระคงคา (ซ้ำ)
สวิง กวีสุทธิ์, ร.ต. ตำรากบิลว่าน. 2508, หน้า 74
อาจารย์ญาณโชติ. คัมภีร์ไสยศาสตร์ฉบับสมบูรณ์. ไม่ปรากฏปีที่พิมพ์, หน้า 973
ว่านนารายณ์แปลง
นารายณ์แปลง Cornukaempferia longipetiolata.
ลักษณะ ใบและต้นมีจุดสีน้ำตาล ต้นและหัวคล้ายกระชาย ต่างกันที่ต้นและใบมีจุดเท่านั้น
สรรพคุณ มีอานุภาพคุ้มครองป้องกันอันตรายภัยพิบัติต่างๆ ปลูกไว้กับบ้านเป็นศิริมงคลดีนัก นำหัวถือติดตัวไปด้วยคงกระพันชาตรี
หมายเหตุ ว่านชนิดนี้ ผู้เขียนเคยเห็นอยู่ครั้งเดียว ต้นคล้ายเปราะ หรือกระชาย มีจุดเป็นวงกลม กระจายห่างๆ คล้ายจุดของ ต้นหอมเขียว (รวยไม่เลิก) ภาพนี้ได้รับความอนุเคราะห์จาก คุณดามษ์ เวบแมกโนเลียไทยแลนด์
พบในตำราของ
พยอม วิไลรัตน์. ตำรากบิลว่านและต้นไม้วิเศษนานาชนิด. 2504, หน้า 50-51
เลื่อน กัณหะกาญจนะ. ตำราคุณลักษณะว่านและวิธีดูแลว่าน. 2506, หน้า 177
อาจารย์ญาณโชติ. คัมภีร์ไสยศาสตร์ฉบับสมบูรณ์. ไม่ปรากฏปีที่พิมพ์, หน้า 977
ว่านนารายณ์แบ่งภาค
นารายณ์แบ่งภาค Curcuma sp.
ลักษณะ หัวเป็นแง่งๆ คล้ายหัวหอมใหญ่ หัวจะปอกได้เหมือนกาบกล้วย ใบเหมือนขมิ้นอ้อย แต่หนาและแข็ง
สรรพคุณ ทางคงกระพัน กินกับสุราคงกระพัน
ทางสมุนไพร เป็นยาแก้เลือด หัวโขลกผสมกับน้ำซาวข้าวกินแก้เลือด
หมายเหตุ ภาพนี้ได้รับความอนุเคราะห์จาก คุณณรงค์ศักดิ์ ค้านอธรรม จังหวัดกรุงเทพมหานคร
พบในตำราของ
พยอม วิไลรัตน์. ตำรากบิลว่านและต้นไม้วิเศษนานาชนิด. 2504, หน้า 50
ชั้น หาวิธี. ตำราว่านวิเศษอันศักดิ์สิทธิ์. 2506, หน้า 52
เลื่อน กัณหะกาญจนะ. ตำราคุณลักษณะว่านและวิธีดูแลว่าน. 2506, หน้า 176
อาจารย์ญาณโชติ. คัมภีร์ไสยศาสตร์ฉบับสมบูรณ์. ไม่ปรากฏปีที่พิมพ์, หน้า 976
ว่านนางอุมาควดี
นางอุมาควดี Hymenocallis sp.
ลักษณะ หัวกลมเหมือนหัวหอม ข้างในสีขาว ใบเหมือนใบพายแต่หนาและย่นสีเขียว ดอกสีขาว จะออกดอกในเดือนอ้าย เดือนยี่ ว่านนี้มีเทวดารักษา ชอบอยู่ในที่สะอาด
สรรพคุณ ทางเมตตามหานิยม มีอานุภาพเป็นศิริมงคล คุ้มครองปกป้องภัยพิบัติต่างๆ และเป็นเสน่ห์เมตตามหานิยม ทำให้เกิดโชคลาภอยู่เสมอ ใช้ปลูกไว้กับบ้านดีนัก เอาหัวมาแกะเป็นนางกวักนำติดตัวไปด้วยดีนัก เอาหัวว่านฝนกับน้ำซาวข้าวทาฝีต่างๆ หาย
หมายเหตุ ว่านนี้มีหลายชื่อ คือ ว่านมหาลาภ(ดอกขาว) ว่านสิบแสน
พบในตำราของ
อาจารย์ญาณโชติ. คัมภีร์ไสยศาสตร์ฉบับสมบูรณ์. ไม่ปรากฏปีที่พิมพ์, หน้า 974