งานเขึยน
หน้างสือ ว่าน สมุนไพร ไม้มงคลไทย
บ้านว่านไทย

พระยางู

พระยางู  Phyllanthus mirabilis Mull. Arg.

ลักษณะ  ต้นเหมือนผักโหม  ใบเหมือนใบชุมเห็ด  ยางสีเหลือง  (บางตำรากล่าวเพิ่มเติมว่า  ดอกเหมือนดอกพลับพลึงขาว  ดอกเดียวมีหกกลีบ  ขอบดอกชั้นในมีเกษรเป็นงวง  และที่แกนกลางดอกมีอีกหนึ่งก้านยาวกว่าเพื่อน  โคนใบซ้อนกันเป็นใบตะใคร้ – ลักษณะต้นในวงเล็บผู้เขียนคิดว่าเป็นต้นเดียวกับ  ว่านจักรไกร)

สรรพคุณ ทางเล่นแร่แปรธาตุ ใช้ยางกวนกับปรอททำให้ปรอทตายเป็นกายสิทธิ์

ทางสมุนไพร  เอารากมาโขลกคั้นน้ำกินเป็นยาถ่ายพยาธิ  และริดสีดวงงอกในทวาร  เอาใบมาต้มอาบแก้โรคผิวหนัง  หิด  ผื่นคัน  อมแก้ปวดฟัน  เอาใบมาอังไฟ เอาน้ำหยอดหู แก้โรคน้ำหนวกและปวดหู

หมายเหตุ  ว่านนี้มีอีกชื่อหนึ่งว่า  ว่านงู   ว่านชนิดนี้  น่าจะเป็น  ไม้โขด ชนิดหนึ่ง  ที่ขึ้นตามริมผา  มักเป็นอาหารของกระจง  มีชื่อทางการค้าว่า  มะยมเงินมะยมทอง  หรือ  ขี้เหล็กฤาษี         ภาพนี้ได้รับความอนุเคราะห์จาก

คุณพามิล   บรรณทอง  จังหวัดกรุงเทพมหานคร

พบในตำราของ

ชิตร์  วัฒนะ. ลักษณะว่าน. 2473, หน้า  8

ประพัฒนสรรพกร,  หลวง.  ตำหรับกระบิลว่าน.  2475,  หน้า  25

ไพฑูรย์   ศรีเพ็ญ.  ตำราสรรพคุณยาไทย.  2484,  หน้า  84

ชัยมงคล   อุดมทรัพย์. ตำราดูว่าน และพระเครื่อง-พระบรมธาตุ.  2503,  หน้า  18

พยอม   วิไลรัตน์.  ตำรากบิลว่านและต้นไม้วิเศษนานาชนิด.  2504,  หน้า  74-75

อุตะมะ   สิริจิตโต.  ตำราปลูกและดูลักษณะว่าน.  2505,  หน้า  17

เลื่อน   กัณหะกาญจนะ.  ตำราคุณลักษณะว่านและวิธีดูแลว่าน.  2506,  หน้า  246-247

อาจารย์ญาณโชติ.  คัมภีร์ไสยศาสตร์ฉบับสมบูรณ์.  ไม่ปรากฏปีที่พิมพ์,  หน้า  989

 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

You may use these HTML tags and attributes: <a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <strike> <strong>

Spam Protection by WP-SpamFree

วงศ์ของว่าน :