งานเขึยน

หน้างสือ ว่าน สมุนไพร ไม้มงคลไทย

บ้านว่านไทย

rutwanthai

rutwanthai

Page 16 of 29« First...10...1415161718...Last »

ว่านคืบ

ว่านคืบ Typhonium sp.

ลักษณะ ต้นเขียวก้านใบก็เขียวตรงปลายใบมีเมล็ด ใบแบนกลมรียาวขนาดโคนถึงปลายราว 4 นิ้ว มีสีเขียวปลายใบงอลงนิดๆ พอแก่เข้า ปลายใบจะยิ่งลดต่ำลงหาดินเรื่อยๆ เมื่อปลายใบตกถึงดินจะแตกต้นใหม่ ระยะที่แตกต้นใหม่นี้ ประมาณเกือบหนึ่งคืบพอดี เมื่อถึงฤดูแล้งว่านแก่เต็มที่ใบจะแห้งเหลือแต่หัว หัวมีลักษณะกลมเล็กเท่าเม็ดพุทรา
สรรพคุณ ทางสมุนไพร ใบเอามาโขลกกับเกลือพอเค็มคั้นเอาน้ำมารับประทาน เอากากมาอม แก้โรคคอตีบ คนจีนเรียก ไซง้อ
ทางคงกระพัน ใช้เมล็ดห่อผ้าติดตัวไว้มีคุณในทางอยู่ยงคงกระพัน โดยตีไม่แตก ฟันไม่เข้า หัวว่านชนิดนี้ถ้าเอาติดตัวลงน้ำด้วย ทั้งๆ ในที่นั้นมีปลิงชุกชุม ปลิงจะเกาะไม่ติดตัวผู้มีว่านนี้อยู่เลย
หมายเหตุ ว่านนี้มีหลายชื่อ คือ ว่านพระยาปลิง ว่านพืชมงคล ว่านเพชรปลายใบ
พบในตำราของ
ประพัฒนสรรพกร, หลวง. ตำหรับกระบิลว่าน. 2475, หน้า 44-45
ไพฑูรย์ ศรีเพ็ญ. ตำราสรรพคุณยาไทย. 2484, หน้า 78-79
ชัยมงคล อุดมทรัพย์. ตำราดูว่าน และพระเครื่อง-พระบรมธาตุ. 2503, หน้า 20
พยอม วิไลรัตน์. ตำรากบิลว่านและต้นไม้วิเศษนานาชนิด. 2504, หน้า 100
อุตะมะ สิริจิตโต. ตำราปลูกและดูลักษณะว่าน. 2505, หน้า 46-47
ชั้น หาวิธี. ตำราว่านวิเศษอันศักดิ์สิทธิ์. 2506, หน้า 34
เลื่อน กัณหะกาญจนะ. ตำราคุณลักษณะว่านและวิธีดูแลว่าน. 2506, หน้า 117
สวิง กวีสุทธิ์, ร.ต. ตำรากบิลว่าน. 2508, หน้า 65-66 เรียก ว่านพืชมงคล
สมาน คัมภีร์ และ ทัศนา ทัศนมิตร. กบิลว่าน 108. 2516, หน้า 110 เรียก ว่านพืชมงคล
อาจารย์ญาณโชติ. คัมภีร์ไสยศาสตร์ฉบับสมบูรณ์. ไม่ปรากฏปีที่พิมพ์, หน้า 956

ว่านค้ำคูน

ว่านค้ำคูน Kaempferia sp.

ลักษณะ ใบหนาแทงขึ้นมาจากหัวในดิน ม้วนๆ คล้ายหูม้า หน้าใบเขียวข้างใบแดง ใบยาว 3-4 นิ้ว ใบมีกลิ่นหอม หัวกลมๆ คล้ายหัวเปราะมีกลิ่นหอมเย็น
สรรพคุณ ทางสมุนไพร ใบแก้เกลื้อนช้าง ดอกแก้โรคตา ต้นแก้ท้องอืดท้องขึ้น หัวขับเลือดและหนองให้ตก แก้ลมพิษ แก้ผื่นคัน แก้ไอ แก้บาดแผลสดก็ได้
ทางเมตตามหานิยม ถ้าปลูกไว้ในบ้านจะทำให้เกิดเมตตามหานิยมขึ้น ยิ่งว่านเจริญงอกงามดี เจ้าของว่านก็พลอยเจริญรุ่งเรืองไปด้วย
หมายเหตุ ว่านนี้บางตำรา เรียกว่า ว่านเปราะน้อย เป็นคนละชนิดกับ ว่านมหานิยม
พบในตำราของ
ประพัฒนสรรพกร, หลวง. ตำหรับกระบิลว่าน. 2475, หน้า 35 เรียก ว่านเปราะน้อย
เลื่อน กัณหะกาญจนะ. ตำราคุณลักษณะว่านและวิธีดูแลว่าน. 2506, หน้า 215 เรียก ว่านเปราะน้อย
สวิง กวีสุทธิ์, ร.ต. ตำรากบิลว่าน. 2508, หน้า 38 เรียก ว่านเปราะน้อย

ว่านคางคกขาว

ว่านคางคกขาว Typhonium sp.

ลักษณะ ใบคล้ายใบอุตพิตเล็กๆ สีของใบคล้ายตะกั่วเก่าๆ เป็นพลายปรอท มีเม็ดขาวๆ ทั่วใบ เป็นว่านพุ่มเล็กๆ ดอกเหมือนอุตพิตแต่เล็ก หัวกลม เนื้อในขาว
สรรพคุณ ทางอยู่คงกระพัน คงทนต่ออาวุธดีนักแล
พบในตำราของ
สวิง กวีสุทธิ์, ร.ต. ตำรากบิลว่าน. 2508, หน้า 77 เรียก ว่านกบ
สมาน คัมภีร์ และ ทัศนา ทัศนมิตร. กบิลว่าน 108. 2516, หน้า 57

ว่านคางคก (เถา)

ว่านคางคก (เถา) Dioscorea bulbifera L.

ลักษณะ ใบกลมคล้ายใบบัวบก แต่ต้นขึ้นเป็นเถา เวลามีเมล็ด เมล็ดเหมือนลูกยอ
สรรพคุณ ทางคงกระพัน ใช้กินทำให้เกิดการอยู่ยงคงกระพันชาตรี จะกินเปล่าๆ หรือกินกับสุราก็ได้ จะทำให้เนื้อหนังเกิดมีอาการชาซู่ซ่า คันยิบยับไปหมดทั้งตัว ถ้ากินบ่อยๆ เมื่อถึงฤดูว่านออกดอก ผิวหนังจะตกกระเหมือนกับคางคก
หมายเหตุ ว่านนี้ น่าจะเป็นต้นเดียวกับ ว่านพระฉิม(เถา)
พบในตำราของ
ไพฑูรย์ ศรีเพ็ญ. ตำราสรรพคุณยาไทย. 2484, หน้า 78
เลื่อน กัณหะกาญจนะ. ตำราคุณลักษณะว่านและวิธีดูแลว่าน. 2506, หน้า 116

Page 16 of 29« First...10...1415161718...Last »

วงศ์ของว่าน :