งานเขึยน

หน้างสือ ว่าน สมุนไพร ไม้มงคลไทย

บ้านว่านไทย

narongsak

narongsak

Page 61 of 71« First...102030...5960616263...70...Last »

ว่านนางกวัก ต้นที่ 2

2. นางกวัก   Alocasia  cucullata  Schott.

ลักษณะ   ก้าน  ต้น  ใบ  เหมือนเสน่ห์จันทน์เขียว  ปลายใบแหลมกวักลง  เหมือนใบโพธิ์

สรรพคุณ  ทางเมตตามหานิยม  ปลูกไว้กับบ้านทำให้เกิดศิริมงคล  มีโชคลาภ  เสน่ห์เมตตามหานิยม  ปลูกไว้หน้าร้านค้า  ขายของดี  มีคนมาซื้อข้าวของไม่ขาด  ทำให้ร่ำรวย  ทำมาหากินคล่อง

หมายเหตุ  ว่านมีหลายชื่อว่า  ว่านนางกวักใบโพธิ์  ว่านโพธิ์พุทธคยา ซึ่งเป็นคนละต้นกับ  ว่านเศรษฐีใบโพธิ์  ซึ่งมีลักษณะคล้ายกันมาก  ต่างกันที่ว่านนางกวัก  เส้นใบจะนูนขึ้นเห็นชัดเจน

พบในตำราของ

พยอม   วิไลรัตน์.  ตำรากบิลว่านและต้นไม้วิเศษนานาชนิด.  2504,  หน้า  55   เรียก  ว่านนางกวัก  อีกชนิด

สมาน   คัมภีร์  และ  ทัศนา   ทัศนมิตร.  กบิลว่าน 108.  2516,  หน้า  70   เรียก  ว่านนางกวักใบโพธิ์

อาจารย์ญาณโชติ.  คัมภีร์ไสยศาสตร์ฉบับสมบูรณ์.  ไม่ปรากฏปีที่พิมพ์,  หน้า  975   เรียก  ว่านนางกวัก  อีกชนิด

 

ว่านนางกวัก ต้นที่ 1

1. นางกวัก   Curcuma  sp.

ลักษณะ  ต้นเหมือนขมิ้นอ้อย  ครีบแดง  ลำต้นสีแดงหม่น  ยอดแดง  ใบสีเขียวเข้มมีเส้นใยมาก  บางตำราใบก็สีแดงหม่น  ใบม้วนเข้าหาลำต้นห้อยลงถึงดิน    หัวเหมือนกระเทียม

สรรพคุณ  ว่านชนิดนี้ มีอานุภาพมาก ให้ทำกระทง 3 มุม  ใส่เหล้า  ข้าว  เนื้อปลา  หมากสามคำ ทำพลีกรรมเสียก่อน  เสกด้วย  “นะโมพุทธายะ”  3-7 คาบ รดน้ำให้รอบต้นแล้วจึงขุด  นำหัวว่านมาแกะเป็นรูปนางกวัก

ทางเมตตามหานิยม  ว่านนี้ถือกันว่าเป็นว่านเสน่ห์  ปลูกไว้หน้าร้านขายของดีนัก  ถ้าจะให้เป็นเสน่ห์ให้ทำดังนี้  เอาหัวว่านนี้ล้างให้สะอาดแล้วเอาใส่พาน  แล้วตัวเราก็ต้องนุ่งขาวห่มขาวสมาทานศีลห้าทำตนให้เป็นผู้ปราศจากมลทินแล้วจึงเอาหัวว่านจากในพานมาภาวนาปลุกเสกด้วย“นะโมพุทธายะนะมะพะทะฯ”  สัก 9 คาบ  แล้วปลุกด้วยคาถานี้  “ติวาคะภะ  โธพุทธนังสานุสมะ  วะเทถาสัตถิระ  สามะธัมสะริปุ  โรตะนุตอะทูวิกะโลโตคะสุ  โนปันสัมนะระจะชาวิช  โธพุทธสัมมาสัมหังระอะ  วาคะภะโสปิติอิฯ”  จนครบ 108 คาบ  ท่านกล่าวไว้ว่าดีนักทำอะไรจะสมความปรารถนา  ผู้คนจะมีความรักความเมตตาเราอยู่เสมอ

ทางแคล้วคลาด    นำหัวว่านมาเสกด้วย  “นะโมพุทธายะ”  108 คาบ  เอาหัวว่านห่อผ้าเช็ดหน้าโพกศรีษะ  สามารถล่องหนหายตัวได้

หมายเหตุ  ภาพนี้ได้รับความอนุเคราะห์จาก  คุณปิยะ   รุ่งเรืองเสาวภาคย์  จังหวัดกรุงเทพมหานคร

พบในตำราของ

ชิตร์  วัฒนะ. ลักษณะว่าน. 2473, หน้า  10-11, หน้า  16 (ซ้ำ)

ประพัฒนสรรพกร,  หลวง.  ตำหรับกระบิลว่าน.  2475,  หน้า  13

ล. มหาจันทร์.  คู่มือนักเล่นว่าน.  2480,  หน้า 19-20

ไพฑูรย์   ศรีเพ็ญ.  ตำราสรรพคุณยาไทย.  2484,  หน้า   80  เรียก  ว่านนางกวัก  และ  นางกวักอีกชนิด  (ซ้ำ)

ชัยมงคล   อุดมทรัพย์. ตำราดูว่าน และพระเครื่อง-พระบรมธาตุ.  2503,  หน้า  15-16

พยอม   วิไลรัตน์.  ตำรากบิลว่านและต้นไม้วิเศษนานาชนิด.  2504,  หน้า  54-55

อุตะมะ   สิริจิตโต.  ตำราปลูกและดูลักษณะว่าน.  2505,  หน้า  73-75

เลื่อน   กัณหะกาญจนะ.  ตำราคุณลักษณะว่านและวิธีดูแลว่าน.  2506,  หน้า  179-180

สวิง   กวีสุทธิ์,  ร.ต.  ตำรากบิลว่าน.  2508,  หน้า  47-49

อาจารย์ญาณโชติ.  คัมภีร์ไสยศาสตร์ฉบับสมบูรณ์.  ไม่ปรากฏปีที่พิมพ์,  หน้า  174-175

 

ว่านนาคราช ต้นที่ 4

4. นาคราชปิ่นแก้ว   Aporocactus  flagelliformis  Lem.

ลักษณะ  เป็นเถานิ่มสีแดงเรื่อๆ  ชอบขึ้นอยู่ตามต้นไม้สูงๆ  ไม่มีใบ  ที่เถาเป็นจุดหนามเล็กๆ อยู่ทั่วไป

สรรพคุณ  ทางสมุนไพร  แก้พิษงูร้าย  ใช้น้ำซาวข้าวเป็นกระสาย  เอามารับประทาน  ส่วนกากเอาปิดที่แผล

พบในตำราของ

สวิง   กวีสุทธิ์,  ร.ต.  ตำรากบิลว่าน.  2508,  หน้า  47

ว่านนาคราช ต้นที่ 3

3. นาคราชงูเขียว   Aporocactus  flagelliformis  Lem.

ลักษณะ  เป็นเถานิ่มสีเขียวคล้ำ  ชอบขึ้นอยู่ตามต้นไม้สูงๆ  ไม่มีใบ  ที่เถาเป็นจุดหนามเล็กๆ อยู่ทั่วไป

สรรพคุณ  ทางสมุนไพร  แก้พิษงูร้าย  ใช้น้ำซาวข้าวเป็นกระสาย  เอามารับประทาน  ส่วนกากเอาปิดที่แผล

พบในตำราของ

สวิง   กวีสุทธิ์,  ร.ต.  ตำรากบิลว่าน.  2508,  หน้า  46

Page 61 of 71« First...102030...5960616263...70...Last »

วงศ์ของว่าน :