ว่านหางจระเข้
หางจระเข้ Alo vera [L.] Burm.f.
ลักษณะ ใบหนาและยาว ปลายใบแหลม มีหนามแหลมๆ ตามริมขอบใบ ใบสีเขียวมีกระสีขาว ภายในเป็นวุ้นและมีเมือก ใบแผ่ออกรอบโคนต้นพ้นดินเล็กน้อย ก้านดอกจะแทงขึ้นมาจากกลางลำต้นเป็นก้านแข็งสูง ดอกมีสีแดงอมเหลืองคล้ายดอกซ่อนกลิ่นตูมๆ
สรรพคุณ ทางสมุนไพร ใบผ่าออกตัดเป็นวงกลมเอาปูนแดงทาที่วุ้น แล้วปิดขมับแก้ปวดหัว ทำให้เย็น ดูดพิษไข้ ขูดเอาวุ้นจากใบมาผสมกับสารส้มกินแก้หนองใน เอาใบต้มกับน้ำตาลกรวด กินแก้ร้อนในและแก้ความดันสูง เอาแต่วุ้นสระฟอกผม ทำให้รากผมเย็น ดกดำสวยงาม เอายางมาเคี่ยวทำเป็นยาดำ เข้าตำรับยาสมุนไพรอื่นๆ
หมายเหตุ ว่านชนิดนี้ บางตำราเรียก ว่านหางตะเข้ ว่านหางจรเข้
พบในตำราของ
พยอม วิไลรัตน์. ตำรากบิลว่านและต้นไม้วิเศษนานาชนิด. 2504, หน้า 86-87
เลื่อน กัณหะกาญจนะ. ตำราคุณลักษณะว่านและวิธีดูแลว่าน. 2506, หน้า 430-431
สวิง กวีสุทธิ์, ร.ต. ตำรากบิลว่าน. 2508, หน้า 75 เรียก ว่านหางตะเข้
อาจารย์ญาณโชติ. คัมภีร์ไสยศาสตร์ฉบับสมบูรณ์. ไม่ปรากฏปีที่พิมพ์, หน้า 1035 เรียก ว่านหางจรเข้