งานเขึยน
หน้างสือ ว่าน สมุนไพร ไม้มงคลไทย
บ้านว่านไทย

ว่าน กวักแม่ทองใบ

ชื่อว่าน:  ว่านกวักแม่ทองใบ

ชื่อวิทยาศาสตร์ของว่าน:  Hymenocalis sp.

วงศ์ของว่าน:  AMARYLLIDACEAE

ชื่ออื่นๆ:  ว่านกวักใบพาย กวักทองใบ

 

 

ลักษณะลำต้น/ราก:  ลำต้นใต้ดินลักษณะคล้ายหัวหอม กาบใบที่เป็นลำต้นเทียมสูงประมาณ2นิ้ว

ใบ:  มีส่วนของก้านใบต่อจากกาบใบที่เป็นลำต้นเทียมให้เห็นประมาณ2-4นิ้วขึ้นในลักษณะแยกออกเป็นสองฝั่งตรงข้ามกัน ใบรียาวรูปหอก(ส่วนที่กว้างที่สุดของใบค่อนไปทางปลายใบ) ปลายใบแหลม โบราณว่าดูคล้ายพายกวนขนมจึงได้อีกชื่อว่ากวักใบพาย

ดอก:  แทงก้านช่อดอกขึ้นจากยอด ช่อดอกทรงซี่ร่ม ดอกสีขาวมี 6กลีบ เรียวยาว เกษรสีเหลือง มีกลิ่นหอม

 

สภาวะการปลูก:  ดินระบายน้ำดี  แดดปานกลาง

การขยายพันธุ์:  ขยายพันธุ์ด้วยหัว

 

การใช้ประโยชน์:

ปลูกเป็นไม้ประดับ

 

ความเชื่อ:  ปลูกไว้เป็นศิริมงคล เมตตามหานิยม ค้าขายดี หากปลูกดีๆ จะมีโชคลาภหลั่งไหลมามิได้ขาด อันเป็นที่ประจักษ์ มาแต่โบราณถือเป็นว่านในระดับแนวหน้า ยามรดน้ำใช้คาถา”มหาลาโภโหนตุ ภวันตุเม” หรือตำหรับหลวงปู่ศุขใช้”พฤกษา มหาพฤกษา ฤาษีเทวา ประสิทธิเม นะมะพะทะ นะโมพุทธายะ อาโก วาโย ปฏวี เตโช”

 

หมายเหตุ:  ว่านต้นนี้ มีการแปรผันของรูปแบบของใบและก้านใบที่แตกต่างกันเกือบสามสิบรูปแบบ ในช่วงประมาณปี 2520 มีการให้ชื่อต่างๆ กันออกไปเป็นที่ยากแก่การจำแนกและจดจำยิ่งนัก เพื่อมิให้สับสนจึงขอประมวลและจำแนกเพื่อให้ชัดเจนตามลักษณะหลักถึงแม้ว่าจะคล้ายคลึงกันมาก ออกเป็น 4 ชนิดด้วยกัน คือ 1กวักทองใบ(กวักใบพาย) 2 สิทธิโชค(เรวดี) 3 มหาสิทธิโชค(ฉัตรมงคล) 4 ฉัตรทอง นอกจากนี้ พืชในตระกูลเดียวกันนี้แต่สามารถแยกลักษณะออกได้ชัดเจนอีก 3ชนิด คือ 1 เศรษฐีใบพาย(หงษาไทย,ภควบดี) 2 สิบแสน (อุมาวดี) 3  เศรษฐีพายทอง(โภคสังกร,โภกวดี) ซึ่งจะได้แสดงรายละเอียดตามแต่ละว่านต่อไป

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

You may use these HTML tags and attributes: <a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <strike> <strong>

Spam Protection by WP-SpamFree

วงศ์ของว่าน :