ว่านม้า ต้นที่ 2
2. ม้า (แบบใบยาง) Leea sp.
ลักษณะ ต้นเป็นเครือ ใบดังใบยาง สีแดง หัวสีดำ มีรสเผ็ดร้อน
สรรพคุณ ทางคงกระพัน มีอานุภาพคงกระพันชาตรี นำติดตัวไปด้วย หรือกินก็ใช้ได้ คงทนต่อศาสตราวุธทั้งปวง
หมายเหตุ ว่านม้า ชนิดนี้น่าจะเป็นสมุนไพรทางภาคเหนือที่ชื่อว่า เขืองแข้งม้า ม้าเขียว ว่านเพชรม้า
พบในตำราของ
ชิตร์ วัฒนะ. ลักษณะว่าน. 2473, หน้า 7
ประพัฒนสรรพกร, หลวง. ตำหรับกระบิลว่าน. 2475, หน้า 18, หน้า 43 เรียก ว่านเพ็ชร์ม้า (ซ้ำ)
ชัยมงคล อุดมทรัพย์. ตำราดูว่าน และพระเครื่อง-พระบรมธาตุ. 2503, หน้า 25, หน้า 41 เรียก ว่านเพชรม้า (ซ้ำ)
พยอม วิไลรัตน์. ตำรากบิลว่านและต้นไม้วิเศษนานาชนิด. 2504, หน้า 47 เรียก ว่านเพ็ชรม้า อีกชนิด
อุตะมะ สิริจิตโต. ตำราปลูกและดูลักษณะว่าน. 2505, หน้า 23 เรียก ว่านเพ็ชร์ม้า
เลื่อน กัณหะกาญจนะ. ตำราคุณลักษณะว่านและวิธีดูแลว่าน. 2506, หน้า 319 เรียก ว่านม้า 1,
หน้า 282 เรียก ว่านเพชรม้า อีกชนิด (ซ้ำ)
สวิง กวีสุทธิ์, ร.ต. ตำรากบิลว่าน. 2508, หน้า 9 เรียก เรียก ว่านเพชรม้า, หน้า 9 เรียก ว่านม้า (ซ้ำ)
อาจารย์ญาณโชติ. คัมภีร์ไสยศาสตร์ฉบับสมบูรณ์. ไม่ปรากฏปีที่พิมพ์, หน้า 999 เรียก ว่านเพ็ชม้า อีกชนิด
ว่านม้า ต้นที่ 1
ม้า มี 3 แบบ
1. ม้า Curcuma sp.
ลักษณะ ต้นเหมือนขมิ้น ลำต้นแดง กลางใบแดง หลังใบแดง เนื้อในหัวสีเหลือง หัวขนาดกลาง เป็นข้อคล้ายหัวม้า
สรรพคุณ ทางสมุนไพร กินและทาเป็นยาแก้ปวดเมื่อย เคล็ดยอก ถือติดตัวไปด้วย ทำให้มีกำลัง เดินทางไกลไม่เมื่อยล้า เอาหัวว่านฝนทาแข้งม้าวิ่งเร็วดีนัก หรือทาแข้งขาเดินทางได้เร็วนัก
ยันต์ตัวเลขสำหรับลงฝ่ามือไว้จับว่านม้าทุกชนิด ในขณะไปขุดเอามา
หมายเหตุ ภาพว่านนี้ได้รับความอนุเคราะห์จาก คุณณรงค์ศักดิ์ ค้านอธรรม จังหวัดกรุงเทพมหานคร
พบในตำราของ
ประพัฒนสรรพกร, หลวง. ตำหรับกระบิลว่าน. 2475, หน้า 18 เรียก ว่านม้า อีกชนิด
ล. มหาจันทร์. คู่มือนักเล่นว่าน. 2480, หน้า 33-34
ชัยมงคล อุดมทรัพย์. ตำราดูว่าน และพระเครื่อง-พระบรมธาตุ. 2503, หน้า 25 เรียก ว่านม้า อีกชนิด
พยอม วิไลรัตน์. ตำรากบิลว่านและต้นไม้วิเศษนานาชนิด. 2504, หน้า 48
อุตะมะ สิริจิตโต. ตำราปลูกและดูลักษณะว่าน. 2505, หน้า 68-69
ชั้น หาวิธี. ตำราว่านวิเศษอันศักดิ์สิทธิ์. 2506, หน้า 50
เลื่อน กัณหะกาญจนะ. ตำราคุณลักษณะว่านและวิธีดูแลว่าน. 2506, หน้า 320-321 เรียก ว่านม้า 3
ว่านมหาอุดม
มหาอุดม Curcuma singularis Gagnep.
ลักษณะ ต้น ใบ คล้ายว่านขอทอง ผิดแต่ร่องกลางแดง หัวเล็กเป็นแง่งคล้ายหัวกระชาย แต่มีรากไม่มาก รากคล้ายกับรากหญ้าคา หัวคล้ายหัวขมิ้นขาวเสน่ห์ ดอกออกเป็นตุ่มเล็กๆ คล้ายดอกผักกาด มีเกษรเหลืองเป็นสีทอง
สรรพคุณ ทางเสน่ห์เมตตามหานิยม เป็นพระยาเทครัว เป็นมหานิยมอย่างยอด เมื่อมีดอกมีกลิ่นหอมมาก ถ้าออกดอกให้เด็ดดอกนั้นไปใช้ประโยชน์ตามความประสงค์ เอาดอกมาบดผสมกับน้ำมันหอม น้ำมันจันทน์ ปลุกเสกด้วยคาถามหาเสน่ห์ เป็นมหาเสน่ห์อย่างแรง หัวของว่านเอามาผสมกับน้ำมันหอม น้ำมันจันทน์ ขี้ผึ้ง ใช้ทางเสน่ห์มหานิยมวิเศษนัก
พบในตำราของ
พยอม วิไลรัตน์. ตำรากบิลว่านและต้นไม้วิเศษนานาชนิด. 2504, หน้า 65-66
ชั้น หาวิธี. ตำราว่านวิเศษอันศักดิ์สิทธิ์. 2506, หน้า 12-13
เลื่อน กัณหะกาญจนะ. ตำราคุณลักษณะว่านและวิธีดูแลว่าน. 2506, หน้า 318
สมาน คัมภีร์ และ ทัศนา ทัศนมิตร. กบิลว่าน 108. 2516, หน้า 27
อาจารย์ญาณโชติ. คัมภีร์ไสยศาสตร์ฉบับสมบูรณ์. ไม่ปรากฏปีที่พิมพ์, หน้า 1002-1003
ว่านมหาหงส์
มหาหงส์ Hedychium coronarium J.Konig
ลักษณะ ต้น ใบ หัว ดุจดังต้นข่า ดอกเริ่มออกเป็นสีขาว ครั้นดอกแก่แล้วสีจะแดง ดอกใหญ่มีกลิ่นหอมเย็น ทำให้คนได้กลิ่นชุ่มชื่นใจ
สรรพคุณ ทางเมตตามหานิยม ปลูกไว้กับบ้านเป็นศิริมงคล มีเสน่ห์เมตตามหานิยม
ทางสมุนไพร หัวใช้เป็นยารักษาโรค ให้เอาหัวมาหั่นเป็นชิ้นบางๆ ตากแดดให้แห้งและบดเป็นผง เคล้ากับน้ำผึ้งปั้นเป็นเม็ดกินแก้โรคกษัยไตพิการ บำรุงกำลัง ทำให้อายุยืน เป็นยาอายุวัฒนะ
หมายเหตุ ว่านนี้มีหลายชนิด เช่น ดอกขาว ดอกเหลือง ดอกแดง ดอกขาวกลางเหลือง ดอกขาวกลางแดง ดอกเหลืองกลางแดง เป็นต้น
พบในตำราของ
พยอม วิไลรัตน์. ตำรากบิลว่านและต้นไม้วิเศษนานาชนิด. 2504, หน้า 65
ชั้น หาวิธี. ตำราว่านวิเศษอันศักดิ์สิทธิ์. 2506, หน้า 45
เลื่อน กัณหะกาญจนะ. ตำราคุณลักษณะว่านและวิธีดูแลว่าน. 2506, หน้า 186 เรียก นางพญาหงส์ทอง (ซ้ำ), 317
สวิง กวีสุทธิ์, ร.ต. ตำรากบิลว่าน. 2508, หน้า 63
สมาน คัมภีร์ และ ทัศนา ทัศนมิตร. กบิลว่าน 108. 2516, หน้า 91
อาจารย์ญาณโชติ. คัมภีร์ไสยศาสตร์ฉบับสมบูรณ์. ไม่ปรากฏปีที่พิมพ์, หน้า 1003