ว่านแสงอาทิตย์ ต้นที่ 2
2. แสงอาทิตย์ Heliconia metallica Planch. & Lind. Ex Hook.
ลักษณะ ใบเหมือนใบกล้วยเล็กๆ หน้าใบรี สีเขียวหมอกๆ กลางใบเป็นสีนวลขาวตลอดใบ ใต้ใบเป็นสีแดงม่วง เมื่อใบยังอ่อน สีจะจัด แต่เมื่อใบแก่สีจะจางลง ต้น หัว (บางตำราว่าหัวคล้ายหัวข่า) และดอกคล้ายพุทธรักษา ใบเมื่อถูกแสงอาทิตย์จะห่อ
สรรพคุณ เป็นว่านสำเร็จมีอิทธิฤทธิ์มาก ท่านตีราคาไว้แสนตำลึงทอง ถ้าได้กินสามารถหายตัวได้ และเดินบนอากาศได้ ทาตาแล้วเห็นตลอดทั่วนาคพิภพ นรก และสวรรค์
พบในตำราของ
ชั้น หาวิธี. ตำราว่านวิเศษอันศักดิ์สิทธิ์. 2506, หน้า 14-15
เลื่อน กัณหะกาญจนะ. ตำราคุณลักษณะว่านและวิธีดูแลว่าน. 2506, หน้า 411-413
สมาน คัมภีร์ และ ทัศนา ทัศนมิตร. กบิลว่าน 108. 2516, หน้า 39
อาจารย์ญาณโชติ. คัมภีร์ไสยศาสตร์ฉบับสมบูรณ์. ไม่ปรากฏปีที่พิมพ์, หน้า 1017-1018
ว่านแสงอาทิตย์ ต้นที่ 1
แสงอาทิตย์ มี 2 แบบ
1. แสงอาทิตย์ Boesenbergia rotunda [L.] Mansf. Cv. Krachai Daeng
ลักษณะ ต้น ใบ และก้าน เหมือนหมากผู้หมากเมีย ลำต้นมีสีแดง ยอดก็มีสีแดง คล้ายกับสีของไฟ
สรรพคุณ เป็นว่านสำเร็จมีอิทธิฤทธิ์มาก ท่านตีราคาไว้แสนตำลึงทอง ถ้าได้กินสามารถหายตัวได้ และเดินบนอากาศได้ ทาตาแล้วเห็นตลอดทั่วนาคพิภพ นรก และสวรรค์ เมื่อจะขุดหรือเอาหัวว่านนี้ระวังอย่าให้เงาของเราไปทับต้นว่าน และเมื่อจะขุดหรือเอาหัวว่านไป ควรเสกน้ำรด ด้วย “นะโมพุทธายะฯ” 3 จบ และ “อิติปิโสภะคะวะฯ” 3 จบ แล้วจึงเอาไป จะกินหัวหรือเอาหัวติดตัวก็ควรตั้ง “นะโมพุทธายะฯ” เสีย 3 จบก่อน แล้วจึงว่า “อิติปิโสภะคะวาฯ” 9 จบ ภาวนาไปจะเกิดผลสำเร็จดังต้องการ
หมายเหตุ ว่านนี้มีอีกชื่อว่า ว่านแสงไฟ ว่านแสงพระอาทิตย์ ว่านชนิดนี้ น่าจะเป็น กระชายป่า ที่ท้องใบสีแดงเรื่อๆ เมื่อต้องแสงอาทิตย์
พบในตำราของ
ชิตร์ วัฒนะ. ลักษณะว่าน. 2473, หน้า 12-13
ประพัฒนสรรพกร, หลวง. ตำหรับกระบิลว่าน. 2475, หน้า 11 เรียก ว่านแสงพระอาทิตย์
ล. มหาจันทร์. คู่มือนักเล่นว่าน. 2480, หน้า 25-26 เรียก ว่านแสงไฟ
ไพฑูรย์ ศรีเพ็ญ. ตำราสรรพคุณยาไทย. 2484, หน้า 88
ชัยมงคล อุดมทรัพย์. ตำราดูว่าน และพระเครื่อง-พระบรมธาตุ. 2503, หน้า 9-10
พยอม วิไลรัตน์. ตำรากบิลว่านและต้นไม้วิเศษนานาชนิด. 2504, หน้า 37
อุตะมะ สิริจิตโต. ตำราปลูกและดูลักษณะว่าน. 2505, หน้า 41-42
สวิง กวีสุทธิ์, ร.ต. ตำรากบิลว่าน. 2508, หน้า 25-26
ว่านแสงทอง
แสงทอง Curcuma sp.
ลักษณะ หัวเหมือนหัวขมิ้น ใบเขียวเหมือนใบน้ำเต้า ก้านใบสีแดงสด เนื้อในหัวสีขาว มีกลิ่นหอมนิดหน่อย
สรรพคุณ ทางเมตตามหานิยม ปลูกไว้กับบ้าน หรือนำติดตัวไว้ เป็นเสน่ห์เมตตามหานิยม
หมายเหตุ ว่านชนิดนี้ น่าจะเป็นต้นเดียวกับ ว่านเพชรแดง ภาพนี้ได้รับความอนุเคราะห์จาก
คุณณรงค์ศักดิ์ ค้านอธรรม จังหวัดกรุงเทพมหานคร
พบในตำราของ
ชิตร์ วัฒนะ. ลักษณะว่าน. 2473, หน้า 21
ประพัฒนสรรพกร, หลวง. ตำหรับกระบิลว่าน. 2475, หน้า 17
ไพฑูรย์ ศรีเพ็ญ. ตำราสรรพคุณยาไทย. 2484, หน้า 88
ชัยมงคล อุดมทรัพย์. ตำราดูว่าน และพระเครื่อง-พระบรมธาตุ. 2503, หน้า 24-25
พยอม วิไลรัตน์. ตำรากบิลว่านและต้นไม้วิเศษนานาชนิด. 2504, หน้า 39
อุตะมะ สิริจิตโต. ตำราปลูกและดูลักษณะว่าน. 2505, หน้า 72-73
ชั้น หาวิธี. ตำราว่านวิเศษอันศักดิ์สิทธิ์. 2506, หน้า 22
เลื่อน กัณหะกาญจนะ. ตำราคุณลักษณะว่านและวิธีดูแลว่าน. 2506, หน้า 409-410
สวิง กวีสุทธิ์, ร.ต. ตำรากบิลว่าน. 2508, หน้า 26-27
อาจารย์ญาณโชติ. คัมภีร์ไสยศาสตร์ฉบับสมบูรณ์. ไม่ปรากฏปีที่พิมพ์, หน้า 1016
ว่านแสงจันทร์
แสงจันทร์ Curcuma sp.
ลักษณะ หัวและต้นดุจดังขมิ้นขาว ต้นสีเขียว ใบสีเขียวกลางใบแดง เนื้อในของหัวว่านสีโศก หรือสีเขียวอ่อน
สรรพคุณ ทางสมุนไพร เป็นยาแก้พิษสุนัขบ้ากัด พิษจระเข้กัด พิษเสือกัด และพิษสัตว์ต่างๆ ที่ทำให้ปวด คลั่ง ทำให้พิษนั้นทุเลาจนหาย เอาหัวฝนกับสุราให้ข้นแล้วกิน และทารอบๆ บาดแผล ถ้าถูกกัดใหม่ๆ ให้เอาหัวว่านนี้โขลกแล้วพอกแผล พิษเจ็บปวดจะหายทันที
พบในตำราของ
ประพัฒนสรรพกร, หลวง. ตำหรับกระบิลว่าน. 2475, หน้า 29
ชัยมงคล อุดมทรัพย์. ตำราดูว่าน และพระเครื่อง-พระบรมธาตุ. 2503, หน้า 34
พยอม วิไลรัตน์. ตำรากบิลว่านและต้นไม้วิเศษนานาชนิด. 2504, หน้า 38
ชั้น หาวิธี. ตำราว่านวิเศษอันศักดิ์สิทธิ์. 2506, หน้า 22
เลื่อน กัณหะกาญจนะ. ตำราคุณลักษณะว่านและวิธีดูแลว่าน. 2506, หน้า 408
สวิง กวีสุทธิ์, ร.ต. ตำรากบิลว่าน. 2508, หน้า 26
สมาน คัมภีร์ และ ทัศนา ทัศนมิตร. กบิลว่าน 108. 2516, หน้า 105
อาจารย์ญาณโชติ. คัมภีร์ไสยศาสตร์ฉบับสมบูรณ์. ไม่ปรากฏปีที่พิมพ์, หน้า 1017