งานเขึยน

หน้างสือ ว่าน สมุนไพร ไม้มงคลไทย

บ้านว่านไทย

rutwanthai

rutwanthai

Page 6 of 29« First...45678...20...Last »

ว่านตาลปัตรฤาษี ( ตระกูลว่านกาสัก )

ว่านตาลปัตรฤาษี Leea macrophylla Roxb. Ex Hornem.

ลักษณะ ใบเป็นรูปหัวใจรีๆ คล้ายใบคูนหรือใบพลวง หัวใหญ่ มีดอกแล้วใบจะแห้ง ดอกสีเขียวแซมด้วยสีขาว
สรรพคุณ ทางคงกระพัน แคล้วคลาด มีอานุภาพทางคงกระพันชาตรี และแคล้วคลาด ป้องกันอุบัติเหตุต่างๆ นำติดตัวไปด้วย หรือกินทำให้คงกระพันชาตรีและแคล้วคลาด
หมายเหตุ ว่านนี้บางทีเรียกว่า ว่านฤาษี เขื่องหูช้าง ว่านชนิดนี้เป็นตระกูลเดียวกับ ว่านกาสัก แต่ ว่านตาลปัตรฤาษี เมื่อโตเต็มที่ รูปทรงใบจะเป็นหยักๆ เฉียงขึ้นประมาณ 45 องศา และต้นจะสูงกว่า ขณะที่ ว่านกาสัก เมื่อโตเต็มที่ รูปทรงใบจะป้อมคล้ายใบต้นสัก การออกใบจะค่อนข้างขนานพื้น ถ้าใบแก่จะเฉียงลงพื้น และทรงต้นจะเตี้ย
หมายเหตุ ภาพนี้ได้รับความอนุเคราะห์จาก คุณ อารีย์ กาละ จังหวัดนครศรีธรรมราช
พบในตำราของ
ล. มหาจันทร์. คู่มือนักเล่นว่าน. 2480, หน้า 61
ชัยมงคล อุดมทรัพย์. ตำราดูว่าน และพระเครื่อง-พระบรมธาตุ. 2503, หน้า
พยอม วิไลรัตน์. ตำรากบิลว่านและต้นไม้วิเศษนานาชนิด. 2504, หน้า 112-113 เรียก ว่านตาละปัตร์ฤาษี
อุตะมะ สิริจิตโต. ตำราปลูกและดูลักษณะว่าน. 2505, หน้า 56 เรียก ว่านตาละปัตฤาษี
ชั้น หาวิธี. ตำราว่านวิเศษอันศักดิ์สิทธิ์. 2506, หน้า 59 ว่านตาลปัตรฤาษี
เลื่อน กัณหะกาญจนะ. ตำราคุณลักษณะว่านและวิธีดูแลว่าน. 2506, หน้า 154
อาจารย์ญาณโชติ. คัมภีร์ไสยศาสตร์ฉบับสมบูรณ์. ไม่ปรากฏปีที่พิมพ์, หน้า 968-969 เรียก ว่านตาละปัดฤาษี

ว่านตะเภาน้อย

ว่านตะเภาน้อย Hyacinthus sp.

ลักษณะ ต้น และหัว เหมือนต้นกระเทียม หัวขาว ไม่มีดอก
สรรพคุณ ทางสมุนไพร ใช้ใบหรือหัวขยี้พอกปากแผล ดับพิษอสรพิษตั้งแต่ชั้นสูงจนถึงชั้นต่ำ ว่านชนิดนี้ไม่ต้องกิน
หมายเหตุ ว่านนี้เรียกอีกชื่อว่า ว่านตะเภาตัวเมีย ว่านตะเภาเล็ก ว่านชนิดนี้ผู้เขียนคิดว่าเป็นต้นเดียวกับ ว่านจั๊กจั่น และ ว่านพระยาลิ้นงู
พบในตำราของ
ประพัฒนสรรพกร, หลวง. ตำหรับกระบิลว่าน. 2475, หน้า 35-36
พยอม วิไลรัตน์. ตำรากบิลว่านและต้นไม้วิเศษนานาชนิด. 2504, หน้า 102
เลื่อน กัณหะกาญจนะ. ตำราคุณลักษณะว่านและวิธีดูแลว่าน. 2506, หน้า 153
สวิง กวีสุทธิ์, ร.ต. ตำรากบิลว่าน. 2508, หน้า 37-38

ว่านตะเภาใหญ่

ว่านตะเภาใหญ่ Hymenocallis littoralis [Jacq.]

ลักษณะ ต้น ใบ คล้ายกับต้นพลับพลึง หัวเหมือนหอมหัวใหญ่ แต่คอใบไม่มีสีแดง ดอกหอม
สรรพคุณ ทางสมุนไพร ใช้แก้พิษอสรพิษขบกัด และสัตว์ที่มีพิษต่างๆ กัดต่อย ให้เอาหัวและใบตำโขลกละลายกับน้ำสุราคั้นเอาน้ำรับประทานแก้ และเอากากยาพอกที่ปากแผลถอนพิษหายทันที
หมายเหตุ ว่านเรียกอีกชื่อว่า ว่านตะเภาตัวผู้ พลับพลึง กทม.
พบในตำราของ
ประพัฒนสรรพกร, หลวง. ตำหรับกระบิลว่าน. 2475, หน้า 35
พยอม วิไลรัตน์. ตำรากบิลว่านและต้นไม้วิเศษนานาชนิด. 2504, หน้า 101
เลื่อน กัณหะกาญจนะ. ตำราคุณลักษณะว่านและวิธีดูแลว่าน. 2506, หน้า 152
สวิง กวีสุทธิ์, ร.ต. ตำรากบิลว่าน. 2508, หน้า 37

ว่านตอด

ว่านตอด Dendrocnide sp.

ลักษณะ ต้นและใบเหมือนกับใบหนาด ขยายพันธุ์ด้วยการชำกิ่ง
สรรพคุณ ใช้ป้องกันเรือนสวนไร่นาได้ เราปลูกล้อมเป็นรั้วไว้ ว่านนี้เป็นว่านที่มีพิษร้าย ทำให้คนและสัตว์ถึงตายได้ ถ้าคนหรือสัตว์ไปถูกว่านตอดนี้ตามผิวหนังส่วนใดส่วนหนึ่งเข้า ในชั้นแรกจะเกิดอาการผื่นคัน ครั้นต่อมาจะกลายเป็นแผลกินลึกลงไปจนถึงกระดูก ถ้ารักษาไม่ถูกวิธี ก็จะลุกลามไปใหญ่โต
วิธีแก้ด้วยยาก็จะหาย คือ เมื่อถูกว่านตอดครั้งแรก ให้เอายาฉุนแช่น้ำ คั้นเอาน้ำยาออกมาใส่ตรงที่เกิดผื่นคัน หรือใช้ว่านชนิดที่แก้พิษว่านต่างๆ เช่น ว่านขอทอง จ่าว่าน พระยาว่าน ผสมกับน้ำใส่ก็จะหายได้เป็นอย่างดี
หมายเหตุ ภาพนี้ได้รับความอนุเคราะห์จาก คุณณรงค์ศักดิ์ ค้านอธรรม จังหวัดกรุงเทพมหานคร
พบในตำราของ
พยอม วิไลรัตน์. ตำรากบิลว่านและต้นไม้วิเศษนานาชนิด. 2504, หน้า 98
อุตะมะ สิริจิตโต. ตำราปลูกและดูลักษณะว่าน. 2505, หน้า 114
ชั้น หาวิธี. ตำราว่านวิเศษอันศักดิ์สิทธิ์. 2506, หน้า 56-57
เลื่อน กัณหะกาญจนะ. ตำราคุณลักษณะว่านและวิธีดูแลว่าน. 2506, หน้า 151
สวิง กวีสุทธิ์, ร.ต. ตำรากบิลว่าน. 2508, หน้า 66
อาจารย์ญาณโชติ. คัมภีร์ไสยศาสตร์ฉบับสมบูรณ์. ไม่ปรากฏปีที่พิมพ์, หน้า 970

Page 6 of 29« First...45678...20...Last »

วงศ์ของว่าน :