งานเขึยน

หน้างสือ ว่าน สมุนไพร ไม้มงคลไทย

บ้านว่านไทย

narongsak

narongsak

Page 6 of 71« First...45678...203040...Last »

ว่านหางนกยูง ต้นที่ 2

2. หางนกยูง   Anthrophyum  callifolium  Blume.

ลักษณะ   เป็นเฟิร์นเกาะต้นไม้  และหน้าหินผา  ใบยาวราว 1 – 2 คืบ  กว้าง 1.5 – 3 นิ้ว  ใบหนาแต่อ่อน และห้อยย่นๆ  ตามยาว  พบในป่าเขาที่ชุ่มชื้นร่มเย็นในระดับความสูงทางภาคใต้บ่อยๆ

สรรพคุณ  ปลูกเป็นไม้ประดับ

หมายเหตุ  ว่านนี้มีอีกชื่อ  เฟิร์นแววนกยูง   เฟิร์นปีกนกยูง

พบในตำราของ

เลื่อน   กัณหะกาญจนะ.  ตำราคุณลักษณะว่านและวิธีดูแลว่าน.  2506, หน้า  435

ว่านหางนกยูง ต้นที่ 1

หางนกยูง  มี 2 แบบ

1. หางนกยูง   Selaginella  siamensis  Hieron.

ลักษณะ   เป็นไม้ล้มลุก     ต้นเตี้ยๆ   สูงราว 15-30 ชม.    ใบเหลืองแถบเขียวเหมือนปีกแมลงทับ

สรรพคุณ  ทางสมุนไพร  ใช้ใบคั่วให้เกรียมชงน้ำร้อนกิน  กินต่างน้ำชา  แก้ไข้  และแก้ร้อนใน  เอาใบสดๆ ตำพอกแผล  ฝี  ทุกชนิดหายดี  หรือทานวด  แก้ลมขัดข้อ  เอากิ่งก้านใบเผาเป็นถ่านขี้เถ้า  ผสมน้ำมันมะพร้าว  ทาแก้ปวดหลัง  ปวดเมื่อย  เคล็ดยอก  ปวดบวมต่างๆ

หมายเหตุ  ว่านนี้มีอีกชื่อ  ผักนกยูง

พบในตำราของ

พยอม   วิไลรัตน์.  ตำรากบิลว่านและต้นไม้วิเศษนานาชนิด.  2504,  หน้า  87

เลื่อน   กัณหะกาญจนะ.  ตำราคุณลักษณะว่านและวิธีดูแลว่าน.  2506, หน้า  434

อาจารย์ญาณโชติ.  คัมภีร์ไสยศาสตร์ฉบับสมบูรณ์.  ไม่ปรากฏปีที่พิมพ์,  หน้า  1036

ว่านหางช้าง

หางช้าง  Belamcanda  chinensis  [L.]  DC.

ลักษณะ  ต้นและใบคล้ายหางช้าง  ใบสีเขียวรูปร่างแบน  ขึ้นมาเป็นแผงคล้ายพัด  แต่ปลายใบนั้นค่อนข้างจะแหลม  ดอกสีเหลืองปนแดง  ดอกหนึ่งมีห้ากลีบ

สรรพคุณ  ทางสมุนไพร  ต้มกินเป็นยาระบาย  แก้ระดูสตรีไม่ปกติ  ทำให้โลหิตสมบูรณ์ดี  ปลูกไว้ในบ้านป้องกันภูติผีปีศาจ  และภัยอันตรายอันเกิดจากคุณไสย  ที่ทำจากหนัง  เนื้อ  ผม  กระดูก  ที่เขาปล่อยมาด้วยเวทมนต์  ให้ลงอักขระคาถาพระเจ้า 5 พระองค์ใส่ในใบ  เสก 7 คาบ  ต้มกินแก้คุณไสยทุกชนิด

หมายเหตุ  ว่านนี้มีหลายชื่อ   ว่านมีดยับ   ว่านพัดแม่ชี   ว่านพัดนางชี  ภาพที่สองนี้ได้รับความอนุเคราะห์จาก  คุณณรงค์ศักดิ์   ค้านอธรรม  จังหวัดกรุงเทพมหานคร

พบในตำราของ

ไพฑูรย์   ศรีเพ็ญ.  ตำราสรรพคุณยาไทย.  2484,  หน้า  89

พยอม   วิไลรัตน์.  ตำรากบิลว่านและต้นไม้วิเศษนานาชนิด.  2504, หน้า  52  เรียก  ว่านพัดแม่ชี, หน้า  88 (ซ้ำ) 

อุตะมะ   สิริจิตโต.  ตำราปลูกและดูลักษณะว่าน.  2505,  หน้า  85-86

ชั้น   หาวิธี.  ตำราว่านวิเศษอันศักดิ์สิทธิ์.  2506,  หน้า  58  เรียก  ว่านพัดแม่ชี  

เลื่อน   กัณหะกาญจนะ.  ตำราคุณลักษณะว่านและวิธีดูแลว่าน.  2506,  หน้า  224  เรียก  ว่านพัดแม่ชี,

หน้า  432-433  (ซ้ำ)  

สวิง   กวีสุทธิ์,  ร.ต.  ตำรากบิลว่าน.  2508,  หน้า  56  เรียก  ว่านพัดแม่ชี  

อาจารย์ญาณโชติ.  คัมภีร์ไสยศาสตร์ฉบับสมบูรณ์.  ไม่ปรากฏปีที่พิมพ์,  หน้า   994-995   เรียก ว่านพัดแม่ชี,

หน้า  1034  (ซ้ำ)

ว่านหางจระเข้

หางจระเข้   Alo  vera  [L.]  Burm.f.

ลักษณะ  ใบหนาและยาว  ปลายใบแหลม  มีหนามแหลมๆ ตามริมขอบใบ  ใบสีเขียวมีกระสีขาว  ภายในเป็นวุ้นและมีเมือก  ใบแผ่ออกรอบโคนต้นพ้นดินเล็กน้อย  ก้านดอกจะแทงขึ้นมาจากกลางลำต้นเป็นก้านแข็งสูง  ดอกมีสีแดงอมเหลืองคล้ายดอกซ่อนกลิ่นตูมๆ

สรรพคุณ  ทางสมุนไพร  ใบผ่าออกตัดเป็นวงกลมเอาปูนแดงทาที่วุ้น  แล้วปิดขมับแก้ปวดหัว  ทำให้เย็น  ดูดพิษไข้  ขูดเอาวุ้นจากใบมาผสมกับสารส้มกินแก้หนองใน  เอาใบต้มกับน้ำตาลกรวด  กินแก้ร้อนในและแก้ความดันสูง    เอาแต่วุ้นสระฟอกผม    ทำให้รากผมเย็น    ดกดำสวยงาม     เอายางมาเคี่ยวทำเป็นยาดำ     เข้าตำรับยาสมุนไพรอื่นๆ

หมายเหตุ  ว่านชนิดนี้  บางตำราเรียก  ว่านหางตะเข้   ว่านหางจรเข้

พบในตำราของ

พยอม   วิไลรัตน์.  ตำรากบิลว่านและต้นไม้วิเศษนานาชนิด.  2504,  หน้า  86-87

เลื่อน   กัณหะกาญจนะ.  ตำราคุณลักษณะว่านและวิธีดูแลว่าน.  2506,  หน้า  430-431

สวิง   กวีสุทธิ์,  ร.ต.  ตำรากบิลว่าน.  2508,  หน้า  75   เรียก  ว่านหางตะเข้

อาจารย์ญาณโชติ.  คัมภีร์ไสยศาสตร์ฉบับสมบูรณ์.  ไม่ปรากฏปีที่พิมพ์,  หน้า  1035  เรียก  ว่านหางจรเข้

 

 

Page 6 of 71« First...45678...203040...Last »

วงศ์ของว่าน :