ชื่อว่าน: ว่าน รางจืดเถาว์ / ว่าน รางจืดเถา
ชื่อวิทยาศาสตร์ของว่าน: Thunbergia laurifolia Linn.
วงศ์ของว่าน: THUNBERGIACEAE
ชื่ออื่นๆ: กำลังช้างเผือก ยาเขียว เครือเขาเขียว ขอบชะนาง รางจืด(ภาคกลาง) คาย รางเย็น(ยะลา) ดุเหว่า(ปัตตานี) พอหน่อเตอ ซั้งกะ ปั้งกะล่ะ(กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) ย่ำ แย้ แอดแอ(เพชรบูรณ์)
ลักษณะลำต้น/ราก:
ใบ:
ดอก:
สภาวะการปลูก:
การขยายพันธุ์:
การใช้ประโยชน์:
รสเย็นถอนพิษยาเบื่อเมา ใช้ปรุงเป็นยาเขียวถอนพิษไข้และพิษทั้งปวง รากและเถากินเป็นยาแก้ร้อนในกระหายน้ำแก้พิษร้อนทั้งปวง
ความเชื่อ: ใช้หัวของไม้นี้ซึ่งมีอยู่ใต้ดิน โคนต้นเอาไปผสมกับสิ่งหนึ่งสิ่งใดตามสมควรก็จะทำให้สิ่งที่ผสมด้วยนั้นมีรสจืดชืด ไร้คุณค่าไปหมด เช่นผสมกับเกลือทำให้เกลือจืด ผสมน้ำตาลน้ำตาลจืด ผสมเหล้าทำให้เหล้าจืดกินแล้วไม่เมา ผสมน้ำส้มทำให้น้ำส้มจืด ถึงเอาไปผสมกับของอย่างอื่นก็จะทำให้ของนั้นพลอยมีรสจืดตามไม้นี้ไปด้วยเช่นเดียวกัน สรรพคุณของไม้นี้ แก้ยาเบื่อยาสั่ง ยาพิษ ถอนยาได้ทุกชนิด โดยเอาหัวมาฝนผสมกับน้ำซาวข้าวกินเพียง ๕ นาทีเท่านั้น ก็จะหายจากพิษต่าง ๆ เช่น ไข้ผิดสำแดง หรือจะกินเพื่อถอนพิษไข้ ใช้หัวฝนกับน้ำซาวข้าวกิน สำหรับแก้พิษสัตว์กัดต่อย เช่น แก้พิษงู, หมาบ้ากัด, แมลงป่องตะขาบ, ปลาดุกยักษ์ ปลากระเบนแทง หรือพวกผีหัวดาว หัวเดือน ปรวด ตะมอย ฝี ๑๐๘ อย่าง ให้เอาแต่เพียงใบสัก ๓ ใบมาโขลกให้ละเอียด ใช้น้ำสุกหรือน้ำซาวข้าวเป็นกระสายพอข้น ๆ เอาพอกที่ตรงบาดแผลหรือฝีต่าง ๆ นั้นจะทำให้หายปวด และแก้พิษได้ในทันที
หมายเหตุ: