ว่านสมอ
สมอ Homalomena sp.
ลักษณะ ต้นคล้ายลำเจียกหรือต้นเตย ใบเหมือนใบละหุ่ง หัวเหมือนหัวกระทือ กลิ่นหอมเย็นเหมือนกลิ่นเจตมูลเพลิง
สรรพคุณ ทางเล่นแร่แปรธาตุ เป็นยาฆ่าปรอทตาย เอาหัวมาผสมกวนกับปรอททำให้ปรอทแข็งตัว เป็นกายสิทธิ์ หรือเอารากหนัก 1 บาท ปรอทหนัก 1 บาท ใส่ขวดแล้วเอาดินพอก สุมไฟแกลบไว้ 3 วัน ปรอทนั้นตาย
หมายเหตุ ว่านชนิดนี้ น่าจะเป็นเสน่ห์จันทน์ป่าชนิดหนึ่ง คุณลุงเกษม อินทร์ชัยญะ เล่าความเชื่อของคนสมัยก่อนให้ฟังว่า บอนส้ม (พืชตระกูลเดียวกับเสน่ห์จันทน์) ที่ขึ้นในถ้ำตรงบริเวณปากถ้ำที่มีน้ำไหลผ่าน ถ้าน้ำหัวมาฝนกับโลหะจะกลายเป็นเงิน ผู้เขียนคิดว่า บอนส้ม ที่ว่านี้ น่าจะเป็นต้นเดียวกับ ว่านสมอ
พบในตำราของ
ชิตร์ วัฒนะ. ลักษณะว่าน. 2473, หน้า 9
ประพัฒนสรรพกร, หลวง. ตำหรับกระบิลว่าน. 2475, หน้า 26
ล. มหาจันทร์. คู่มือนักเล่นว่าน. 2480, หน้า 48
ไพฑูรย์ ศรีเพ็ญ. ตำราสรรพคุณยาไทย. 2484, หน้า 89
ชัยมงคล อุดมทรัพย์. ตำราดูว่าน และพระเครื่อง-พระบรมธาตุ. 2503, หน้า 32
พยอม วิไลรัตน์. ตำรากบิลว่านและต้นไม้วิเศษนานาชนิด. 2504, หน้า 124-125
อุตะมะ สิริจิตโต. ตำราปลูกและดูลักษณะว่าน. 2505, หน้า 64-65
เลื่อน กัณหะกาญจนะ. ตำราคุณลักษณะว่านและวิธีดูแลว่าน. 2506, หน้า 364
สวิง กวีสุทธิ์, ร.ต. ตำรากบิลว่าน. 2508, หน้า 29
อาจารย์ญาณโชติ. คัมภีร์ไสยศาสตร์ฉบับสมบูรณ์. ไม่ปรากฏปีที่พิมพ์, หน้า 1020