ว่านเพชรหลีก
เพชรหลีก Hyacinthus sp.
ลักษณะ หัวเหมือนกระเทียมแต่ใหญ่กว่า บางต้นถ้างามๆ ดี ก็โตเท่ากำปั้นเราทีเดียว ใบมีรูปร่างเหมือนกับใบกระเทียมก้านมีสีเขียว เหมือนก้านว่านน้ำ
สรรพคุณ ทางคงกระพันแคล้วคลาด มีคุณในทางแคล้วคลาด และอยู่คงดีนักตีฟันไม่มีแผลเลย หากกินเข้าไปแล้วสามารถคงหอกดาบ ถ้าทาตามตัวแล้วขลังดีนัก แต่ไม่นิยมปลูกไว้ในบ้านเพราะจะให้คลาดจากโชคลาภที่เข้ามา
หมายเหตุ ว่านนี้มีหลายชื่อ ถ้าหัวเล็ก (หัวกระเทียม) เรียก ว่านเพชรหลีก ถ้าหัวใหญ่ (หอมหัวใหญ่) เรียก ว่านเพชรตาเหลือก ว่านเพชรตาเลือด ว่านชนิดนี้ น่าจะเป็นชนิดเดียวกับ ว่านกีบแรด ชนิดหัวหอม
พบในตำราของ
ชิตร์ วัฒนะ. ลักษณะว่าน. 2473, หน้า 11 เรียก ว่านเพ็ชร์ตาเหลือก
ประพัฒนสรรพกร, หลวง. ตำหรับกระบิลว่าน. 2475, หน้า 5
ล. มหาจันทร์. คู่มือนักเล่นว่าน. 2480, หน้า 43-44 เรียก ว่านเพ็ชร์ตาเหลือก
ไพฑูรย์ ศรีเพ็ญ. ตำราสรรพคุณยาไทย. 2484, หน้า 85, หน้า 85 เรียก ว่านเพ็ชร์ตาเหลือก
ชัยมงคล อุดมทรัพย์. ตำราดูว่าน และพระเครื่อง-พระบรมธาตุ. 2503, หน้า 13
พยอม วิไลรัตน์. ตำรากบิลว่านและต้นไม้วิเศษนานาชนิด. 2504, หน้า 45, หน้า 45 เรียก ว่านเพ็ชร์ตาเหลือก
อุตะมะ สิริจิตโต. ตำราปลูกและดูลักษณะว่าน. 2505, หน้า 25-27
ชั้น หาวิธี. ตำราว่านวิเศษอันศักดิ์สิทธิ์. 2506, หน้า 23-24, หน้า 25 ว่านเพชรตาเหลือก
เลื่อน กัณหะกาญจนะ. ตำราคุณลักษณะว่านและวิธีดูแลว่าน. 2506, หน้า 274-275 เรียก ว่านเพชรตาเลือด,
หน้า 284
สวิง กวีสุทธิ์, ร.ต. ตำรากบิลว่าน. 2508, หน้า 6-7
สมาน คัมภีร์ และ ทัศนา ทัศนมิตร. กบิลว่าน 108. 2516, หน้า 85
อาจารย์ญาณโชติ. คัมภีร์ไสยศาสตร์ฉบับสมบูรณ์. ไม่ปรากฏปีที่พิมพ์, หน้า 996-997 เรียก ว่านเพ็ชตาเหลือก,
หน้า 997