ว่านพระยากาสัก
ว่านพระยากาสัก Leea macrophylla Roxb. Ex Hornem.
ลักษณะ ใบเหมือนใบสัก แต่ใบเป็นมันไม่สากเหมือนใบสัก ลำต้นเป็นปล้องเหมือนไม้สัก แต่เล็กและไม่สูง หัวหรือรากเหมือนหัวมันสัมปะหลัง มี 2 ชนิด คือ ต้นเขียว และต้นแดง
สรรพคุณ ทางคงกระพัน ใช้หัวและใบกิน หรือนำติดตัวไป หรือฝนผสมกับหมึกสัก ทำให้คงทนต่อศาสตราวุธทั้งปวง เวลาจะใช้เอาหัวว่านมาเสกด้วยคาถา “อุทธัง อุทโธ นะโมพุทธายะ” 7 คาบ
ทางคุ้มครอง ปลูกไว้กับบ้านป้องกันภัยอันตรายต่างๆ ได้ เป็นศิริมงคลร่มเย็นเป็นสุข
หมายเหตุ ว่านนี้มีหลายชื่อ คือ เสือนั่งร่ม เสือร้องไห้ ว่านหอกหล่อ ว่านพระยากาสัก
พบในตำราของ
พยอม วิไลรัตน์. ตำรากบิลว่านและต้นไม้วิเศษนานาชนิด. 2504, หน้า 121
ชั้น หาวิธี. ตำราว่านวิเศษอันศักดิ์สิทธิ์. 2506, หน้า 54
เลื่อน กัณหะกาญจนะ. ตำราคุณลักษณะว่านและวิธีดูแลว่าน. 2506, หน้า 71
สวิง กวีสุทธิ์, ร.ต. ตำรากบิลว่าน. 2508, หน้า 68 เรียก ว่านกาสัก, 76 เรียก ว่านกาสักแดง
สมาน คัมภีร์ และ ทัศนา ทัศนมิตร. กบิลว่าน 108. 2516, หน้า 55
อาจารย์ญาณโชติ. คัมภีร์ไสยศาสตร์ฉบับสมบูรณ์. ไม่ปรากฏปีที่พิมพ์, หน้า 940