งานเขึยน

หน้างสือ ว่าน สมุนไพร ไม้มงคลไทย

บ้านว่านไทย

rutwanthai

rutwanthai

Page 17 of 29« First...10...1516171819...Last »

ว่านคางคก / มะอะอุ

คางคก / มะอะอุ Amorphophallus sp.

ลักษณะ มีหัวคล้ายคางคก มีเปลือกย่นๆ คล้ายหนังคางคกไม่มีผิด ก้านกับใบคล้ายกับอุตพิต แต่ใบแยกออกเป็นสามแฉกโตกว่าอุตพิต เมื่อเวลาขึ้นงอกงามแล้วก้านจะโตกว่าธรรมดา มี 2 ชนิด คือ ก้านเขียว และ ก้านดำ
หมายเหตุ ว่านนี้มีหลายชื่อ คือ ว่านคางคก ว่านมะอะอุ ว่านมหาอุตมะ ว่านมหาอุด ว่านชนิดนี้เป็นคนละต้นกับ ว่านคางคก (ใหญ่)
พบในตำราของ
ล. มหาจันทร์. คู่มือนักเล่นว่าน. 2480, หน้า 28-29 เรียก ว่านคางคก
อุตะมะ สิริจิตโต. ตำราปลูกและดูลักษณะว่าน. 2505, หน้า 69-70 เรียก ว่านคางคก
เลื่อน กัณหะกาญจนะ. ตำราคุณลักษณะว่านและวิธีดูแลว่าน. 2506, หน้า 115-116 เรียก ว่านคางคก
สมาน คัมภีร์ และ ทัศนา ทัศนมิตร. กบิลว่าน 108. 2516, หน้า 112 เรียก ว่านมะอะอุ ว่านมหาอุด

ว่านคางคกน้อย

ว่านคางคกน้อย Typhonium sp.

ลักษณะ หัวคล้ายตัวคางคก มีเปลือกย่นๆ คล้ายหนังคางคก ก้านกับใบคล้ายใบอุตพิด แต่ใบกลมไม่เป็นแฉกเหมือนอุตพิด เล็กกว่าอุตพิด มี 2 ชนิด คือ ก้านเขียว และ ก้านดำ
หมายเหตุ ว่านนี้บางทีเรียกว่า ว่านคางคกเล็ก ว่านคางคกน้อย
สรรพคุณ ทั้งสองแบบใช้เหมือนกัน ทางสมุนไพร เป็นยาใช้ทาแก้ขี้กลากขี้เกลื้อน เรื้อนกวาง และโรคผิวหนังทุกชนิด
ทางคงกระพัน ใช้กินทำให้เกิดการอยู่ยงคงกระพันชาตรี จะกินเปล่าๆ หรือกินกับสุราก็ได้ จะทำให้เนื้อหนังเกิดมีอาการชาซู่ซ่า คันยิบยับไปหมดทั้งตัว ถ้ากินบ่อยๆ เมื่อถึงฤดูว่านออกดอก ผิวหนังจะตกกระเหมือนกับคางคก
พบในตำราของ
พยอม วิไลรัตน์. ตำรากบิลว่านและต้นไม้วิเศษนานาชนิด. 2504, หน้า 42-43
ชั้น หาวิธี. ตำราว่านวิเศษอันศักดิ์สิทธิ์. 2506, หน้า 32
สวิง กวีสุทธิ์, ร.ต. ตำรากบิลว่าน. 2508, หน้า 68 เรียก ว่านคางคกน้อย
อาจารย์ญาณโชติ. คัมภีร์ไสยศาสตร์ฉบับสมบูรณ์. ไม่ปรากฏปีที่พิมพ์, หน้า 954-955

ว่านคางคกใหญ่

ว่านคางคกใหญ่ Typhonium trilobatum [L.] Scholl

ลักษณะ มีหัวคล้ายคางคก มีเปลือกย่นๆ คล้ายหนังคางคกไม่มีผิด ก้านกับใบคล้ายกับอุตพิต แต่ใบแยกออกเป็นสามแฉกโตกว่าอุตพิต เมื่อเวลาขึ้นงอกงามแล้วก้านจะโตกว่าธรรมดา มี 2 ชนิด คือ ก้านเขียว และ ก้านดำ
หมายเหตุ ว่านนี้มีหลายชื่อ คือ ว่านคางคกใหญ่ ว่านมะอะอุ
พบในตำราของ
ประพัฒนสรรพกร, หลวง. ตำหรับกระบิลว่าน. 2475, หน้า 31
ชัยมงคล อุดมทรัพย์. ตำราดูว่าน และพระเครื่อง-พระบรมธาตุ. 2503, หน้า 35
สวิง กวีสุทธิ์, ร.ต. ตำรากบิลว่าน. 2508, หน้า 44-45 เรียก ว่านคางคกใหญ่

ว่านคันธะมาลาม่วง

ว่านคันธะมาลาม่วง Curcuma sp.

ลักษณะ ต้นเหมือนต้นขมิ้นอ้อย หัวเหมือนขมิ้นมีสีม่วงๆ ต้นมีสีแดง กลางใบก็มีสีแดง ใบเหมือนขมิ้น ว่านนี้มีลักษณะเหมือนว่านคันธะมาลาน้อย ทุกประการแต่ต้นใหญ่กว่าเท่านั้น
สรรพคุณ ทางสมุนไพร เป็นยาฝนกับสุราอมแก้เจ็บคอ และแก้ฝีคันธะมาลา ดองกับสุรากินเป็นยาชักมดลูก แก้ริดสีดวงทวาร และไส้เลื่อน ฝนกับน้ำปูนใสกินแก้เจ็บท้อง กินอยู่คงกระพัน กินถอนพิษสัตว์ร้ายกัด
หมายเหตุ ว่านชนิดนี้ น่าจะเป็นชนิดเดียวกับ ว่านม่วง ภาพที่สองนี้ ได้รับความอนุเคราะห์จาก
คุณณรงค์ศักดิ์ ค้านอธรรม จังหวัดกรุงเทพมหานคร
พบในตำราของ
ประพัฒนสรรพกร, หลวง. ตำหรับกระบิลว่าน. 2475, หน้า 31
ชัยมงคล อุดมทรัพย์. ตำราดูว่าน และพระเครื่อง-พระบรมธาตุ. 2503, หน้า 36
พยอม วิไลรัตน์. ตำรากบิลว่านและต้นไม้วิเศษนานาชนิด. 2504, หน้า 40
อุตะมะ สิริจิตโต. ตำราปลูกและดูลักษณะว่าน. 2505, หน้า 99
ชั้น หาวิธี. ตำราว่านวิเศษอันศักดิ์สิทธิ์. 2506, หน้า 38, 52 (ซ้ำ)
เลื่อน กัณหะกาญจนะ. ตำราคุณลักษณะว่านและวิธีดูแลว่าน. 2506, หน้า 113
สวิง กวีสุทธิ์, ร.ต. ตำรากบิลว่าน. 2508, หน้า 58
อาจารย์ญาณโชติ. คัมภีร์ไสยศาสตร์ฉบับสมบูรณ์. ไม่ปรากฏปีที่พิมพ์, หน้า 955

Page 17 of 29« First...10...1516171819...Last »

วงศ์ของว่าน :