ว่านเงินกระจาย
3. เงินกระจาย Globba obscura.
ลักษณะ ลำต้น ใบ เหมือนว่านเพชรกลับ แต่ไม่แดงเหมือนเพชรกลับ รากคล้ายกระชายแต่เล็กกว่า ดอกสีขาวเป็นช่อเกษรงอนยาว เมื่อดอกแก่เป็นเมล็ดคล้ายเมล็ดข้าวเปลือกเป็นพวง
สรรพคุณ ทางเสน่ห์เมตตามหานิยม เอามาโขลกผสมกับดินสอพองไว้เขียนอักขระลงพุทธคุณต่างๆ
หมายเหตุ ว่านนี้บางแห่งเรียกว่า ว่านเงินกระจาย ว่านพวงเงิน ว่านพวง
พบในตำราของ
สวิง กวีสุทธิ์, ร.ต. ตำรากบิลว่าน. 2508, หน้า 78
ว่านหงส์ทอง
2. หงส์ทอง Globba francisci Ridl.
ลักษณะ ลำต้น ใบ คล้ายข่า แต่ใบเล็กสั้นกว่า ดอกมีสีเหลืองเป็นช่อ มองดูคล้ายตัวหงส์ชะเง้อ หัวเหมือนหญ้าชันกาด
สรรพคุณ ทางเมตตามหานิยม ปลูกไว้เป็นว่านเมตตามหานิยม
หมายเหตุ ว่านนี้มีหลายชื่อ ว่านหงส์ทอง ว่านพระยาหงส์ทอง ว่านเจ้าพระยาหงส์ทอง ว่านนางพระยาหงส์ทอง
พบในตำราของ
สวิง กวีสุทธิ์, ร.ต. ตำรากบิลว่าน. 2508, หน้า 73
สมาน คัมภีร์ และ ทัศนา ทัศนมิตร. กบิลว่าน 108. 2516, หน้า 75
ว่านหงส์เงิน
1. หงส์เงิน Globba campsophylla K.Schum.
ลักษณะ ต้นเหมือนไพลขนาดเล็ก ใบขาวเป็นสีบรอนคล้ายทาด้วยเงิน ต้นขาวนวล ดอกเป็นช่อสีขาว หัวเป็นปุ่ม มีรากคล้ายกระชาย
สรรพคุณ ทางเมตตามหานิยม ปลูกไว้กับบ้านเป็นเมตตามหานิยมดีนัก จะเกิดโชคลาภอยู่เย็นเป็นสุข
หมายเหตุ ว่านนี้มีหลายชื่อ ว่านหงส์เงิน ว่านพระยาหงส์เงิน ว่านเจ้าพระยาหงส์เงิน ว่านนางพระยาหงส์เงิน ว่านหงส์ขาว
พบในตำราของ
ชั้น หาวิธี. ตำราว่านวิเศษอันศักดิ์สิทธิ์. 2506, หน้า 11 เรียก ว่านนางพญาหงส์ทอง
สวิง กวีสุทธิ์, ร.ต. ตำรากบิลว่าน. 2508, หน้า 74 เรียก ว่านหงส์ขาว
สมาน คัมภีร์ และ ทัศนา ทัศนมิตร. กบิลว่าน 108. 2516, หน้า 45 เรียก ว่านพระยาหงส์เงิน
นางพระยาหงส์ทอง
นางพระยาหงส์ทอง มี 6 แบบ
ลักษณะโดยรวม ต้น หัว และใบ คล้ายขิง(ข่า) ดอกคล้ายตัวหงส์เป็นพวง หรือเป็นช่อ สีขาว เหลือง แดง
สรรพคุณ ทางเสน่ห์เมตตามหานิยม มีอานุภาพทางโชคลาภเสน่ห์เมตตามหานิยม ปลูกไว้กับบ้านดีนัก เอาหัวว่านนำติดตัวไปก็ใช้ได้ เวลาจะใช้ว่านนี้เสกด้วยคาถา “นะมะอะอุ พุทธสังมิ นะชาลิติฯ” สามคาบ
พบในตำราของ
พยอม วิไลรัตน์. ตำรากบิลว่านและต้นไม้วิเศษนานาชนิด. 2504, หน้า 57 เรียก ว่านนางพญาหงส์ทอง
อุตะมะ สิริจิตโต. ตำราปลูกและดูลักษณะว่าน. 2505, หน้า 123-124 เรียก ว่านพญาหงส์ทอง
อาจารย์ญาณโชติ. คัมภีร์ไสยศาสตร์ฉบับสมบูรณ์. ไม่ปรากฏปีที่พิมพ์, หน้า 976
หมายเหตุ ตามความเห็นของผู้เขียนเข้าใจว่า ว่านชนิดนี้ ตำราคงหมายถึง ว่านในตระกูลดอกเข้าพรรษาทั้งหมด ซึ่งดอกเข้าพรรษาส่วนใหญ่จะพบสีเหลืองทองมากที่สุด และดอกมีลักษณะคล้ายหงส์ จึงเป็นที่มาของชื่อว่าน ซึ่งจริงๆแล้วมีหลายสีแต่ไม่ค่อยพบเห็นบ่อย ในปัจจุบันมีว่านตระกูลนี้หลายชื่อมากมาย เช่น หงส์เงิน หงส์ทอง เงินกระจาย ทองกระจาย นาคกระจาย หงส์เหิร เป็นต้น ทั้งหมดนี้ ก็จัดเป็นตระกูลว่านพระยาหงส์ทองด้วยกันทั้งสิ้น ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้