งานเขึยน
หน้างสือ ว่าน สมุนไพร ไม้มงคลไทย
บ้านว่านไทย

ว่านกำแพงเจ็ดชั้น

ว่านกำแพงเจ็ดชั้น Kaempferia rotunda L.

ลักษณะ ต้นและใบคล้ายกับหมากผู้หมากเมีย เมื่อแรกขึ้นได้ 1-2 ใบ หลังใบแดงจัดดังสีครั่ง เมื่อออกหลายใบแล้ว ขอบท้องใบจะเขียว กลางท้องใบจะแดงอ่อนลง ลำต้นและก้านแดง หัวมีกลิ่นหอม หัวรากเป็นตุ่มเกาะติดกันเป็นกลุ่ม หัวมีกลิ่นหอม
สรรพคุณ ทางสมุนไพร เป็นยาต้มแก้ประจำเดือนมาไม่ปกติ ต้องระวังอาจทำให้แท้งบุตรได้
ทางคุ้มครอง ใช้พกกันปีศาจและพรายที่จะมาเข้าหรือหลอก คุ้มทางคุณไสยและสรรพเวทวิทยา ประดุจกำแพงกั้นไว้ กันและแก้สิ่งที่เป็นอาถรรพ์ต่างๆ มาทำร้ายตัวมิได้ ใช้หัวใบต้น ตำลงด้วย “นะโมพุทธายะฯ” 3 จบ ใส่ลงในน้ำมนต์รดตัวคนไข้ที่ถูกอาถรรพ์ต่างๆ หาย
หมายเหตุ ว่านนี้ไม่ใช่ ต้นพุทธรักษา อย่างที่เล่นกันอยู่ จริงๆ แล้วเป็นว่านชนิดนี้อยู่ในตระกูลเปราะ จัดอยู่ในกลุ่มเดียวกับว่านทิพยเนตร
พบในตำราของ
ประพัฒนสรรพกร, หลวง. ตำหรับกระบิลว่าน. 2475, หน้า 37-38
ไพฑูรย์ ศรีเพ็ญ. ตำราสรรพคุณยาไทย. 2484, หน้า 77
ชัยมงคล อุดมทรัพย์. ตำราดูว่าน และพระเครื่อง-พระบรมธาตุ. 2503, หน้า 19-20, 43 (ซ้ำ)
พยอม วิไลรัตน์. ตำรากบิลว่านและต้นไม้วิเศษนานาชนิด. 2504, หน้า 99-100
อุตะมะ สิริจิตโต. ตำราปลูกและดูลักษณะว่าน. 2505, หน้า 86-87
ชั้น หาวิธี. ตำราว่านวิเศษอันศักดิ์สิทธิ์. 2506, หน้า 51
เลื่อน กัณหะกาญจนะ. ตำราคุณลักษณะว่านและวิธีดูแลว่าน. 2506, หน้า 77
สวิง กวีสุทธิ์, ร.ต. ตำรากบิลว่าน. 2508, หน้า 50-51
สมาน คัมภีร์ และ ทัศนา ทัศนมิตร. กบิลว่าน 108. 2516, หน้า 107 เรียก ว่านกระจายทอง
อาจารย์ญาณโชติ. คัมภีร์ไสยศาสตร์ฉบับสมบูรณ์. ไม่ปรากฏปีที่พิมพ์, หน้า 941

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

You may use these HTML tags and attributes: <a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <strike> <strong>

Spam Protection by WP-SpamFree

วงศ์ของว่าน :