งานเขึยน

หน้างสือ ว่าน สมุนไพร ไม้มงคลไทย

บ้านว่านไทย

rutwanthai

rutwanthai

Page 5 of 29« First...34567...1020...Last »

ว่านตีนตะขาบ

ว่านตีนตะขาบ Pedilanthus tithymaloides [L.] Poit. Cv. Nana Compacta

ลักษณะ ลำต้นไม่สู้ใหญ่ ต้นขึ้นเป็นลำปล้องๆ มีใบออกตามลำต้นติดกันเป็นปีกทั้งสองข้าง จากโคนต้นจนถึงยอด คล้ายกับตัวตะขาบ ลำต้นกลม เมื่อขึ้นสูงจะกลายเป็นไม้เลื้อย ต้นและใบสีเขียวเข้มสด
สรรพคุณ ทางสมุนไพร ต้นและใบสดๆ โขลกผสมกับสุราเอาน้ำทา เอากากพอกเป็นยาถอนพิษตะขาบแมงป่อง แก้ปวดบวมยอกเคล็ดได้ดี หรือหยอดหู แก้หูน้ำหนวกได้ดี
หมายเหตุ ว่านนี้บางทีก็เรียก ว่านตะขาบ
พบในตำราของ
พยอม วิไลรัตน์. ตำรากบิลว่านและต้นไม้วิเศษนานาชนิด. 2504, หน้า 132
เลื่อน กัณหะกาญจนะ. ตำราคุณลักษณะว่านและวิธีดูแลว่าน. 2506, หน้า 157-158
อาจารย์ญาณโชติ. คัมภีร์ไสยศาสตร์ฉบับสมบูรณ์. ไม่ปรากฏปีที่พิมพ์, หน้า 969

ว่านตาไม้

ว่านตาไม้ Kaempferia rotunda L.

ลักษณะ ต้น ใบ คล้ายขมิ้นอ้อย หัวคล้ายตาไม้ มีกลิ่นฉุน
สรรพคุณ ทางสมุนไพร เป็นยารักษาโรคตาเจ็บทุกชนิด เอาหัวโขลกคั้นเอาน้ำผสมกับน้ำฝน ทาและหยอดตา เอากากพอก
หมายเหตุ ว่านชนิดนี้ น่าจะเป็นต้นเดียวกับ ว่านทิพยเนตร
พบในตำราของ
พยอม วิไลรัตน์. ตำรากบิลว่านและต้นไม้วิเศษนานาชนิด. 2504, หน้า 115
ชั้น หาวิธี. ตำราว่านวิเศษอันศักดิ์สิทธิ์. 2506, หน้า 47
เลื่อน กัณหะกาญจนะ. ตำราคุณลักษณะว่านและวิธีดูแลว่าน. 2506, หน้า 156
อาจารย์ญาณโชติ. คัมภีร์ไสยศาสตร์ฉบับสมบูรณ์. ไม่ปรากฏปีที่พิมพ์, หน้า 968

ว่านตาลปัตรฤาษี ( บัวค๊วกภาคเหนือ )

ว่านตาลปัตรฤาษี Limnocharis flara [L.]

ลักษณะ หัวคล้ายหอมหัวใหญ่ ใบคล้ายตาละปัดฤาษี ลำก้านแข็ง ใบใหญ่แข็ง สีเขียวปนเหลือง หนึ่งต้นมีหลายใบ มีดอกสีขาว กลีบเล็ก ช่อหนึ่งมีหลายดอก
สรรพคุณ ทางคุ้มครอง ปลูกไว้คุ้มภัยกันอันตรายต่างๆ
หมายเหตุ ว่านชนิดนี้ บางทีเรียก นางกวัก บัวค๊วก (ภาคเหนือ)
พบในตำราของ
สวิง กวีสุทธิ์, ร.ต. ตำรากบิลว่าน. 2508, หน้า 55

ว่านตาลปัตรฤาษี ( ปรงป่า )

ว่านตาลปัตรฤาษี Cycas siamensis Mig.

ลักษณะ ต้นและใบคล้ายปรงใหญ่ ออกใบระหว่างกาบ มีลูกที่โคนต้น ทุกลูกมีกาบหุ้ม กาบนั้นคล้ายกับตาลปัตร
สรรพคุณ ทางสมุนไพร ใช้เป็นยาแก้พิษขึ้นตามผิวหนัง เกลื่อนฝีเมื่อแรกเป็น แก้แผลพุพองตามผิวหนัง เอาเม็ดและกาบเผาไฟให้ไหม้เป็นถ่าน ผสมกับน้ำมันมะพร้าว หรือน้ำมันงา ทาผิวหนังที่เกิดเป็นพิษต่างๆ
หมายเหตุ ว่านนี้มีหลายชื่อ คือ มะพร้าวเต่า ปรงป่า
พบในตำราของ
พยอม วิไลรัตน์. ตำรากบิลว่านและต้นไม้วิเศษนานาชนิด. 2504, หน้า 113 เรียก ว่านตาละปัตร์ฤาษี
เลื่อน กัณหะกาญจนะ. ตำราคุณลักษณะว่านและวิธีดูแลว่าน. 2506, หน้า 154-155
อาจารย์ญาณโชติ. คัมภีร์ไสยศาสตร์ฉบับสมบูรณ์. ไม่ปรากฏปีที่พิมพ์, หน้า 969 เรียก ว่านตาละปัดฤาษี

Page 5 of 29« First...34567...1020...Last »

วงศ์ของว่าน :