งานเขึยน

หน้างสือ ว่าน สมุนไพร ไม้มงคลไทย

บ้านว่านไทย

rutwanthai

rutwanthai

Page 26 of 29« First...1020...2425262728...Last »

กำบังไพร

ว่านกำบังไพร Kaempferia sp.

ลักษณะ ต้น ใบ หัว เหมือนเปราะ แต่กลิ่นไม่เหมือนเปราะ ใบใหญ่กว่าเปราะมาก หน้าใบสีเขียวเข้ม มีลายแซมขาวคล้ายพรายปรอท ท้องใบมีสีแดงแซม
สรรพคุณ ทางคุ้มครอง ปลูกกับบ้านเป็นศิริมงคล ป้องกันภัยอันตรายต่างๆ ไม่ให้มาแผ้วพาน
หมายเหตุ ว่านนี้บางทีจะเขียนว่า ว่านกำบังภัย
พบในตำราของ
สวิง กวีสุทธิ์, ร.ต. ตำรากบิลว่าน. 2508, หน้า 79

ว่านพระยากาสัก

ว่านพระยากาสัก Leea macrophylla Roxb. Ex Hornem.

ลักษณะ ใบเหมือนใบสัก แต่ใบเป็นมันไม่สากเหมือนใบสัก ลำต้นเป็นปล้องเหมือนไม้สัก แต่เล็กและไม่สูง หัวหรือรากเหมือนหัวมันสัมปะหลัง มี 2 ชนิด คือ ต้นเขียว และต้นแดง
สรรพคุณ ทางคงกระพัน ใช้หัวและใบกิน หรือนำติดตัวไป หรือฝนผสมกับหมึกสัก ทำให้คงทนต่อศาสตราวุธทั้งปวง เวลาจะใช้เอาหัวว่านมาเสกด้วยคาถา “อุทธัง อุทโธ นะโมพุทธายะ” 7 คาบ
ทางคุ้มครอง ปลูกไว้กับบ้านป้องกันภัยอันตรายต่างๆ ได้ เป็นศิริมงคลร่มเย็นเป็นสุข
หมายเหตุ ว่านนี้มีหลายชื่อ คือ เสือนั่งร่ม เสือร้องไห้ ว่านหอกหล่อ ว่านพระยากาสัก
พบในตำราของ
พยอม วิไลรัตน์. ตำรากบิลว่านและต้นไม้วิเศษนานาชนิด. 2504, หน้า 121
ชั้น หาวิธี. ตำราว่านวิเศษอันศักดิ์สิทธิ์. 2506, หน้า 54
เลื่อน กัณหะกาญจนะ. ตำราคุณลักษณะว่านและวิธีดูแลว่าน. 2506, หน้า 71
สวิง กวีสุทธิ์, ร.ต. ตำรากบิลว่าน. 2508, หน้า 68 เรียก ว่านกาสัก, 76 เรียก ว่านกาสักแดง
สมาน คัมภีร์ และ ทัศนา ทัศนมิตร. กบิลว่าน 108. 2516, หน้า 55
อาจารย์ญาณโชติ. คัมภีร์ไสยศาสตร์ฉบับสมบูรณ์. ไม่ปรากฏปีที่พิมพ์, หน้า 940

ว่านกระสือ

ว่านกระสือ Curcuma sp.

ลักษณะ ต้นเหมือนขมิ้นอ้อยสีเขียว ใบมีสีเขียวก็มี มีลายผ่านขาวก็มี หัวดังขมิ้น เนื้อในมีสีขาวฉุนและร้อน เมื่อหัวว่านแก่จะมีธาตุปรอทลงกิน เกิดฟอสฟอรัส มีแสงเหมือนหิ่งห้อยเรืองแสงในเวลากลางคืน
สรรพคุณ ทางคงกระพัน ผู้มีอาคมจึงจะนำเอาว่านนี้มาใช้ประโยชน์ได้ ว่านนี้ชอบเที่ยวหากินสิ่งโสโครก เป็นปีศาจเที่ยวเพ่นพ่าน ไปสิงสู่ผู้คน กินคนเหมือนผีกระสือในเวลากลางคืน เวลาออกหากินจะมีแสงล่องลอยเป็นดวงไฟกลมๆ เรืองแสง จนใกล้ฟ้าสางจวนรุ่งแจ้ง ว่านกระสือจึงกลับถิ่นที่อยู่ของมันดังเดิม ว่านชนิดนี้เกิดอยู่ตามป่าเขาอยู่เป็นดง และมักจะพบ ว่านตอดขึ้นอยู่ด้วยเพื่อคุ้มกันว่านกระสือ
หมายเหตุ ว่านชนิดนี้ มีอีกชื่อว่า ว่านโพง จริงๆ แล้ว ว่านประเภทนี้ นอกจากตระกูลขมิ้น (ว่านโพงเป้า) ดังที่กล่าวไปแล้ว ก็ยังมีลักษณะเป็นพืชตระกูลบอนด้วย เช่น ว่านโพงกินเหล็ก ว่านโพงกินเลือด ว่านโพงหัวลิง ว่านโพงหัวคน ว่านโพงหัวช้าง หรือในตระกูลหล้วยป่า เช่น ว่านโพงกล้วย เป็นต้น
พบในตำราของ
ประพัฒนสรรพกร, หลวง. ตำหรับกระบิลว่าน. 2475, หน้า 33
ชัยมงคล อุดมทรัพย์. ตำราดูว่าน และพระเครื่อง-พระบรมธาตุ. 2503, หน้า 10-11
พยอม วิไลรัตน์. ตำรากบิลว่านและต้นไม้วิเศษนานาชนิด. 2504, หน้า 97-98
อุตะมะ สิริจิตโต. ตำราปลูกและดูลักษณะว่าน. 2505, หน้า 96-97
เลื่อน กัณหะกาญจนะ. ตำราคุณลักษณะว่านและวิธีดูแลว่าน. 2506, หน้า 70
สวิง กวีสุทธิ์, ร.ต. ตำรากบิลว่าน. 2508, หน้า 30
อาจารย์ญาณโชติ. คัมภีร์ไสยศาสตร์ฉบับสมบูรณ์. ไม่ปรากฏปีที่พิมพ์, หน้า 949-945

ว่านการบูรเลือด

การบูรเลือด Curcuma comosa Roxb.

ลักษณะ ต้นและใบคล้ายขมิ้นอ้อย มีสีเขียว หัวกลมเกลี้ยงเป็นมันขนาดหัวเผือก ปล้องหัวเป็นข้อๆ ห่างๆ เนื้อในสีขาว รสกลิ่นฉุนร้อนจัด ว่านนี้มีธาตุปรอทและการบูร เวลากินถ้าใช้ฟันเคี้ยว จะทำให้ฟันโยก
สรรพคุณ ทางสมุนไพร แก้โรคดานเลือดดานลม และเร่งมดลูกให้เข้าอู่เร็ว และแห้งเร็วขึ้น โดยเอาหัวและต้นตำ ดองกับน้ำสุรา หรือต้มกิน หรือฝนกับน้ำปูนใส ก็ได้
หมายเหตุ ว่านชนิดนี้เป็นคนละต้นกับ ว่านทรหด เพราะลักษณะคล้ายกันมาก ต่างกันที่ ว่านการบูรเลือด ใบเขียว กลางใบมีสีน้ำตาลแดงจางๆ แต่ ว่านทรหด กลางใบมีสีน้ำตาลแดงชัดเจน
พบในตำราของ
ประพัฒนสรรพกร, หลวง. ตำหรับกระบิลว่าน. 2475, หน้า 33
ล. มหาจันทร์. คู่มือนักเล่นว่าน. 2480, หน้า 61 เรียก ว่านชักมดลูก
ชัยมงคล อุดมทรัพย์. ตำราดูว่าน และพระเครื่อง-พระบรมธาตุ. 2503, หน้า 37-38
อุตะมะ สิริจิตโต. ตำราปลูกและดูลักษณะว่าน. 2505, หน้า 97
เลื่อน กัณหะกาญจนะ. ตำราคุณลักษณะว่านและวิธีดูแลว่าน. 2506, หน้า 69
สวิง กวีสุทธิ์, ร.ต. ตำรากบิลว่าน. 2508, หน้า 54

Page 26 of 29« First...1020...2425262728...Last »

วงศ์ของว่าน :