ชื่อว่าน: ว่าน กงจักรพระอินทร์
ชื่อวิทยาศาสตร์ของว่าน: Curcuma sp.
วงศ์ของว่าน: ZINGIBERACEAE
ชื่ออื่นๆ:
ลักษณะลำต้น/ราก: ลำต้นใต้ดินเป็นเหง้าทรงรูปไข่ และแตกแง่งออกสองข้าง ต้นที่สมบูรณ์มากๆ เหง้าและแง่งมีลักษณะโดยรวมคล้ายกงจักร
ใบ: เหมือนขมิ้น มีแถบสีแดงกลางใบ
ดอก: ช่อคล้ายดอกกระเจียวช่วงล่าง มีสีเขียวช่วงบนมีสีชมพู-แดง ดอกแท้สีเหลือง ออกดอกจากลำต้นใต้ดิน
สภาวะการปลูก: ดินระบายน้ำดี แดดรำไร พักตัวในฤดูแล้ง
การขยายพันธุ์: เหง้า แง่ง หรือแยกหน่อจากต้น
การใช้ประโยชน์: ใช้ในทางรักษาโรคตาโดยเฉพาะ แก้ตาแดง, ตามัว, ตาต้อ, ตาริดสีดวง, ตาแดงและตาแฉะ เอาหัวว่านมาปอกแล้วปิ้งไฟพอเกรียมทั่ว แล้วจึงเอาดองกับเหล้า เอาหมกข้าวเปลือกไว้สามคืน จึงเอามาคั้นเอาแต่น้ำเก็บไว้หยอดตา อีกตำราหนึ่งว่าใช้รักษาโรคตา และโรคลมในท้อง การทำเป็นยาแก้โรคตา ให้เอาหัวว่านสดที่แก่เต็มที่แล้วมาล้างน้ำให้สะอาด ปลอกเปลือกผิวนอกออกให้หมดแล้วนำไปย่างไฟอ่อน ๆ พอเกรียม นำไปแช่กับเหล้าขาว แทรกพิมเสนสัก 2 – 3 เกร็ด ใส่ขวดที่สะอาดนำไปหมกข้าวเปลือกไว้สามคืนจึงน้ำมาใช้ได้ แต่ต้องกรองให้สะอาด นำมาหยอดยาแก้ตาแดง ตามัว ตาลม ตาต้อและริดสีดวงตาได้ดี การกินเพื่อเป็นยาแก้โรคท้อง ให้ใช้หัวสดยาวประมาณสองนิ้วกินกับเกลือสักหนึ่งหรือสองเม็ด หรือจะตำรวมกับเหล้าขาวก็ได้ กินแก้ปวดท้องอันเนื่องมาจากลม เช่นท้องอือเฟ้อ จุกเสียดท้อง ธาตุพิการ ได้ดีเช่นกัน
ความเชื่อ: มีอานุภาพเป็นว่านคงกระพันชาตรี โดยพกติดตัวหรือกิน ก่อนกินเศกด้วยคาถา “อุทธัง อัทโธ นะโม พุทธายะ จะพะกะสะ พุทธะสังมิ” ตามกำลังวัน อีกตำราหนึ่งว่า การกินเพื่อคงกระพัน ให้นำหัวว่านสดมาเสกด้วยคาถาพระเจ้าห้าพระองค์ หรือ “กันหะเนหะ” สามจบ คนโบราณว่าเป็นคงกระพันชาตรีดีนัก ว่านต้นนี้ลักษณะเหมือนหัวว่านมหาเมฆมากจึงต้องพิจารณาให้ดีก่อนนำมาใช้
หมายเหตุ: