ว่านนางคุ้ม
นางคุ้ม Proiphys amboinensis [L.] Herb.
ลักษณะ หัวคล้ายหอมหัวใหญ่ ใบโตเหมือนใบอุตพิด ใบกลมใหญ่หนาคล้ายใบฟักทอง มีสีเขียวโศก มีดอกชูก้าน ดอกสีขาว มีกลิ่นหอมอ่อนๆ ก้านเขียวแก่ กอหนึ่งๆ มีหลายใบ
สรรพคุณ ทางคุ้มครอง ปลูกไว้กับบ้านป้องกันภัย และอันตรายต่างๆ เหมือนมีเกราะเพชรป้องกันภัยถึง 7 ชั้น
หมายเหตุ ว่านนี้มีหลายชื่อ คือ ว่านผู้เฒ่าเฝ้าบ้าน ว่านแม่เฒ่าเฝ้าเรือน
พบในตำราของ
ประพัฒนสรรพกร, หลวง. ตำหรับกระบิลว่าน. 2475, หน้า 45
ล. มหาจันทร์. คู่มือนักเล่นว่าน. 2480, หน้า 61
ไพฑูรย์ ศรีเพ็ญ. ตำราสรรพคุณยาไทย. 2484, หน้า 80
ชัยมงคล อุดมทรัพย์. ตำราดูว่าน และพระเครื่อง-พระบรมธาตุ. 2503, หน้า 39
พยอม วิไลรัตน์. ตำรากบิลว่านและต้นไม้วิเศษนานาชนิด. 2504, หน้า 56-57
อุตะมะ สิริจิตโต. ตำราปลูกและดูลักษณะว่าน. 2505, หน้า 44-45
ชั้น หาวิธี. ตำราว่านวิเศษอันศักดิ์สิทธิ์. 2506, หน้า 20
เลื่อน กัณหะกาญจนะ. ตำราคุณลักษณะว่านและวิธีดูแลว่าน. 2506, หน้า 184-185
สวิง กวีสุทธิ์, ร.ต. ตำรากบิลว่าน. 2508, หน้า 55-56
สมาน คัมภีร์ และ ทัศนา ทัศนมิตร. กบิลว่าน 108. 2516, หน้า 54
อาจารย์ญาณโชติ. คัมภีร์ไสยศาสตร์ฉบับสมบูรณ์. ไม่ปรากฏปีที่พิมพ์, หน้า 975
ว่านนางคำ ต้นที่ 3
3. นางคำ Curcuma aronatiea [Salisb.]
ลักษณะ ต้นเขียว กลางใบแดง เนื้อในหัวสีเหลืองเข้ม มีกลิ่นหอม มีรสฝาด ใบโตขนาดใบว่านคันทมาลา
สรรพคุณ ทางสมุนไพร ใช้ผสมยาแก้เคล็ดบวม หรือใช้ย้อมผ้า หัวใช้ฝนแก้เม็ดผื่นคัน กินเป็นยาขับลมในลำไส้ และแก้ปวดท้อง ใช้ตำแก้ฟกช้ำและข้อเคล็ด
พบในตำราของ
ประพัฒนสรรพกร, หลวง. ตำหรับกระบิลว่าน. 2475, หน้า 4
ไพฑูรย์ ศรีเพ็ญ. ตำราสรรพคุณยาไทย. 2484, หน้า 80
ชัยมงคล อุดมทรัพย์. ตำราดูว่าน และพระเครื่อง-พระบรมธาตุ. 2503, หน้า 18-19
พยอม วิไลรัตน์. ตำรากบิลว่านและต้นไม้วิเศษนานาชนิด. 2504, หน้า 56
อุตะมะ สิริจิตโต. ตำราปลูกและดูลักษณะว่าน. 2505, หน้า 60
ชั้น หาวิธี. ตำราว่านวิเศษอันศักดิ์สิทธิ์. 2506, หน้า 19, 60 (ซ้ำ)
เลื่อน กัณหะกาญจนะ. ตำราคุณลักษณะว่านและวิธีดูแลว่าน. 2506, หน้า 182-183
สวิง กวีสุทธิ์, ร.ต. ตำรากบิลว่าน. 2508, หน้า 50
สมาน คัมภีร์ และ ทัศนา ทัศนมิตร. กบิลว่าน 108. 2516, หน้า 48
อาจารย์ญาณโชติ. คัมภีร์ไสยศาสตร์ฉบับสมบูรณ์. ไม่ปรากฏปีที่พิมพ์, หน้า 976
ว่านนางคำ ต้นที่ 2
2. นางคำ Curcuma aeruginosa Roxb.
ลักษณะ ต้นเขียว ใบเขียว เนื้อในหัวมีสีเขียว (ขาว)
สรรพคุณ ทางคุ้มครอง ใช้แก้อิทธิฤทธิ์ว่านทั้งปวงได้ เพราะเป็นพระยาว่าน
หมายเหตุ ว่านนางคำชนิดนี้ น่าจะเป็นต้นเดียวกับ ว่านมรกต และเป็นคนละชนิดกับ ว่านนางคำขาว หรือ ว่านคันธมาลา เพราะ มีเส้นกลางใบสีแดง ซึ่งชนิดหลังนี้น่าจะเป็นต้นเดียวกับ ว่านคันธมาลาขาว
พบในตำราของ
ประพัฒนสรรพกร, หลวง. ตำหรับกระบิลว่าน. 2475, หน้า 4 (ระบุว่า เนื้อในหัวสีขาว)
ชัยมงคล อุดมทรัพย์. ตำราดูว่าน และพระเครื่อง-พระบรมธาตุ. 2503, หน้า 18-19
เลื่อน กัณหะกาญจนะ. ตำราคุณลักษณะว่านและวิธีดูแลว่าน. 2506, หน้า 182
สวิง กวีสุทธิ์, ร.ต. ตำรากบิลว่าน. 2508, หน้า 48-49 (ระบุว่า เนื้อในหัวสีขาว)
ว่านนางคำ ต้นที่ 1
1. นางคำ Curcuma sp.
ลักษณะ ต้นแดง ก้านแดง ครีบแดง หัวมีสีเหลืองดังขมิ้นเน่า ใบเรียวงาม
สรรพคุณ ว่านชนิดนี้เป็นพระยาว่าน ปลูกไว้กับบ้านเป็นศิริมลคล
ทางสมุนไพร เป็นยาแก้ฟกช้ำ บวมเคล็ดยอกตามร่างกาย โดยผสมกับน้ำมันงาหรือน้ำมันพืชทา กินแก้โรคหนองในเรื้อรัง แก้โรคท้องร่วง และใช้ทาเป็นยาสมานแผล โดยใช้หัวกินหรือทา แก้พิษว่านร้ายต่างๆ ได้อีกด้วย
หมายเหตุ ว่านชนิดนี้ ปัจจุบันเรียกว่า ว่านทองคำ
พบในตำราของ
ชิตร์ วัฒนะ. ลักษณะว่าน. 2473, หน้า 11
ประพัฒนสรรพกร, หลวง. ตำหรับกระบิลว่าน. 2475, หน้า 4
ล. มหาจันทร์. คู่มือนักเล่นว่าน. 2480, หน้า 65
ชัยมงคล อุดมทรัพย์. ตำราดูว่าน และพระเครื่อง-พระบรมธาตุ. 2503, หน้า 18-19
เลื่อน กัณหะกาญจนะ. ตำราคุณลักษณะว่านและวิธีดูแลว่าน. 2506, หน้า 182
สวิง กวีสุทธิ์, ร.ต. ตำรากบิลว่าน. 2508, หน้า 49