งานเขึยน

หน้างสือ ว่าน สมุนไพร ไม้มงคลไทย

บ้านว่านไทย

narongsak

narongsak

Page 63 of 71« First...102030...6162636465...70...Last »

ว่านนกยูง ต้นที่ 2

นกยูง   Helminthostachy  zeylanica  [L.]  Hook.

ลักษณะ  เป็นเฟิร์นชนิดหนึ่งขึ้นจากดิน  เหง้าเรียวนอน  ใบเดี่ยวอยู่ปลายลำ  ต้นใหญ่กว้างและแฉกลึกเป็นหลายแฉก  ขนาดเท่าฝ่ามือหรือกว่านั้น  ดอกเขียวๆ เหลืองๆเป็นช่อเรียวยาว  อยู่ปลายลำต้น

สรรพคุณ  ทางสมุนไพร  เหง้าใช้แก้พิษงู  ใช้เคี้ยวกับหมากเป็นยาบำรุง  ใช้เป็นยาแก้ไข้  แก้กามโรค  รักษาบิด  เยื่อจมูกอักเสบ  วัณโรคในระยะแรก  โรคไอกรน

หมายเหตุ  ว่านนี้มีหลายชื่อ  คือ ว่านพระยานกยูง  ผักตีนกวาง  กูดซัง  กูดจ้อง  ผักนกยูง  ผักตีนฮุ้ง  ตีนนกยูง

พบในตำราของ

เลื่อน   กัณหะกาญจนะ.  ตำราคุณลักษณะว่านและวิธีดูแลว่าน.  2506,  หน้า  254   เรียก   ว่านพระยานกยูง

ว่านนกยูง ต้นที่ 1

นกยูง   Maranta  arundinacea  L.  cv.  Variegata

ลักษณะ  ต้น ใบ  หัว  คล้ายต้นสาคู  แต่ใบเป็นลายคล้ายขนนกยูง  หัวสีเทา

สรรพคุณ  ทางเสน่ห์เมตตามหานิยม  นำติดตัวไปด้วย  หรือบดเป็นผงผสมกับขี้ผึ้ง  น้ำมันจันทน์  น้ำมันหอม  ใช้เจิมหน้าสีปาก  เป็นมหาเสน่ห์ดีนัก

พบในตำราของ

พยอม   วิไลรัตน์.  ตำรากบิลว่านและต้นไม้วิเศษนานาชนิด.  2504,  หน้า  110

อุตะมะ   สิริจิตโต.  ตำราปลูกและดูลักษณะว่าน.  2505,  หน้า  81

ชั้น   หาวิธี.  ตำราว่านวิเศษอันศักดิ์สิทธิ์.  2506,  หน้า  19

เลื่อน   กัณหะกาญจนะ.  ตำราคุณลักษณะว่านและวิธีดูแลว่าน.  2506,  หน้า  174

อาจารย์ญาณโชติ.  คัมภีร์ไสยศาสตร์ฉบับสมบูรณ์.  ไม่ปรากฏปีที่พิมพ์,  หน้า  973

ว่านนกคุ้ม ต้นที่ 2

นกคุ้ม   Calathea  picturata.

ลักษณะ  ใบเหมือนใบขนุน  หลังใบสีแดง  หน้าใบเป็นลายคล้ายปีกนกสามปีก  ต้นสูงประมาณหนึ่งคีบ  ต้นสีเหลืองอ่อน

สรรพคุณ  ทางคุ้มครอง  ปลูกไว้กับบ้านป้องกันไฟไหม้  และป้องกันอันตรายต่างๆ

พบในตำราของ

พยอม   วิไลรัตน์.  ตำรากบิลว่านและต้นไม้วิเศษนานาชนิด.  2504,  หน้า  56

ชั้น   หาวิธี.  ตำราว่านวิเศษอันศักดิ์สิทธิ์.  2506,  หน้า  20

เลื่อน   กัณหะกาญจนะ.  ตำราคุณลักษณะว่านและวิธีดูแลว่าน.  2506,  หน้า  173  เรียก  ว่านนกคุ้ม  อีกชนิด

สมาน   คัมภีร์  และ  ทัศนา   ทัศนมิตร.  กบิลว่าน 108.  2516,  หน้า  78

อาจารย์ญาณโชติ.  คัมภีร์ไสยศาสตร์ฉบับสมบูรณ์.  ไม่ปรากฏปีที่พิมพ์,  หน้า  975

ว่านนกคุ้ม ต้นที่ 1

1. นกคุ้ม   Kaempferia  elegans  [Wall.]  Baker

ลักษณะ  ต้น  ใบ  และหัว  คล้ายขมิ้น  มีลายบนหลังใบคล้ายลายขนนกฮูก  ก้านใบสีเขียว  มีสีแดงเรื่อผสมเล็กน้อย  หัวคล้ายหัวขมิ้นมีแง่งยาวตามหัว  เวลาแตกหน่อก็แตกออกจากแง่งนี้

สรรพคุณ  ทางคุ้มครอง  คุ้มภัยอันตรายได้ทุกชนิด   ปลูกไว้กับบ้านป้องกันไฟไหม้

ทางสมุนไพร  และทางคงกระพัน  ใช้แก้พิษถูกอสรพิษขบกัดทุกชนิด  และเป็นคงกระพันชาตรีอีกด้วย

หมายเหตุ   ว่านนี้  บางตำรา  เรียก  ว่านเสือสามทุ่ง

พบในตำราของ

ไพฑูรย์   ศรีเพ็ญ.  ตำราสรรพคุณยาไทย.  2484,  หน้า  80

พยอม   วิไลรัตน์.  ตำรากบิลว่านและต้นไม้วิเศษนานาชนิด.  2504,  หน้า  106  เรียก  ว่านเสือสามทุ่ง

อุตะมะ   สิริจิตโต.  ตำราปลูกและดูลักษณะว่าน.  2505,  หน้า  87-88

เลื่อน   กัณหะกาญจนะ.  ตำราคุณลักษณะว่านและวิธีดูแลว่าน.  2506, หน้า 173, หน้า 416 เรียก ว่านเสือสามทุ่ง

สวิง   กวีสุทธิ์,  ร.ต.  ตำรากบิลว่าน.  2508,  หน้า  56

สมาน   คัมภีร์  และ  ทัศนา   ทัศนมิตร.  กบิลว่าน 108.  2516,  หน้า  42   เรียก  ว่านเสือสามทุ่ง

อาจารย์ญาณโชติ.  คัมภีร์ไสยศาสตร์ฉบับสมบูรณ์.  ไม่ปรากฏปีที่พิมพ์,  หน้า  1020  เรียก  ว่านเสือสามทุ่ง

Page 63 of 71« First...102030...6162636465...70...Last »

วงศ์ของว่าน :