ว่านสบู่เลือดเถา ต้นที่ 1
สบู่เลือดเถา มี 2 แบบ
1. สบู่เลือดตัวผู้ Stephania venosa [Blume.]
ลักษณะ ต้นเป็นเถาว์ ใบคล้ายใบตำลึง แต่สั้นกว่า หลังใบมีเส้นสีแดงเหมือนเลือด หัว เถาว์ ก้าน ใบ เมื่อเด็ดออกจะมียางสีแดงเหมือนเลือดไหลออกมา หัวยาวเหมือนว่านเสน่ห์จันทน์ หรือหัวมันสำปะหลัง
สรรพคุณ ทางคงกระพัน ใช้ในทางอยู่คงกระพันชาตรีวิเศษนัก เอายางมาสักตามร่างกาย หรือกินหัวทำให้อยู่คงกระพันชาตรี
ทางสมุนไพร ใบ หัว กินมีรสขมชุ่มคอเหมือนดอกสะเดา ไม่คันคอรสอร่อยซ่าๆ ยังเป็นยาบำรุงโลหิตดีนัก เอาหัว เถาว์ ใบ ดองกับสุรา เป็นยาบำรุงกำลังและโลหิตพิการด้วย เอาหัว ใบ เถาว์ อย่างใดอย่างหนึ่งบดเป็นผง
หมายเหตุ ว่านชนิดนี้เรียกว่า ว่านเลือด ว่านกระท่อมเลือด แต่ถ้าหัวกลมจะเป็น ว่านหมูกลิ้ง
พบในตำราของ
ประพัฒนสรรพกร, หลวง. ตำหรับกระบิลว่าน. 2475, หน้า 42-43 เรียก ว่านกระท่อมเลือด อย่างแดง
ชัยมงคล อุดมทรัพย์. ตำราดูว่าน และพระเครื่อง-พระบรมธาตุ. 2503, หน้า 40 เรียก ว่านกระท่อมเลือด
พยอม วิไลรัตน์. ตำรากบิลว่านและต้นไม้วิเศษนานาชนิด. 2504, หน้า 27-28 เรียก ว่านสบู่เลือดเถาว์,
หน้า 125 เรียก เรียก ว่านกระท่อมเลือด ยางแดง
อุตะมะ สิริจิตโต. ตำราปลูกและดูลักษณะว่าน. 2505, หน้า 9-10 เรียก ว่านสบู่เลือด ชนิดเถา,
หน้า 103-104 เรียก ว่านกะท่อมเลือด ชนิดแดง
ชั้น หาวิธี. ตำราว่านวิเศษอันศักดิ์สิทธิ์. 2506, หน้า 26 เรียก ว่านสบู่เลือดตัวผู้, หน้า 60 เรียก ว่านกระท่อมเลือด
เลื่อน กัณหะกาญจนะ. ตำราคุณลักษณะว่านและวิธีดูแลว่าน. 2506, หน้า 64-65
เรียก ว่านกระท่อมเลือด ชนิดแดง, หน้า 377-378 เรียก ว่านสบู่เลือด ชนิดตัวผู้
สวิง กวีสุทธิ์, ร.ต. ตำรากบิลว่าน. 2508, หน้า 25 เรียก ว่านสบู่เลือด ชนิดแดง
อาจารย์ญาณโชติ. คัมภีร์ไสยศาสตร์ฉบับสมบูรณ์. ไม่ปรากฏปีที่พิมพ์, หน้า 939
เรียก ว่านกระท่อมเลือด ชนิดยางแดง, หน้า 1022-1023 เรียก ว่านสบู่เลือดเถาว์ตัวผู้